AOT hosts Asia Air Cargo Summit 2018

[:en]
30th January 2018Airports of Thailand Public Company Limited (AOT) in cooperation with worldclass event organiser, Euroavia International, hosted Asia Air Cargo Summit 2018, declared open by AOT President, Dr. Nitinai Sirismatthakarn, in a ceremony at The Conrad Bangkok Hotel.
Dr. Nitinai Sirismatthakarn, President of Airports of Thailand Public Company Limited, said that as at the end of 2017, the International Air Transport Association (IATA) forecast that the revenue from air cargo in 2018 will grow about 4 percent while the volume is expected to grow by 4.5 percent due to higher demand. On the part of AOT, the amount of cargo and postal goods moving through the six major airports under its management, namely, Suvarnabhumi Airport, Don Mueang International Airport, Phuket International Airport, Chiang Mai International Airport, Hat Yai International Airport and Mae Fah Luang – Chiang Rai International Airport, amounted to 1.57 million tons in the fiscal year 2017 (October 2016-Septemer 2017) – an increase of 11.89 percent compared to the previous fiscal year.
Suvarnabhumi Airport is the main gateway for cargo and postal goods with the movement totaling 1.42 million tons (fiscal year 2017) – a hefty 12.45-percent increase over fiscal year 2016. Fully recognising the growth potential of air cargo, AOT engaged Euroavia International, a world-leading organiser of international symposiums and conferences, to consult, create a business network and organise “Asia Air Cargo Summit 2018” on 29th – 30th January 2018 at The Conrad Bangkok Hotel.
This world-class summit conference served as a stage for more than 160 senior management personnel of airports and airlines to come together to exchange knowledge and experiences on the management and operation of air cargo.
The main topics discussed at the summit were: “The Big Picture on Global Supply Chain”, “Intra-Asian Freighter Networks”, “Impact of E-Commerce on Air Freight”, and “The Next Steps in Airport/Cargo Hub Development”.
Dr. Nitinai further said that AOT has a plan to support and develop the cargo distribution centre exclusively for high-value logistics cargo, that would comprise units such as the agricultural cargo distribution centre, cargo quality control centre, and the drugs and medical equipment cargo distribution centre. These are to be located on a site at Suvarnabhumi Airport that would serve as the “Logistics Park”, or the national ad regional cargo distribution centre. In addition, the Customs Act of 2017 exempts AOT from the legal requirements of all government ministries on the control of goods passing through the borders, along with Article 152 of the Customs Act of 2017 that provides for more freedom for air cargo handlers in their logistics operations. They may also temporarily hold cargo that are not considered national security risks at Suvarnabhumi Airport’s Free Zone for transshipment to third countries without Customs intervention.
Suvarnabhumi Airport is considered to be Thailand’s air cargo gateway due to five factors that support Suvarnabhumi International Multi-modal Port (SIM Port), namely: 1) Location and connectivity with multi-modal transport; 2) Free Zone area (Tariff and Non-Tariff Barriers free); 3) Logistics support area (Airport Logistics Park); 4) Availability of major cargo handlers – Thai Airways Cargo Terminal and WFS-PH Cargo; and 5) Suvarnabhumi Airport has ample load factors availabilities.
At present, the air cargo movements at Suvarnabhumi Airport has put it at No. 21 of 30 airports that have the highest amount of cargo movements in the world – with a growth in volume of 12.45 percent. This major aviation gateway for Thailand has the capacity to process air cargo and postal goods up to 1.7 million tons per year, with the potential to expand this capacity to 3 million tons per year.  Dr. Nitinai said in closing that AOT is well aware of its role as a state enterprise that must create security and economic value for the nation by managing the airports on the basis of a fine balance between national interests such as benefit for the nation and the people, and the satisfaction of the service users to link air cargo transport and the basic service infrastructure that can support national security and support the nation’s air cargo transport direction and strategy that has designated Thailand as the “Regional Aviation Hub, Care for the Environment and Safe Service at all levels”.[:th]
(30 มกราคม 2561) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ร่วมกับบริษัท Euroavia International ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการจัดงานและการประชุมต่างๆ ระดับโลก จัดการประชุม Asia Air Cargo Summit 2018 โดยมีนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ณ โรงแรม The Conrad Bangkok กรุงเทพฯ
นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.กล่าวว่า เมื่อปลายปี 2560 สมาคมขนส่ง ทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA) คาดว่ามูลค่าการขนส่งสินค้า ทางอากาศในปี 2561 จะเติบโตประมาณร้อยละ 4 และปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 4.5 เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของ ทอท.ซึ่งบริหารท่าอากาศยานหลัก 6 แห่งของ ประเทศไทย ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีสินค้าและไปรษณียภัณฑ์เข้า – ออก ณ ท่าอากาศยาน 6 แห่งเมื่อปีงบประมาณ 2560 (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560) รวมทั้งสิ้น 1.57 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.89 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดย ทสภ.เป็นท่าอากาศยานที่เป็นประตูการค้าหลักด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศมีสินค้าและไปรษณียภัณฑ์เข้า – ออก 1.42 ล้านตัน (เมื่อปีงบประมาณ 2560) ซึ่งเป็นปริมาณ ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ถึงร้อยละ 12.45 ดังนั้น ทอท.เล็งเห็นว่าความต้องการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงร่วมกับบริษัท Euroavia International ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการจัดงานการประชุมต่างๆ ระดับโลก การให้คำปรึกษาและพร้อมสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ จัดการประชุม Asia Air Cargo Summit 2018 ระหว่างวันที่ 29 – 31 มกราคม 2561 ณ โรงแรม The Conrad Bangkok กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำหรับผู้แทนจากท่าอากาศยานและสายการบินทั่วโลกจำนวนกว่า 160 คนได้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการให้บริการกิจการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
สำหรับหัวข้อในการประชุม Asia Air Cargo Summit 2018 จะแบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้แก่ ภาพรวมของห่วงโซ่อุปทานโลกและการขนส่งสินค้าทางอากาศของโลก (The Big Picture on Global Supply Chain) เครือข่ายผู้ให้บริการด้านการขนส่งสินค้าภายในภูมิภาคเอเชีย (Intra-Asian Freighter Networks) ผลกระทบ ของอุตสาหกรรมการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Impact of E-Commerce on Air Freight) การพัฒนาท่าอากาศยานให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางอากาศ (What’s the Next in Airport/Cargo Hub Development)
นายนิตินัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทอท.มีแนวคิดที่จะผลักดันและส่งเสริมให้เกิดศูนย์การกระจายสินค้าสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าทางโลจิสติกส์สูง อาทิ ศูนย์กลางการกระจายสินค้าการเกษตร ศูนย์คัดกรองคุณภาพสินค้า ศูนย์กลางการกระจายสินค้ากลุ่มยาและเวชภัณฑ์ โดยให้ตั้งรวมกันอยู่ภายใน ทสภ.ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น Logistic park หรือ ศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของประเทศและภูมิภาค นอกจากนั้น พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ส่งผลให้ ทสภ.ได้รับสิทธิพิเศษในการงดเว้นใบอนุญาตตามกฎหมายควบคุมสินค้าผ่านแดนของแต่ละกระทรวง นอกเหนือจากกฎหมายของกรมศุลกากรตามมาตรา 152 ของ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศสามารถดำเนินกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ได้มากขึ้น และยังสามารถนำสินค้า ที่ไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงเข้ามาพักที่เขตปลอดอากร ทสภ.เพื่อสำหรับการส่งออกไปยังประเทศที่ 3 ได้
สำหรับ ทสภ.ถือว่าเป็นท่าอากาศยานที่เป็นประตูการค้าหลักด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศของประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยหลักที่สำคัญ 5 ประการในการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ (Suvarnabhumi International Multimodal : SIM Port) ได้แก่ (1) ทำเลที่ตั้งของ ทสภ.ที่เป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคม (Location and Connectivity with Multi-Modal Transport) (2) ทสภ.มีพื้นที่ปลอดอากร (Free Zone area (Tariffs and Non-Tariff Barriers free)) (3) ทสภ.เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้า (Logistics Support Area (Airport Logistics Park)) (4) ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศรายใหญ่ให้บริการ ณ ทสภ.(Thai Cargo Terminal ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ WFS-PG Cargo) และ (5) ทสภ.สามารถรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าได้อีกมาก (Load Factors Availabilities) ซึ่งปัจจุบันปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ ณ ทสภ.เพิ่มมากขึ้น ทำให้ ทสภ.เป็น ท่าอากาศยานอันดับที่ 21 จาก 30 อันดับที่มีการขนส่งสินค้าทางอากาศมากที่สุดของโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 12.45 ของอัตราการเติบโตด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ และ ทสภ.มีขีดความสามารถในการรองรับปริมาณสินค้าและไปรษณียภัณฑ์เข้า – ออกได้ 1.7 ล้านตันต่อปี และยังสามารถขยายขีดความสามารถในการรองรับสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ได้ถึง 3 ล้านตันต่อปี
นายนิตินัย กล่าวในตอนท้ายว่า ทอท.ได้ตระหนักถึงบทบาทการเป็นรัฐพาณิชย์ที่จะสร้างความมั่นคง และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ โดยบริหารท่าอากาศยานอยู่บนความสมดุลระหว่างบริบทเชิงรัฐ ที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน และบริบทเชิงพาณิชย์ที่จะต้องสร้างรายได้เพื่อนำไปพัฒนาท่าอากาศยาน เสริมศักยภาพของประเทศ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งทางอากาศและบริการเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ รองรับกับทิศทางและยุทธศาสตร์ ด้านการขนส่งทางอากาศของประเทศที่กำหนดให้ประเทศ “เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค (Aviation Hub) ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมให้บริการทุกระดับที่ปลอดภัย” ต่อไป
 [:]