การมีส่วนร่วมกับชุมชน

และสังคม

icon-หน่วยงานกำกับดูแล
icon stakeholder
icon ชุมชนและสังคม1
06 icon สื่อมวลชน

หน่วยงานกำกับดูแล

บุคลากรของ ทอท.

ชุมชนและสังคม

สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่นๆ

การก่อสร้างและดำเนินงานของท่าอากาศยานมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านลบและด้านบวก เช่น การเวนคืนพื้นที่ ผลกระทบทางเสียง ผลกระทบจากการจราจร แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของประเทศและท้องถิ่น เช่น การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว การเข้าถึงระบบการคมนาคมขนส่ง ความปลอดภัยในชุมชน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน รวมถึงการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อให้เกิดคุณค่าร่วมกันทั้งท่าอากาศยาน ชุมชนท้องถิ่น และสังคมในระดับประเทศ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมยังเป็นการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิในการมีชีวิตและความปลอดภัย และสิทธิในการได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายอีกด้วย

นโยบายและแนวทางการจัดการ

ทอท. กําหนดให้ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมร่วมกับส่วนงานที่ดําเนินการด้านกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกท่าอากาศยานเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินงาน สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement) และยุทธศาสตร์ที่ 3 กิจกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Initiatives) ภายใต้แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท. ปี 2559-2562 และส่วนขยายปี 2563-2566 ซึ่งสอดคล้องตามกลยุทธ์ที่ 1.3 การพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ Airport Strategic Positioning ในแผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2560 – 2565) ฉบับทบทวน โดยฝ่ายกิจการเพื่อสังคมมีการจัดประชุมเพื่อรายงานความสถานะการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการในทุกไตรมาส
นอกจากนี้ ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมได้จัดทำคู่มือกระบวนการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน ที่อ้างอิงตามมาตรฐานและการประเมินระดับสากล เช่น AA1000 Stakeholder Engagement Standard โดย AccountAbility หรื อที่ เรียกกันว่า “AA1000SES”มาตรฐาน ISO 26000 การประเมินความยั่งยืนองค์กรดัชนีดาวน์โจนส์ (DJSI) และมาตรฐาน Global Reporting Initiatives (GRI 2021) เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกท่าอากาศยานได้รับทราบขอบเขตการดำเนินงาน สามารถระบุจุดประสงค์ของการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย สามารถระบุผู้มีส่วนได้เสียและจัดลำดับความสำคัญ ตลอดจนเลือกเครื่องมือหรือวิธีการที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียได้ พร้อมอธิบายแนวทางในการเพิ่มศักยภาพชุมชนให้มีความพร้อมสำหรับการเชื่อมโยง แนวทางในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และแนวทางในการสื่อสารผลลัพธ์ของการเชื่อมโยงสู่สาธารณะ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement)

ภายใต้แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์ย่อย ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 2

ส่วนขยาย

แผนงานที่ 2.1

แผนงานที่ 2.2

การส่งเสริมให้มีการกําหนดกระบวนการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement Process) ในระดับองค์กรและระดับหน่วยงาน การบ่งชี้ความเสี่ยงที่ไม่เชื่อมโยงฯ (Disengagement Risk) และการสร้างการเชื่อมต่อข้อมูล (Synchronize) ที่ได้จากการเชื่อมโยงแต่ละ ส่วนงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลนําเข้า (Input) สําหรับการกําหนดกลยุทธ์ ทั้งในระดับองค์กรและระดับหน่วยงานต่อไป

การจัดโครงการพัฒนาทักษาผู้นําการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ส่งเสริมให้ผู้นําสามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ความสําคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งองค์กร

การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท. เป็นไปตามกรอบดําเนินงานสากล (AA 1000 Stakeholder Engagement Standard : AA 1000 SES) ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการวางแผน จัดเตรียม ดําเนินการ และทบทวน รวมไปถึงมีแนวทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวเกิดการพัฒนาและได้รับการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 3 กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Initiatives)

ภายใต้แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบไปด้วย 2 กลยุทธ์ย่อย ดังนี้

กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Initiatives)

ส่วนขยาย

แผนงานที่ 3.1

แผนงานที่ 3.2

แผนงานที่ 3.3

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์เป้าประสงค์และตัวชี้วัดของ Airport Strategic Positioning เพื่อนํามาออกแบบกิจกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของแต่ละท่าอากาศยาน

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกําหนดเป้าประสงค์และตัวชี้วัดของกิจกรรม “CSR Signature” เพื่อนํามาออกแบบกิจกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท.

การจัดโครงการพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการคิดอัตราการตอบแทนทางสังคม (SROI) ของโครงการแก่หน่วยงานสํานักงานใหญ่และท่าอากาศยานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการดําเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

กรอบการดําเนินงานเพื่อส่งมอบคุณค่าทางสังคมของ ทอท.

ทอท. ดําเนินงานตามแนวคิด “การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน” ซึ่งกําหนดกรอบแนวทาง 4 ด้าน ที่เปรียบเสมือนหัวใจหลักในการกําหนดและดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในระดับองค์กรและระดับท่าอากาศยาน ทั้งเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่นยืนดังนี้

กรอบการดำเนินงานเพื่อสังคม

การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดการรวมกลุ่ม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนเพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

17-partnership

การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่ ทอท. เข้าไปดำเนินงานผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าขายผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และการบริการต่าง ๆ ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่อง

8-decent-work-and-eco
Goal 9: Industry, innovation and infrastructure
11-Sustainable-Cities-and-Communities

การพัฒนาทุนมนุษย์

การสร้างต้นทุนทางความรู้ ทักษะความสามารถต่งๆ ของคนในท้องถิ่นที่ ทอท. ได้เข้าไปดำเนินการควบคู่กับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นวัฒนธรรม ประเพณีหรือภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่น

goal 4 quality education

การอนุรักษ์ระบบนิเวศ

การเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมมือกับชุมชนในท้องถิ่นในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศเดิมที่ ทอท. ได้เข้าไปดำเนินงานและส่งเสริมการอนุรักษ์ระบบนิเวศของชุมชนใกล้เคียงให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความปลอดภัยในการบิน

13-Climate-action
14-Life-Below-Water
15-Life-in-land

การจัดทําฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชน

ทอท. จัดทําฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนทั้ง 6 ท่าอากาศยาน เพื่อระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ประเด็นความคาดหวัง และประเมินแนวทางการมีส่วนร่วม เพื่อนําไปสู่การตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในระดับชุมชนได้อย่างตรงจุด โดยในปัจจุบันหลักเกณฑ์ในการกําหนดพื้นที่ชุมชนสําคัญของ ทอท. แบ่งออกเป็น 3 หลักเกณฑ์ ได้แก่

  • เกณฑ์การกําหนดพื้นที่ตามการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment EIA)
  • เกณฑ์การกําหนดพื้นที่ตามแผนฉุกเฉินของท่าอากาศยาน (Airport Emergency Plan)
  • เกณฑ์การประเมินผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยาน (Noise Contour)

นอกจากนี้ ฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนดังกล่าวยังคํานึงถึงกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เช่น ผู้เยาว์ ผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว รวมทั้งมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอตามบริบทที่เปลี่ยนไป ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนยังถูกนำมาใช้พิจารณาในการคัดเลือกเครื่องมือ/วิธีการและการวางแผนการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชนที่เหมาะสม ต่อชุมชนที่สำคัญ (High-Priority Stakeholders) อีกด้วย

ทอท.มีการเชื่อมโยงกับชุมชน ประเมินผลกระทบ และดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมดังนี้

สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ผ่านกระบวนการรับฟังผู้มีส่วนได้เสีย และมีการติดตามผลการบริหารจัดการผลกระทบอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 831

สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียผ่านการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน (Stakeholder Profile & Mapping)

ร้อยละ 100

สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียผ่านการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน (Stakeholder Profile & Mapping)

ร้อยละ 100

สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียผ่านการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน (Stakeholder Profile & Mapping)

ร้อยละ 100

1 ท่าอากาศยานหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานเพียงแห่งเดียวจากทั้งหมด 6 แห่ง ที่ไม่อยู่ในขอบข่ายที่ต้องมีการติดตามตรวจสอบผล EIA เนื่องจากไม่มีการขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535

กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับองค์กร

โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืน (AOT Selected)

ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมร่วมกับผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกท่าอากาศยานเตรียมพร้อมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืนของชุมชนสำคัญโดยรอบท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง เพื่อยกระดับขีดความสามารถชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน ผ่านการสนับสนุนองค์ความรู้ ตลอดจนช่องทางการประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันอยู่ในระยะนำร่อง โดยมีการสร้างชุมชนต้นแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืนและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืน ผ่านการค้นหาชุมชนที่มีศักยภาพรอบท่าอากาศยานของ ทอท. เพื่อทำการประเมินความต้องการและศักยภาพของชุมชน และกำหนดโครงการสนับสนุนซึ่งช่วยเสริมจุดแข็งและเติมเต็มจุดอ่อนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืนในอนาคตอันใกล้

AOT selected

เจ้าหน้าที่ ทอท. เรียนรู้จากชุมชนต้นแบบ
ณ ชุมชนตลาดหัวปลี บ้านพุแค จ.สระบุรี

สัมมนา AOT selected

กิจกรรมระดมความคิดเพื่อพัฒนาโครงการ
ร่วมกับชุมชนนำร่องใน 6 ท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานเชียงใหม่ส่งเสริมศักยภาพชุมชนดอยปุย ผ่านการจัดฝึกอบรมการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ รวมถึงสนับสนุนการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน เพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

โครงการศึกษาดูงาน ณ ท่าอากาศยาน

โครงการศึกษาดูงาน ณ ท่าอากาศยานเป็นการเพิ่มโอกาสให้หน่วยงานและสถาบันการศึกษาเข้ามาศึกษาดูงาน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยาน เช่น การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยหรือการบริหารจัดการรถโดยสารสาธารณะภายในท่าอากาศยาน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิด รวมทั้งยังเป็นการดึงดูดบุคลากรเข้ามาร่วมงานกับ ทอท. ต่อไปในอนาคต

โครงการศึกษาดูงาน-ณ-ท่าอากาศยาน

โครงการ AOT พี่อาสา

โครงการ AOT พี่อาสา เป็นกิจกรรมส่งมอบความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยให้แก่ชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน โดยพนักงานของ ทอท. เป็นวิทยากรให้ความรู้และอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และวัยใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะเป็นการถ่ายทอดความรู้แล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และความเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท. อีกด้วย

AOT CSR อาสาสอนดับเพลิง 65

การสนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

ทอท.ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชน โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนที่อยู่ห่างไกล จึงสนับสนุน
การดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งมีโรงเรียนรวมทั้งหมดรวม 7 โรงเรียน ดังนี้

  1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ณ บ้านไอร์จาดา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
  2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมฉลอง 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ บ้านศรีถาวรพนา ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
  3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 4 รอบ 2 เมษายน 2546 ณ บ้านนาโต่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
  4. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในโอกาสครบรอบ 30 ปี อุปถัมภ์) ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
  5. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (บ้านแพะ จังหวัดตาก) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษาในปี 2554 ณ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
  6. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั๊วะ จังหวัดตาก) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษาในปี 2554 ณ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้งผาง จังหวัดตาก
  7. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านใหม่พัฒนาสันติ (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 อุปถัมภ์) ณ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

ซึ่ง ทอท. สนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยแต่ละปีสนับสนุนงบประมาณให้แก่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นจำนวนเงิน 1,050,000.-บาท เพื่อโครงการพัฒนาและปรับปรุงสถานที่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในด้านสื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ ได้มอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การศึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 74,707,853.-บาท อีกทั้ง ทอท. ได้จัดผู้บริหารและพนักงานไปเยี่ยมชมและรับทราบผลการดำเนินงานของโรงเรียนฯ เป็นประจำทุกปี

กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่โดดเด่นในระดับท่าอากาศยาน

ทอท. ดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมครอบคลุมทั้ง 6 ท่าอากาศยานและสํานักงานใหญ่ (ร้อยละ 100) โดยตอบสนองความต้องการของชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ที่มาจากฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชน โดยในปีที่ผ่านมา ทอท. ได้ดําเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่โดดเด่น ดังนี้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

โครงการ “สนับสนุนการดูแลผู้ป่วย-กลุ่มเสี่ยงโรคโควิด-19”

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมอบน้ำดื่มแก่โรงพยาบาลสนามสมุทรปราการ องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด จังหวัดสมุทรปราการ ชุมชนลำพุทรา ชุมชนนูรู้ลพัฒนา และกลุ่มจิตอาสาเส้นด้าย กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้ในภารกิจการกักตัวประชาชนกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มอบถุงยังชีพจำนวน 1,800 ถุง ให้กับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) อำเภอบางพลี อำเภอบางเสาธง และสำนักงานเขตลาดกระบัง เพื่อใช้แจกจ่ายประชาชนในชุมชนรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

มอบน้ำดื่มให้แก่ รพ.สนามสมุทรปราการ

โครงการ “ภารกิจร่วมบรรเทาสาธารณภัย”

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกแห่งหนึ่ง ในพื้นที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ท่าอากาศยานสุวรรนภูมิได้สนับสนุนภารกิจบรรเทาสาธารณภัย โดยอำนวยการจัดพื้นที่บริเวณใกล้เคียงสถานีดับเพลิงและกู้ภัยฝั่งตะวันตก ซึ่งอยู่ในเขตการบินให้เป็นพื้นที่สำหรับจอดเฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงจัดพื้นที่จอดรถฟรีสำหรับประชาชนผู้อพยพ พร้อมมอบน้ำดื่มให้แก่ประชาชนในศูนย์พักพิงผู้อพยพ

โครงการ “ภารกิจร่วมบรรเทาสาธารณภัย”

โครงการ “ร่วมสนับสนุนสินค้าชุมชน”

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนา (โควิด-19) ทอท. ได้ปรับรูปแบบการจัดงานสุวรรณภูมิแฟร์จากเดิมที่ชุมชนเข้ามาจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มาเป็นการจำหน่ายใน AOT Market Place แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์สำหรับพนักงาน ทอท. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนที่ประสบปัญหายอดขายลดลงจากสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีสินค้าที่จำหน่าย อาทิ ปลาสลิดแดดเดียว จากตำบลบางปลา อำเภอบางพลี ไม้กวาดทางมะพร้าว จากตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี สลัดผักและดอกไม้ จากเขตมีนบุรี

โครงการ “ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านบางกะอี่
ตําบลบางปลา อําเภอบางพลี”

ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านบางกะอี ซึ่งอยู่ใกล้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้มีความพร้อมในการจัดการท่องเที่ยวทางน้ำอย่างมีมาตรฐานด้านความปลอดภัย ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างความรู้และความพร้อมในการบริหารจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ด้านความปลอดภัย เศรษฐกิจชุมชน และระบบนิเวศควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน

  • จัดกิจกรรมปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการกู้ชีพและช่วยเหลือชีวิตทางน้ำเบื้องต้น ให้แก่สมาชิกในชุมชนบ้านบางกะอี่ ผู้ให้บริการท่องเที่ยว และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
  • มอบคู่มือด้านมาตรฐานความปลอดภัยทางน้ำ และอุปกรณ์ความปลอดภัยทางน้ำ
กิจกรรมปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)

ท่าอากาศยานดอนเมือง

โรงพยาบาลสนามพลังแห่งแผ่นดินแห่งที่ 3

โรงพยาบาลสนามพลังแห่งแผ่นดินแห่งที่ 3

ท่าอากาศยานดอนเมืองจัดตั้งสนับสนุนอาคารสถานที่เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลสนามพลังแผ่นดินแห่งที่ 3 มีชื่อว่า “โรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี” ณ คลังสินค้าขาออกที่ 4 โรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณผู้ป่วยที่รอรับการรักษามีจำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม (ชั่วคราว) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง

Green Society Trash Attack: EP. 1 ปฏิบัติการโจมตีถังขยะ ครั้งที่ 1 ปี 2562

ปฏิบัติการโจมตีถังขยะ ครั้งที่ 1 ปี 2562
(Green Society Trash Attack: EP. 1 )

ทอท. ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ด้านปัญหา สุขภาพเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเกิดจิตสํานึกและจัดประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมจัดการปัญหาขยะ เพื่อช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

  • กิจกรรม Roadshow และศึกษาดูงานสําหรับโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียง
  • การประกวดโครงงานและต่อยอดนวัตกรรมต้นแบบในการเรียนรู้แนวทาง บริหารจัดการขยะ
ถวายถุงยังชีพบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค

โครงการ ถวายถุงยังชีพบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภค

ท่าอากาศยานดอนเมืองมอบถุงยังชีพบรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ให้แก่ วัดเวฬุวนาราม (ไผ่เขียว) เขตดอนเมือง ณ อากาศยานดอนเมือง เพื่อนำไปช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาเบื้องต้นให้กับประชาชนในพื้นที่ชุมชน ผู้ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบอันเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และประสบปัญหาในการดำรงชีพ

บํารุง รวิวรรณวิทยา02

โครงการ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังงานสะอาด

ทอท. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านพลังสะอาดให้แก่โรงเรียนบํารุงรวิวรรณวิทยาซึ่งอยู่ในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานดอนเมือง โดยมอบแผงโซลาร์เซลล์ให้แก่โรงเรียน เพื่อการบูรณาการองค์ความรู้เข้ากับ STEM ศึกษา (STEM: Science, Technology, Engineering, Mathematics) ปัจจุบันโรงเรียนสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ผ่านนิทรรศการเรื่องพลังงานสะอาดให้แก่โรงเรียนอื่นในเขตดอนเมือง

  • มอบชุดผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) ชุดกังหันเพิ่มออกซิเจนผิวน้ํา และระบบรดน้ำอัตโนมัติจากพลังงานแสงอาทิตย์
  • จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านพลังงานสะอาด

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

โครงการ “พาน้องเรียนรู้สนามบินเชียงใหม่”

โครงการนี้เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ เยาวชนในระดับประถมและมัธยมได้เข้ามาเรียนรู้การปฏิบัติงาน มาตรฐานความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยภายในท่าอากาศยาน เพื่อจุดประกายความสนใจในอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบิน โดยโครงการดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและสายการบินต่า งๆ

  • การฝึกอบรมวิธีการดับเพลิง
  • ให้ความรู้ด้านมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยาน
  • ให้ความรู้ด้านระบบความปลอดภัยในอากาศยาน
พาน้องเรียนรู้สนามบินเชียงใหม่02

โครงการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน

เป็นโครงการสนับสนุนภารกิจการเฝ้าระวังและดับไฟป่าซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในระดับท้องถิ่น รบกวนทัศนวิสัยทางการบิน บั่นทอนสุขภาพ (PM 2.5) และกระทบการท่องเที่ยว ผ่านการสนับสนุนงบประมาณและจิตอาสาของพนักงาน และลูกจ้าง เข้าร่วมทำแนวกันไฟ ในพื้นที่ต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าด้วย พร้อมสนับสนุนน้ำดื่มให้แก่หน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนและหมู่บ้านต่างๆ ในภารกิจการเฝ้าระวังและดับไฟป่า และในอนาคตยังได้วางแผนที่จะร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวดอยปุย ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวภายใต้การอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านการท่องเที่ยว และปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนคนรุ่นหลัง หวงแหนทรัพยากรโดยเฉพาะป่าไม้

โครงการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน
สถานีควบคุมไฟป่าภูพิงค์

“สนามบินกับศูนย์ควบคุมไฟป่า ดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย ในแง่สายงาน แต่ในด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทุกคนหรือทุกหน่วยงานสามารถมีส่วนร่วมได้ ที่ผ่านมาศูนย์ควบคุมไฟป่าได้รับความร่วมมือและได้รับการสนับสนุนน้ำดื่มจากท่าอากาศยานเชียงใหม่มาโดยตลอด นอกจากจะเป็นการให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานแล้ว ยังเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการทำประโยชน์แก่ส่วนรวม แสดงถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันด้วย”

นายสมนึก ท้าวพา
หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าภูพิงค์

ท่าอากาศยานหาดใหญ่

โครงการ
"มอบทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ "
ประจำปีงบประมาณ 2564

โครงการ
"มอบทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ "
ประจำปีงบประมาณ 2564

ท่าอากาศยานหาดใหญ่จัดกิจกรรมมอบทุนการศึกษาให้กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับชุมชน และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับเด็กนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางสังคม โดยมีผู้บริหาร พนักงานท่าอากาศยานหาดใหญ่ เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ่

โครงการ “ดูแลผู้สูงอายุ” ประจำปี 2564

โครงการ “ดูแลผู้สูงอายุ” ประจำปี 2564

ท่าอากาศยานหาดใหญ่มอบเงินบริจาคในกิจกรรม “ ดูแลผู้สูงอายุ” ประจำปี 2564 ให้กับโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ตามนโยบายของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด “การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน”

โครงการ
ส่งเสริมนิเวศวิถีชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อําเภอคลองหอยโข่ง

โครงการ
“ส่งเสริมนิเวศวิถีชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อําเภอคลองหอยโข่ง”

ชุมชนคลองหอยโข่ง อําเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวนิเวศวิถีชุมชนที่มีศักยภาพสูง ทอท. จึงเข้าไปมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถบริหารจัดการตัวเองได้อย่างยั่งยืน

  • ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
  • เตรียมความพร้อมให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง
  • ฝึกอบรมมัคคุเทศก์ให้ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

ท่าอากาศยานภูเก็ต

โครงการ “HKT Loves Coral”

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเมืองท่องเที่ยวติดทะเลนับเป็นประเด็นสําคัญเร่งด่วนที่ ทอท. มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาโดยใช้สมรรถนะหลักในด้านมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดําน้ำตามมาตรฐานสากล และมีเครือข่ายผู้มีความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

  • การสร้างแปลงอนุบาลปะการังและเก็บขยะใต้ทะเล
  • กิจกรรมนักอนุรักษ์น้อย HKT เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และร่วมเก็บขยะริมหาด
  • การฝึกอบรมนักดําน้ำให้กับสมาชิกชุมชนในพื้นที่
ทภก.ร่วมเก็บกู้ขยะใต้ทะเล มกราคม 2564_๒๑๐๓๐๙_13

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

โครงการขนส่งทางอากาศ

โครงการขนส่งทางอากาศ

การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ชุมชนต่าง ๆ ในการกระจายสินค้า เพิ่มช่องทางการจำหน่ายทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น โครงการลิ้นจี่บินได้ โครงการสับปะรดบินได้ โครงการทะเลบินได้ และโครงการส้มโอบินได้ เป็นต้น

IMG_5743

โครงการสนับสนุนน้ำดื่มให้กับชุมชน

ท่าอากาศยานเชียงรายเข้าไปมีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมชุมชนรอบท่าอากาศยานและชุมชนอื่น ๆ ในจังหวัดเชียงราย โดยสนับสนุนน้ำดื่มเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เช่น น้ำดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ในภารกิจดับไฟป่าและหมอกควันพื้นที่ตำบลบ้านดู่ ตำบลท่าสาย จังหวัดเชียงราย และสนับสนุนน้ำดื่มสำหรับแจกจ่ายให้กับประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ดนตรีล้านนา

โครงการ “คืนความสุขให้ผู้โดยสารผ่านการแสดงวัฒนธรรมล้านนา”

สร้างอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมพร้อมมอบความประทับใจให้แก่ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวผ่านการแสดงดนตรีและวัฒนธรรมพื้นบ้านล้านนา โดยเครือข่ายผู้สูงอายุและเยาวชนในหลายพื้นที่ใกล้เคียง นับเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีให้กับคนในชุมชน

  • จัดพื้นที่การแสดงวัฒนธรรมล้านนาให้กับกลุ่มเยาวชนและผู้สูงอายุ
  • ส่งเสริมเครือข่ายชุมชนให้เข็มแข็งและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ปางลาว

โครงการ “การปรับปรุงพื้นที่และการจัดหาอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย”

ทอท. ห่วงใยและใส่ใจผู้มีส่วนได้เสียในด้านการพัฒนาเด็กช่วงปฐมวัย ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างความเสมอภาคด้านเศรษฐกิจและสังคม โครงการดังกล่าวยังมีส่วนช่วยในการสร้างทุนมนุษย์ (Human Capital) ให้กับประเทศ และเป็นการตอบแทนกลับคืนสู่ชุมชนและสังคม เพื่อเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

  • สร้างห้องส่งเสริมพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านปางลาว
  • จัดหาอุปกรณ์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะต่าง ๆ และชุดประเมินพัฒนาการ

กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่น ๆ

การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างท่าอากาศยาน

ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียและการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกิดขึ้นผ่านหลากหลายช่องทางดังต่อไปนี้
1. อินทราเน็ตองค์กร (Intranet)
2. การถอดบทเรียนจากการปฏิบัติงาน
3. การฝึกอบรม
4. การประชุมของผู้ปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
5. การลงพื้นที่ในแต่ละท่าอากาศยานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
6. ช่องทางอื่น ๆ เช่น ไลน์แอปพลิเคชัน

การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมของ ทอท.

ทอท. มีการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนทางการเงิน การอนุมัติเวลาทํางานของพนักงานเพื่อทํากิจกรรมเพื่อสังคม การสนับสนุนสิ่งของหรือบริการ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านชุมชนสัมพันธ์ โดยจําแนกสัดส่วนมูลค่าโครงการที่สนับสนุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การบริจาคเพื่อการกุศลโดยไม่หวังผลกําไร การลงทุนในชุมชนเพื่อสาธารณประโยชน์ และกิจกรรมเพื่อสังคมเชิงพาณิชย์ ซึ่ง ทอท. ได้เปิดเผยสัดส่วนและมูลค่าการสนับสนุนลงในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

การบริจาคเพื่อการกุศล

การลงทุนในชุมชน

กิจกรรมเพื่อสังคมเชิงพาณิชย์

การบริจาคเพื่อการกุศล (Charitable Donations)

นิยาม
การสนับสนุนสังคมแบบครั้งเดียวจบหรือเป็นแบบครั้งคราว เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน หรือเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของชุมชน ที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินธรรมชาติที่ชุมชนได้รับ เช่น โควิด-19 ไฟไหม้ น้ำท่วม

ตัวอย่างกิจกรรม
- ทภก. มอบเงินสนับสนุนโครงการอาชีวะอาสา เทศกาลปีใหม่
- ทภก. สนับสนุนสิ่งของเพื่อใช้ในกิจกรรมของชมรมมัสยิด ต.ไม้ขาว
- ทภก. มอบร่มไม้เท้า เนื่องในวันผุ้สูงอายุ ประจำปี 2565

การลงทุนในชุมชน (Community Investments)

นิยาม
การแก้ไขปัญหาสังคมร่วมกับองค์กรชุมชน (Community Organization) ตามกลยุทธ์การเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชนของ ทอท.* เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของ ทอท. ในระยะยาว และเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ ทอท

ตัวอย่างกิจกรรม
- กิจกรรม AOT CSR อาสาสอนดับเพลิง
- ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ห่วงใยชุมชน
- โครงการ "ปลูกต้นไม้ ให้ร่มเงา

กิจกรรมเพื่อสังคมเชิงพาณิชย์ (Commercial Initiatives)

นิยาม
กิจกรรมเพื่อสังคมภาคสมัครใจ ที่เกี่ยวข้องกับแผนการตลาด หรือ ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยฝ่ายการตลาด โดยมีจุดประสงค์ที่จะสนับสนุนความสำเร็จ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ ทอท. พร้อมกับการช่วยเหลือชุมชน โดยมีพันธมิตรเป็นองค์กรชุมชน (Community-based Organization)

ตัวอย่างกิจกรรม
- ติดปีกสินค้าเกษตรไทยและอาเซียนสุ่ตลาดโลก

การวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SR0I)

ทอท. ประเมินผลการดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านการรับฟังข้อคิดเห็นของชุมชนจากการลงพื้นที่ต่าง ๆ และในรูปแบบการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ซึ่งสามารถนํามาใช้ประกอบการทบทวนประสิทธิผลของโครงการ ปรับปรุงกลยุทธ์และกระบวนการดําเนินงาน และตัดสินใจลงทุนขยายผลหรือต่อยอดโครงการนั้น ๆ ในอนาคต ผลลัพธ์ดังกล่าวยังสามารถใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นสากลอีกด้วย

ผลการประเมิน

โครงการ ผลตอบแทนด้านสังคมจากการลงทุน
โครงการ “HKT Loves Coral” 1 : 7.46
โครงการ “ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนบํารุงรวิวรรณวิทยา” 1 : 1.19
โครงการ “การปรับปรุงพื้นที่และการจัดหาอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย” 1: 1.07

การรับข้อร้องเรียน

AOT Contact Center

ศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โทร 02-132-9088, 02-133-1888 และ 02-132-9089
เวลา 08.00 - 17.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์
ฝ่ายสื่อสารองค์กร E-mail : aotpr@airportthai.co.th
www.airportthai.co.th ในส่วน “ติดต่อและรับเรื่องร้องเรียน”

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 8 มีนาคม 2566