SDG-3 th
SDG-4 th
SDG-8 th
SDG-10 th

งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต

icon stakeholder

บุคลากรของ ทอท.

การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ของ ทอท. ล้วนต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และเพื่อดึงดูดพนักงานเหล่านี้ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ องค์กรควรมีการบริหารจัดการในเรื่องการมีสภาพการจ้างงานที่ดี การประเมินและให้แรงจูงใจพนักงานตามระดับความสามารถโดยไม่แบ่งแยก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เรื่องเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นปัจจัยขับเคลื่อนกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ทอท. ที่ครอบคลุมทั้ง การพัฒนาบุคลากร การดึงดูดและรักษาบุคลากร การปฏิบัติต่อแรงงานที่ดี การให้ผลตอบแทนและสวัสดิการ ตลอดจนการเคารพซึ่งความหลากหลาย เพื่อให้ ทอท. เป็นบริษัทที่สร้างงานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิตให้กับบุคลากร อันเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนทั้งในเรื่องการจ้างงานที่เป็นธรรม การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเท่าเทียม และการยอมรับซึ่งความหลากหลาย รวมถึงเสรีภาพในการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง

แนวทางการจัดการ

ทอท. จัดทำแผนแม่บททรัพยากรบุคคล (HR Master Plan) ของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2560 – 2565) ฉบับทบทวน และแผนปฏิบัติงานรายปีงบประมาณ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานภายใต้สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยแผนแม่บทฯ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญครอบคลุมทั้งในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การดึงดูดผู้มีความสามารถและการสร้างแรงจูงใจพนักงาน ความเป็นอยู่ที่ดีและสภาพการทํางาน และการส่งเสริมความหลากหลายของพนักงาน

1. การพัฒนาทรัพยากรบุคคล

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (Foundation) ของแผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2560 – 2565) ฉบับทบทวน โดยมีฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดําเนินงานตามแผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปีงบประมาณ 2560 – 2565 โดยแบ่งการดําเนินงานออกเป็น 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กร โครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ และโครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงาน

ผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปีงบประมาณ 2560 - 2565
aot core value

โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กร (Core Values)

ทอท. ปลูกฝังจิตสำนึกต่อค่านิยมขององค์กรด้วยองค์ประกอบ 5 ใจ
ได้แก่ ให้ใจ มั่นใจ ร่วมใจ เปิดใจ และภูมิใจ ซึ่งส่งเสริมให้พนักงานมีความสามารถและมีทัศนคติที่ดีในการทำงานไปพร้อม ๆ กัน ผ่านโครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรแก่พนักงาน ทอท. ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยพนักงานแต่ละระดับต่างมีส่วนร่วมและบทบาทหน้าที่แตกต่างกันในการผลักดันค่านิยมของ ทอท. โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรจัดขึ้นในสองรูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมและการบรรยายให้ความรู้ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

1. กิจกรรมและการบรรยายให้ความรู้

โครงการสร้างความคุ้นเคยกับ ทอท.

ทบทวนคุณค่าของ ทอท. ให้กับพนักงาน และให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์แก่ลูกจ้างใหม่ ซึ่งจัดขึ้นเป้นประจำทุกปี ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย ปี 2564 ทอท.ได้ดำเนินโครงการฯ ในรูปแบบออนไลน์

2. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนเสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ 2563 – 2567)

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอแนะความคิดเห็น เพื่อร่างแผนเสริมสร้างค่านิยม ทอท.

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Values Direction)

ผู้บริหารระดับ 10 ร่วมกันวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่าน และทบทวนความเหมาะสมของค่านิยม 5 ใจของ ทอท. เพื่อให้มีความสอดคล้องกับทิศทางและยุทธศาสตร์องค์กร

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Values in Action)

สร้างความเชื่อมโยงค่านิยมองค์กรกับทิศทางธุรกิจและยุทธศาสตร์องค์กรให้แก่ผู้บริหาร ทอท. ระดับ 9 (Change Leader) ที่ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการท่าอากาศยานและผู้อำนวยการฝ่าย

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Values-Based Communication)

ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการส่วนระดับ 8 ของ ทอท. อภิปรายถึงการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ 2564 เพื่อเสาะหาโอกาสการปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และรายงานผลการสัมมนาต่อผู้บริหารระดับสูง

การสัมมนาเครือข่ายผู้ส่งเสริมค่านิยมองค์กร

สร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของคณะทำงานภายใต้ค่านิยม 5 ใจของ ทอท. และกำหนดเครือข่ายผู้ส่งเสริมค่านิยมองค์กร

โครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ทอท. ดําเนินโครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ (KM) ตามกระบวนการจัดการความรู้และแนวทางส่งผ่านความรู้สู่กระบวนการจัดการนวัตกรรมของ ทอท. ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการพัฒนากระบวนงาน (Process Improvement) เข้ากับการสร้างนวัตกรรม (Innovation) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงานภายในองค์กรอย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

Knowledge Management and Knowledge Transfer Model to AOT Innovation Management Program

กระบวนการจัดการความรู้และแนวทางการส่งผ่านความรู้สู่กระบวนการจัดการนวัตกรรมของ ทอท.

(Knowledge Management Model)

ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารจัดการความรู้และนวัตกรรม ทอท. คณะทํางานการจัดการความรู้ ทอท. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล และส่วนพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและการจัดการความรู้

โครงสร้างการบริหารจัดการความรู้ ทอท.

กระบวนการจัดการความรู้ ทอท. (Knowledge Management Process)

1. การกําหนดหัวข้อเรื่อง หรือประเภทองค์ความรู้ (Define)

การกําหนดชนิดของทุนทางปัญญา หรือองค์ความรู้ ที่ต้องการเพื่อตอบสนองกลยุทธ์ขององค์กร หรือ การปฏิบัติงาน การหาองค์ความรู้หลักขององค์กร (Core Competency) และเป็นองค์ความรู้ ที่สามารถสร้างความแตกต่าง ตลอดทั้งความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้อย่างเด่นชัด

2. การออกแบบ หรือสรรหาแหล่งองค์ความรู้ (Create)

การสร้างทุนทางปัญญา หรือการค้นหาใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วยการส่งไปศึกษาเพิ่มเติม การสอนงานภายในองค์กร หรือหากเป็นองค์ความรู้ใหม่อาจจําเป็นต้องแสวงหาจากภายนอกองค์กร การเทียบเคียง (Benchmarking) และการเรียนรู้จากความสําเร็จของผู้อื่น

3. การเก็บเกี่ยวรายละเอียด (Capture)

โดยสรุปและจับประเด็นให้กลายในองค์ความรู้ การเสาะหา และจัดเก็บองค์ความรู้ในองค์กรให้เป็นระบบ ทั้งองค์ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบสื่อต่าง ๆ (Explicit Knowledge) และในรูปแบบประสบการณ์ (Tacit Knowledge) ให้เป็นทุนความรู้ขององค์กร ที่พร้อมต่อการยกระดับความรู้และขยายความรู้ให้ทั่วทั้งองค์กร

4. การถ่ายทอดแบ่งปัน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share)

การแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เผยแพร่ กระจาย และถ่ายโอนความรู้ มีหลายรูปแบบหลายช่องทาง เช่น การจัดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการสอนงาน ทั้งในแบบกายภาพ และแบบเสมือน (Virtual) ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบ E-Learning เป็นต้น

5. การนําองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน (Use)

การใช้ประโยชน์และการนําไปประยุกต์ใช้งาน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ เกิดเป็นปัญญาปฏิบัติ (Wisdom) ที่ส่งเสริมการขยายผลให้ระดับความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรสูงขึ้น

ทอท. พัฒนาและดําเนินการตามระบบการจัดการความรู้ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งการสร้างและพัฒนากลุ่มชุมชน นักปฏิบัติ (CoP) และนักจัดการความรู้ประจําส่วนงาน (KM Facilitator) เพื่อเชื่อมโยงและเผยแพร่ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกองค์กร พร้อมจัดเก็บองค์ความรู้ในระบบการจัดการความรู้ของ ทอท. (Knowledge Management System – KMS) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดําเนินงานภายในองค์กรต่อไป

โครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงาน

(Core Competency และ Functional Competency)

ทอท. พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน ทั้งในด้านปฏิบัติการและการบริหารจัดการให้สอดคล้องตามมาตรฐานการขนส่งทางอากาศของหน่วยงานภายในและต่างประเทศ เช่น สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสํานักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) เป็นต้น โดย ทอท. จะดำเนินการประเมินสมรรถนะหลักของพนักงาน ทอท. (Core Competency) และสมรรถนะรายตำแหน่ง (Functional Competency) เพื่อระบุประเด็นสำคัญที่ควรได้รับการพัฒนาในระดับบุคคล และสามารถกำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงาน (Types of Training)

แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

01

การฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยาน

(Airport Management Training)

02

การฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการทั่วไป

(General Management Training)

03

การฝึกอบรมด้านวิชาชีพและการปฏิบัติการ

(Functional & Operation Training)

04

การฝึกอบรมด้านความรู้ทั่วไป

(Soft Skills Training)

โครงการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Training) แบ่งออกเป็น 4 ระดับตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

การปฏิบัติการท่าอากาศยาน
Airport Operations: AO

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 1 - 4

  • สร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศ
  • มีทักษะในการปฏิบัติการภายในท่าอากาศยาน
  • มีทัศนคติเปิดรับต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับต้น Junior Airport
Management (JAM)

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 4 - 5

  • สร้างความรู้ความเข้าใจในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับต้น
  • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อการแก้ไขปัญหาจากการทำงานได้
  • พัฒนาความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม

การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับกลาง Intermediate
Airport Management (IAM)

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 5 - 6

  • บ่มเพาะแนวความคิดและวิสัยทัศน์การบริหารและปฏิบัติงานท่าอากาศยาน
  • เข้าใจเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่
  • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
  • เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานด้านการตลาด

การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับสูง Senior Airport
Management (SAM)

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 6 - 7

  • สร้างวิสัยทัศน์การบริหารงานท่าอากาศยาน
  • ฝึกฝนทักษะการวางแผนกลยุทธ์ และการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
  • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาธุรกิจท่าอากาศยานสู่ความเป็นเลิศ

โครงการฝึกอบรมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทอท. จัดให้มีหลักสูตรและโครงการพัฒนาบุคลากรที่จําเพาะตามสายงาน เช่น หลักสูตรด้านการปฏิบัติการท่าอากาศยาน หลักสูตรการบริหาร จัดการและความรู้ทั่วไป โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร หลักสูตรด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี หลักสูตรฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร และหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการบินร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติมในแต่ละปีตามความต้องการของแต่ละสายงาน เป็นต้น

การประเมินผลการจัดการ

ทอท. กําหนดให้ส่วนพัฒนากลุ่มพนักงานผู้มีศักยภาพฝ่ายพัฒนาการบริหาร ทําหน้าที่ติดตามผลการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อกําหนดทิศทางการจัดโครงการฝึกอบรมและโครงการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม และใช้ทบทวนและพัฒนาแผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอนาคต โดย ทอท. ติดตามการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ เงินลงทุนด้านการฝึกอบรม จํานวนหลักสูตร หรือโครงการ ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อคนต่อปี ค่าใช้จ่ายในการอบรมเฉลี่ยต่อคนต่อปี และติดตามผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการลงทุน โดยการคํานวณผลตอบแทนจากการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Return on Investment HCROI) และอัตราการโอนย้ายตําแหน่งภายในของพนักงาน ซึ่งมีการรายงานผลการดําเนินงานดังกล่าวต่อสาธารณะในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

2. การดึงดูดผู้มีความสามารถและการสร้างแรงจูงใจพนักงาน

ทอท. เล็งเห็นความสําคัญของการมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร จึงได้ร่วมมือกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีศักยภาพในสถานศึกษาพร้อมกําหนดให้มีระบบสวัสดิการและสภาพการทํางานที่ดี เพื่อดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพให้ร่วมทํางานกับองค์กรในระยะยาว โดย ทอท. ประเมินผลสําเร็จของการดึงดูดบุคลากรผ่านประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราการรับบุคลากรเข้าทํางาน อัตราการลาออกในภาพรวมและภาคสมัครใจ อัตราการกลับมาทํางานของบุคลากรที่ลาคลอดบุตร เป็นต้น พร้อมเปิดเผยรายละเอียดผลการดําเนินงานในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน

ทอท. สร้างแรงจูงใจโดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้าในสายงานตามระดับความสามารถ โดยพนักงานทุกคนของ ทอท. จะได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลจากผู้บังคับบัญชาเป็นประจําทุกปี ที่ประกอบด้วยการประเมินแบบการบรรลุเป้าหมาย (Management by Objectives) การประเมินแบบเรียงลำดับ (Formal Comparative Ranking) และการประเมินจากหลายด้าน (Multidimensional Evaluation) เพื่อพิจารณาปรับตําแหน่งของพนักงาน พร้อมกําหนดแนวทางการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถในการทํางานเพิ่มมากขึ้น

การมอบรางวัลพนักงานดีเด่น

ในทุก ๆ ปี ทอท. คัดเลือกพนักงานดีเด่นทั่วทั้งองค์กร โดยพิจารณาจากผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากผลการปฏิบัติงานในภารกิจหน้าที่และเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และการอุทิศทุ่มเทเสียสละของพนักงาน ทอท. ตามค่านิยม ทอท. (Core Values) โดยการมอบรางวัลพนักงานดีเด่นของ ทอท. มี 4 ประเภท ได้แก่

  1. กลุ่มพนักงานดีเด่น
  2. กลุ่มพนักงาน ลูกจ้างที่ได้รับการยกย่องเป็นกรณีพิเศษ
  3. กลุ่มหรือหน่วยงาน ทอท. ดีเด่น
  4. กลุ่มท่าอากาศยานดีเด่น

การวิเคราะห์ข้อมูลบุคคล

ทอท. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุคลากร เพื่อค้นหาแนวทางในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ อาทิการประยุกต์เครื่องมือทางสถิติเข้ากับการประเมินสมรรถนะของบุคลากร การวางแผนอัตรากำลังคนเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร การค้นหาแนวทางการพัฒนาบุคลากร การว่าจ้างพนักงานใหม่ การค้นหาปัจจัยที่ทำให้พนักงานลาออก และการศึกษาค่าตอบแทนและสวัสดิการของบริษัทคู่เทียบ

การสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงาน

ทอท. ดำเนินการสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานทุกคน (พนักงานประจำและลูกจ้าง) อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการประเมินผ่าน 6 ปัจจัย ได้แก่

  1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
  2. ความก้าวหน้า
  3. ค่าตอบแทน
  4. สัมพันธภาพ
  5. การยอมรับจากผู้อื่น
  6. บรรยากาศในการทำงาน

โดยผลสำรวจจะถูกแจกแจงตามช่วงอายุ เพศ และระดับตำแหน่ง เพื่อนำผลสำรวจดังกล่าวมาพิจารณากำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อไป

3. ความเป็นอยู่ที่ดีและสภาพการทํางาน

ทอท.ให้ความสําคัญกับความเป็นอยู่และสภาพการทํางานที่ดีของพนักงาน โดยฝ่ายสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์และฝ่ายการแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานตามนโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงานทุกคนและมอบสวัสดิการและบริการทางการแพทย์ ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี โดย ทอท.มีการทบทวนผลการดําเนินงานตามนโยบายดังกล่าวเป็นประจำ ผ่านการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อสวัสดิการที่ได้รับจากองค์กร และการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงโครงการสวัสดิการต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

ปฏิบัติตามกฎหมายด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ข้อกำหนดและมาตรฐานสากลอื่น ๆ ด้านการแพทย์

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านบริการทางการแพทย์
และกำหนดมาตราต่าง ๆ และตัวชี้วัด

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

พัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริการทางการแพทย์ และการป้องกันโรคให้เป็นมาตรฐานแก่พนักงาน ลูกจ้าง ทอท. และครอบครัว

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์แก่พนักงานและลูกจ้าง ทอท. อย่างเหมาะสม

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงาน ลูกจ้าง ทอท. และครอบครัวให้ดีขึ้น

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการด้านสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงานและลูกจ้าง ทอท.

นโยบาย-พัฒนาบุคลากรการแพทย์

พัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ให้มีความรู้ ทักษะ และการทำงานเป็นทีมสร้างจิตสำนึก ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพลูกจ้าง

โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

  • สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
  • ตรวจสุขภาพประจําปีให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.
  • คลินิกประจําท่าอากาศยาน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. รวมทั้งครอบครัว

โครงการส่งเสริมโครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

  • โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
  • สวัสดิการทุนการศึกษาสําหรับบุตรพนักงานและลูกจ้าง
  • กิจกรรมทัศนศึกษาโครงการค่ายเยาวชนในช่วงปิดเทอม
  • ห้องให้นมบุตรสําหรับพนักงานภายในท่าอากาศยาน
  • โครงการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุให้กับพนักงาน

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุสำหรับพนักงาน ทอท. เป็นการสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ ทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และด้านการเงินที่ผู้เกษียณควรรู้และมีความสนใจ ตลอดจนมีการถาม - ตอบ จากวิทยากรผู้มีความรู้ และเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว
หัวข้อการบรรยาย อาทิ

  • สิทธิประโยชน์ทางการเงินของผู้เกษียณ
  • การวางแผนการเงินอุ่นใจในวัยเกษียณ
  • การดูแลสุขภาพในวัยเกษียณ
  • เตรียมความสุขใจในวัยเกษียณจากการใช้เทคโนโลยี

พนักงานและลูกจ้างของ ทอท.สามารถแสดงความเห็น ร้องเรียนถึงปัญหา ข้อขัดข้องในการทํางาน รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ผ่านผู้แทนสหภาพแรงงานของแต่ละท่าอากาศยาน โดยผู้แทนสหภาพฯ นําเสนอปัญหา และข้อขัดข้องต่าง ๆ ผ่านคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ทอท. ซึ่งประกอบด้วย ประธานซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 9 คน และผู้แทนฝ่ายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทอท. 9 คน เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหาตามกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และนําไปสู่การยกระดับความผูกพันของพนักงานและลูกจ้างที่มีต่อ ทอท.

โครงการเตรียมโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์

ที่เหมาะสมของพนักงานและลูกจ้าง ทอท. ความพร้อมก่อนเกษียณอายุ

ทอท.จัดทําโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับบุคลากรของ ทอท. โดยการสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบัน รวมทั้งความต้องการในสวัสดิการที่เหมาะสมกับพนักงานที่มีช่วงวัยแตกต่างกันผ่านการตอบแบบสอบถามรูปแบบระบบออนไลน์ เพื่อประเมินผลและนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและจัดสวัสดิการให้เหมาะสมต่อไป โดยผลการสํารวจในภาพรวมและประเด็นสําคัญที่พบหรือได้รับการแก้ไขจะมีการเปิดเผยในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี ทั้งนี้ สวัสดิการที่บุคลากรของ ทอท. ได้รับ ณ ปัจจุบันประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ทุนการศึกษาบุตร ค่าช่วยเหลือบุตร เงินช่วยเหลือค่าทําศพ เครื่องแบบพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน กองทุน สํารองเลี้ยงชีพ รถรับ-ส่งพนักงาน บ้านพัก ทอท.  สวัสดิการการกู้เงินจากสถาบันการเงินภายนอกในส่วนของการเพิ่มสวัสดิการทางเลือกให้กับพนักงานและลูกจ้าง  การเพิ่มรูปแบบการแต่งกายวัน Freestyle Day การเพิ่มห้องสันทนาการ และสวัสดิการอื่น ๆ

4. การส่งเสริมความหลากหลายของพนักงาน

ทอท. เคารพในความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงานโดยไม่แบ่งแยกเพศ ความเชื่อ ศาสนา และความแตกต่างทางร่างกาย ทอท. จึงให้ความสําคัญกับประเด็นดังกล่าวและระบุไว้ในคู่มือการกํากับดูแลกิจการที่ดีของ ทอท. (ส่วนของจรรยาบรรณ ทอท.) รวมถึงปฏิบัติตามพระราชบััญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตราที่ 8 ของประเทศไทย และได้กำหนดบทลงโทษตามข้อกำหนดว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษผู้กระทำผิดวินัย สำหรับกรณีการเลือกปฏิบัติและการคุมคามในทุกรูปแบบ รวมถึงการคุกคามทางเพศ นอกจากนี้ ทอท. ได้กำหนดช่องทางการร้องเรียนของการการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม พร้อมกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนที่เป็นระบบ ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรให้เป็นที่รับทราบอย่างต่อเนื่อง

ทอท. กําหนดให้มีการประเมินความหลากหลายของพนักงานผ่านประเด็นต่าง ๆ อาทิ สัดส่วนเพศของพนักงานในแต่ละระดับและสายงาน ความแตกต่างของสัดส่วนค่าตอบแทนระหว่างเพศ อัตราการกลับมาทํางานและคงอยู่ของพนักงานที่ลาคลอด ตลอดจนจํานวนกรณีข้อร้องเรียนที่ได้รับการยืนยันด้านการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่ง ทอท. เปิดเผยรายละเอียดตัวชี้วัดที่สําคัญดังกล่าวในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 23 ส.ค.66