สิทธิมนุษยชน

SDG-10 th
icon stakeholder

ลูกค้า

icon stakeholder

พันธมิตรทางธุรกิจ

icon stakeholder

หน่วยงานกำกับดูแล

icon stakeholder

บุคลากรของ ทอท.

icon stakeholder

ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

icon stakeholder

ชุมชน และสังคม

icon stakeholder

สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่นๆ

การดำเนินธุรกิจของ ทอท. ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาจมีความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนแฝงอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบในแง่ลบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ตั้งแต่พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งครอบคลุมคู่ค้าและผู้รับเหมา พนักงานและลูกจ้างของ ทอท. ชุมชนและสังคม รวมถึงลูกค้า โดยอาจละเมิดความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ สภาพการจ้างงาน การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด เสรีภาพในการรวมกลุ่ม ความเป็นส่วนตัว เป็นต้น ซึ่งเป็นที่จับตามองของหน่วยงานกำกับดูแล สื่อมวลชน และนักลงทุน ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงเป็นเรื่องที่ ทอท. ให้ความสำคัญเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ อันจะนำไปสู่การป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า

นโยบาย

ทอท. ดําเนินธุรกิจตามนโยบายสิทธิมนุษยชนที่ประกาศใช้ตั้งแต่ ปี 2561 ซึ่่งสอดคล้องกับหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UNGP) ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาหลักด้านสิทธิแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) หลักการว่าด้วยการปกป้องสิทธิ การเคารพสิทธิ และการเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น หรือ Ruggie's Framework แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า และจรรยาบรรณ ทอท. ซึ่งบังคับใช้ทั่วทั้งองค์กร นโยบายสิทธิมนุษยชนของ ทอท. ครอบคลุมสิทธิของพนักงาน คู่ค้าธุรกิจ ลูกค้า ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดมุ่งเน้นการเคารพกฎหมายและข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการรับฟังและช่องทางรับข้อร้องเรียนพร้อมระบบบริหารจัดการข้อร้องเรียน และมีมาตรการเยียวยาในกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

icon-ผู้บริหารและพนักงาน

สิทธิของพนักงาน

มีสภาพการจ้างงานที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน รวมถึงป้องกันการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ และมีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม เพื่อเจรจาต่อรอง

ลูกค้า

สิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม

มีมาตรฐานการครองชีพ สุขภาพความปลอดภัยของชุมชน โดยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนให้น้อยที่สุด

icon พันธมิตรทางธุรกิจ

สิทธิของคู่ค้าธุรกิจ

สภาพการจ้างงานที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน รวมถึงการป้องกันการใช้แรงานที่ผิดกฎหมาย และมีการตรวจติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดการดำเนินงาน

ลูกค้า

สิทธิของลูกค้า

คำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและป้องกันการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ รวมถึงการรักษาความเป็นส่วนตัวของลูกค้า

แนวทางการจัดการ

ทอท. ยืนยัดที่จะเคารพและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท. (กลุ่มลูกค้า กลุ่มชุมชนและสังคม กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งรวมถึงคู่ค้าและพันธมิตร และกลุ่มบุคลากรของ ทอท.) โดยประเด็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ ทอท. ให้ความสำคัญครอบคลุมเรื่องการค้ามนุษย์ (Human Trafficking) การใช้แรงงานบังคับ (Forced Labor) และการใช้แรงงานเด็ก (Child Labor)  การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) สิทธิในการการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรอง (Collective Bargaining) และการให้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม (Equal Remuneration)

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ที่ ทอท. ให้ความสำคัญและบริหารจัดการมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ความปลอดภัยในที่ทำงาน (Safe and Healthy Working Environment) สภาพการจ้างงานที่ดี (Decent Work Conditions) และคุณภาพชีวิตที่ดี (Good Quality of Life) เป็นต้น

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)

ทอท. มีการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนโดยผ่านกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เพื่อประเมินประเด็นความเสี่ยงและกําหนดมาตรการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นสาระสําคัญขององค์กร พร้อมกําหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตรวจสอบสิทธิมนุษยชน

ที่มา UN Guiding Principles on Business and Human Rights

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท.

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท. ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท.

ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ทอท. ดําเนินการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมทั้งสถานที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของ ทอท. (6 ท่าอากาศยาน และสํานักงานใหญ่) ห่วงโซ่คุณค่าของ ทอท. และคู่ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ อาทิ บริษัทลูก บริษัทร่วมทุน การควบรวมหรือซื้อกิจการ ซึ่งมีการระบุประเด็นความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนครอบคลุมประเด็น

  • การใช้แรงงานบังคับ
  • การใช้แรงงานเด็ก
  • เสรีภาพในการสมาคม
  • การรวมตัวและเจรจาต่อรอง
  • การให้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • การค้ามนุษย์
  • ประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

และจำแนกผู้มีส่วนได้เสีย (หรือผู้ทรงสิทธิ) ที่อาจได้รับผลกระทบออกเป็น

  • พนักงานและลูกจ้าง
  • คู่ค้าและผู้รับเหมา
  • ลูกค้าและผู้โดยสาร
  • ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

โดยรวมกลุ่มเปราะบางที่เกี่ยวข้อง เช่น สตรี เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม กลุ่มเพศทางเลือก (LGBQI+)
ผู้พิการ สตรีหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น

ผลการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

สถานที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของ ทอท. :

  • ร้อยละ 100 ของพื้นที่สถานที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของ ทอท. (6 ท่าอากาศยาน และสำนักงานใหญ่) ได้รับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
  • ร้อยละ 100 ของสถานที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของ ทอท. ถูกระบุว่ามีประเด็นความเสี่ยงสูงด้านสิทธิมนุษยชน
  • ร้อยละ 100 ของสถานที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของ ทอท. ที่ถูกระบุว่ามีประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน มีการกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ และกระบวนการแก้ไขเยียวยาหากมีกรณีการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน

คู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Tier 1) ของ ทอท. :

  • ร้อยละ 100 ของคู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Tier 1) ของ ทอท. ได้รับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
  • ร้อยละ 20 ของคู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Tier 1) ของ ทอท. ถูกระบุว่ามีประเด็นความเสี่ยงสูงด้านสิทธิมนุษยชน
  • ร้อยละ 100 ของคู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Tier 1) ของ ทอท. ที่ถูกระบุว่ามีประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน มีการกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบ และกระบวนการแก้ไขเยียวยาหากมีกรณีการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน

ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่พบว่ามีความเสี่ยงสูง

กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ

ประเด็นความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

มาตรการการจัดการ

ลูกค้าและผู้โดยสาร

สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและผู้โดยสาร

อุบัติเหตุทั้งในและนอกเขตการบิน การประพฤติโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทุกประเภทในท่าอากาศยาน และการแพร่กระจายของโรคติดต่อ

ทอท. ปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน ระดับประเทศและระดับสากล ที่กําหนดโดย ICAO รวมถึงข้อกําหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ทอท. อย่างเคร่งครัด พร้อมดําเนินมาตรการคัดกรองและป้องกันการติดต่อของเชื้อไวรัส COVID-19 ในท่าอากาศยาน

คู่ค้าและผู้รับเหมา

สภาพการจ้างงานที่เป็นธรรมของคู่ค้าและผู้รับเหมา

การมีชั่วโมงการทํางานที่ยาวนาน เกินกว่าที่กฎหมายกําหนดการจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่ล่าช้า ไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือไม่เป็นธรรม

การระบุเงื่อนไขในการปฏิบัติ ตามกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัดลงในข้อกําหนดรายละเอียด การจัดหา (Term of Reference) พร้อมมีการตรวจสอบความสอดคล้องอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการ ตรวจรับงาน นอกจากนี้ ทอท. ยังเผยแพร่และส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท.

พนักงานและลูกจ้าง

สภาพการจ้างงานที่เป็นธรรมของพนักงานและลูกจ้าง

การมีชั่วโมงการทํางานที่ยาวนาน เกินกว่าที่กฎหมายกําหนดการจ่ายค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ที่ล่าช้า ไม่เป็นไปตามข้อตกลง หรือไม่เป็นธรรม

ทอท. ปฏิบัติตามกกฎหมายแรงงานอย่างเคร่งครัด และกำหนดจรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบต่อพนักงานที่ ทอท. ส่งเสริมการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมมีกระบวนการรับฟังความเห็นของพนักงานโดยมีการบริหารจัดการข้อร้องเรียน / ข้อเสนอแนะดังกล่าวอย่างเหมาะสม ตลอดจนมีการเยียวยาในกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพนักงาน นอกจากนี้ยังได้อนุมัติมาตรการทำงานจากที่บ้านและมาตรการเหลื่อมเวลาทำงานระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานการครองชีพสุขภาพ และความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน

ผลกระทบด้านเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากการขึ้นลงของอากาศยานต่อชุมชน รวมถึงมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง และ PM2.5 จากโครงการก่อสร้างซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของชุมชน

ทอท. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมทุกฉบับ รวมถึงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และมีการจ่ายเงินชดเชยผลกระทบด้านเสียงอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังกำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยานและดำเนินโครงการตรวจสุขภาพหูและสมรรถภาพการได้ยินในชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานเป็นประจำทุกปี

การจําแนกผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบแต่ละประเด็น

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ช่องทางรับข้อร้องเรียน

ทอท. กําหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อคิดเห็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้โดยมีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนและข้อคิดเห็นอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกประเด็นที่ ทอท. ได้รับจะนําไปสู่การตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขการดําเนินงานให้ดีขึ้น นําไปสู่การหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนในวงกว้างต่อไป

ช่องทางรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ตู้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ติดตั้ง ณ สํานักงานใหญ่และบริเวณสํานักงานท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง

hand

จดหมายจ่าหน้าซองถึง คณะกรรมการ ทอท. กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ หรือผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ที่ ตู้ปณ.3 ปณฝ.ดอนเมือง กทม. 10211

เว็บไซต์ www.airportthai.co.th
ในส่วน “ติดต่อและรับเรื่องร้องเรียน”
หรือช่องทางแชทออนไลน์


E-mail: goodgovernance@airportthai.co.th

AOT Contact Center
1722

ฝ่ายสื่อสารองค์กร
E-mail: aotpr@airportthai.co.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การประเมินผลการจัดการ

ทอท. ประเมินผลการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนผ่านกระบวนการตรวจสอบภายในและการติดตามความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนติดตามข้อร้องเรียนเพื่อรายงานผลต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและผู้บริหารระดับสูงเป็นประจํา นอกจากนี้ ทอท. ยังกําหนดให้ทบทวนนโยบายและกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจํา เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเปลี่ยนแปลงไป

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2566