ดิจิทัลและนวัตกรรม

icon stakeholder

ลูกค้า

icon stakeholder

พันธมิตรทางธุรกิจ

icon stakeholder

หน่วยงานกำกับดูแล

icon stakeholder

บุคลากรของ ทอท.

icon stakeholder

ชุมชนและสังคม

icon stakeholder

สื่อมวลชน
และสื่อออนไลน์อื่น ๆ

ความสำคัญ

การปลูกฝังแนวคิดด้านนวัตกรรมให้กับพนักงานในองค์กร รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยตรงให้กับองค์กร ทั้งในด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร การยกระดับการให้บริการ และการขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมยังช่วยตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมจำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการปรับตัวและใช้งานของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้สูงอายุ คนทุพพลภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างครอบคลุมและเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนด้านความเท่าเทียมอีกด้วย

นโยบายและแนวทางการจัดการ

ทอท. วางรากฐานของการบริหารจัดการและการพัฒนานวัตกรรมอย่างป็นระบบและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดทํา แผนแม่บทนวัตกรรมของ ทอท. 2564 - 2568 คู่มือการบริหารจัดการนวัตกรรมของ ทอท. นโยบายการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรม และแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ ทอท. ปีงบประมาณ 2563 - 2565 เพื่อเป็นกรอบการทํางานแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร

แผนแม่บทนวัตกรรมของ ทอท. 2564 – 2568

ทอท. ตระหนักดีว่านวัตกรรมเปรียบเสมือนกลไกพื้นฐานในการขับเคลื่อนองค์กร ทั้งในด้านกระบวนการดําเนินงาน การให้บริการ และการพัฒนารูปแบบธุรกิจ ดังนั้น ในปี 2564 ทอท. จึงกำหนดแผนแม่บทนวัตกรรมของ ทอท. 2564 – 2568 เพื่อยกระดับท่าอากาศยานในประเทศไทยให้มีศักยภาพการให้บริการในระดับสากล และขับเคลื่อนด้านการจัดการนวัตกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแผนแม่บทนวัตกรรมของ ทอท. 2564 – 2568 ฉบับนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การวางแผนที่เชิงยุทธศาสตร์ด้านการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม (Strategic Innovation Roadmap) และยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม (Innovation Strategy) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. การวางแผนที่เชิงยุทธศาสตร์ด้านการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
    • ระยะที่ 1 การบ่มเพาะกระบวนการและกลไกนวัตกรรม
    • ระยะที่ 2 การพัฒนาทักษะและทรัพยากรสนับสนุนกระบวนการนวัตกรรม
    • ระยะที่ 3 การขยายผลกระบวนการนวัตกรรมในการดําเนินงานระดับปฏิบัติงาน
  2. ยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม ประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์
    • ยุทธศาสตร์ที่ 1 องค์กรนวัตกรรม (Innovative Organization)
    • ยุทธศาสตร์ที่ 2 นวัตกรรมบริการ (Service Innovation)
    • ยุทธศาสตร์ที่ 3 นวัตกรรมดิจิตอล (Digital Innovation)
    • ยุทธศาสตร์ที 4 การพัฒนานวัตกรรมด้วยข้อมูล (Data Driven Innovation)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

นโยบายการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมของ ทอท.

ทอท. ให้ความสำคัญกับการจัดการนวัตกรรมทั้งในการบริการ กระบวนการทำงาน รูปแบบธุรกิจ/ภารกิจใหม่ทุกระดับภายในองค์กร ดังนั้น ทอท. จึงมุ่งมั่นส่งเสริมให้บุคลากรใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมทั่วองค์กร ผ่านการกำหนดนโยบายการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรม ซึ่งมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. ส่งเสริมทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  2. สนับสนุนการนำองค์ความรู้ และเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม
  3. ส่งเสริมการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน
  4. ให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
  5. พัฒนาระบบบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management)
  6. เสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์
  7. ส่งเสริมโครงการและกิจกรรมด้านนวัตกรรม
คู่มือบริหารจัดการนวัตกรรมของ ทอท.

คู่มือบริหารจัดการนวัตกรรมของ ทอท.

สืบเนื่องจากนโยบายการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรม จึงมีการจัดทำคู่มือการบริหารจัดการนวัตกรรมของ ทอท. โดยในปี 2563 ได้รวบรวมความรู้ล่าสุดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในแก่พนักงาน ทอท. ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องรูปแบบและระดับของนวัตกรรม กระบวนการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมนวัตกรรม (Innovation Culture)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กระบวนการพัฒนานวัตกรรมของ ทอท.

ทอท.ดำเนินการพัฒนานวัตกรรมอย่างเป็นระบบ ตามกรอบนโยบายการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมของ ทอท. คู่มือการบริหารจัดการนวัตกรรมของ ทอท. และแผนแม่บทนวัตกรรมของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2564 - 2568) ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามกระบวนการนวัตกรรมของ ทอท. ทั้ง 6 ขั้นตอนดังนี้

process inno

กระบวนการนวัตกรรมของ ทอท. 6 ขั้นตอน

แผนปฏิบัติการดิจิทัลของ ทอท. ปีงบประมาณ 2563 - 2565

ทอท. ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างต่อเนื่องในการสนับสนุนการปฏิบัติการท่าอากาศยานและการบริหารจัดการภายในองค์กร เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนและสามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ทอท. ได้กําหนดแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ ทอท. ปีงบประมาณ 2563-2565 ซึ่งมีองค์ประกอบสําคัญดังนี้

icon01

ยุทธศาสตร์ที่ 1

การยกระดับการให้บริการและการรักษาความปลอดภัยโดยการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในงาน (Smart Journey)

icon02

ยุทธศาสตร์ที่ 2

พัฒนาระบบสารสนเทศและนําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ (Digital Organization)

icon03

ยุทธศาสตร์ที่ 3

เสริมสร้างธรรมาภิบาลการบริหารจัดการ และพัฒนาทักษะบุคลากรของ ทอท. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Digit Governance and Digital Workforce)

icon04

ยุทธศาสตร์ที่ 4

พัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และรองรับการใช้งานในอนาคต (Smart Infrastructure)

นโยบายการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท.
(AOT Green ICT Management Policy)

           ในปี 2564 ทอท. ได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท. เพื่อสนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืน นโยบายฉบับนี้ให้ความสำคัญต่อการจัดซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประหยัดพลังงาน มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลได้โดยง่าย และมีประสิทธิภาพสูง นโยบายดังกล่าวยังสนับสนุนการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบ e-Document, Virtualization Server, Cloud computing นอกจากนี้ ทอท. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติด้านการปฏิบัติงานการบริการจัดการการคัดเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green ICT Management Guideline) ให้แก่พนักงาน ทอท. เพื่อการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยแนวทางดังกล่าวประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

  1. วัฏจักรของอุปกรณ์ (Equipment Lifecycle)
  2. การใช้ไอทีของผู้ใช้งาน (End User Computing)
  3. ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ในองค์กร (Enterprise Computing)
  4. การนำ ICT มาใช้ในการลดการปล่อยคาร์บอน (ICT as a Low – Carbon Enabler)

โดดเด่นด้านนวัตกรรมม

การพัฒนานวัตกรรม

ทอท. ได้ดำเนิน 3 โครงการเด่นในการพัฒนานวัตกรรม ภายใต้แผนแม่บทนวัตกรรมของ ทอท. 2564 – 2568 ได้แก่ โครงการชุมชนนักพัฒนา (Development Crew) โครงการออกแบบและพัฒนาความรู้ด้านการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) และโครงการจัดทำความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมและการพัฒนาต้นแบบ

1

โครงการชุมชนนักพัฒนา (Development Crew)

เป็นโครงการต่อยอดไอเดียนวัตกรรมที่ผ่านการประกวดในโครงการ Designing Service Innovation และ กิจกรรมวันนวัตกรรม ทอท. ประจำปี 25654 ซึ่งเสนอโดยพนักงาน ลูกจ้างและผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยาน ทั้ง 6 แห่ง จำนวน 44 แนวคิด เพื่อมาต่อยอดผ่านกระบวนการนวัตกรรมของ ทอท. 6 ขั้นตอน โดยมีผลลัพธ์คือ 5 โครงการได้รับการพัฒนาจนอยู่ในขั้นตอนนำไปใช้ (Implementation) 6 โครงการอยู่ในขั้นตอนทดสอบ (Prototype) และ3 โครงการอยู่ในขั้นตอนทดลอง (Proof of concept)

โครงการออกแบบและพัฒนาความรู้ด้านการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management)

ทอท. ดำเนินกิจกรรมการประชุมเชิงสัมนาในหัวข้อการพัฒนาการให้บริการ (Think Out Loud) ณ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

2

และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยการประชุมแบบออนไลน์และออนไซต์ เพื่อให้พนักงานเข้าใจกระบวนการออกแบบพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) พร้อมสร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือด้านการพัฒนานวัตกรรมกับหน่วยงานภายนอก (Innovation) โดยมีผลผลิตของโครงการนี้คือ โครงการระบบเก็บข้อมูลพื้นที่ทางวิ่ง และโครงการสร้างรายได้จากพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณผู้โดยสารภายในประเทศและลดความแออัดบริเวณพื้นที่พักคอย จากท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และโครงการ Mascot และโครงการ Smart Security จากท่าอากาศยานหาดใหญ่

3

โครงการจัดทำความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมและการพัฒนาต้นแบบ

ทอท. ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนาแนวความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรมให้เกิดผลลัพธ์นวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาจากมุมมองของผู้ใช้บริการ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการคือพนักงานท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลอดจนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอุดมศึกษา ผลลัพธ์ของโครงการฯ คือ 4 แนวคิดในการแก้ไขปัญหาด้านการหาทิศทาง (Wayfinding) และ 4 แนวคิดในการแก้ไขปัญหาการขนส่ง (Transportation)

AOT Digital Platform

ทอท. ได้ดำเนินการพัฒนา Digital Platform เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล โดยแบ่งออกเป็น 4 Module ได้แก่

  1. Digital Airports สนับสนุนการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มาใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบ ของ ทอท.
  2. Digital Operation สนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานภายในท่าอากาศยาน
  3. Digital Office สนับสนุนการบริหารจัดการและปฏิบัติงานภายในองค์กร
  4. Digital Cargo สนับสนุนการบริหารจัดการและปฏิบัติงานขนส่งสินค้าทางอากาศ

AOT Digital Airports

ทอท.กําหนดทิศทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารภายในท่าอากาศยานภายใต้แนวคิด “สนามบินมีชีวิต” ตั้งแต่ปี 2562 ทอท. ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันท่าอากาศยาน ทอท. (AOT Airports Application) ซึ่งได้รับการปรับโฉมใหม่เป็นชื่อ SAWASDEE by AOT ในปี 2564 ที่มอบประสบการณ์การใช้ท่าอากาศยานที่น่าดึงดูดและสะดวกสบายแก่ลูกค้า พร้อมส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการภายในท่าอากาศยานให้ก้าวไปสู่ Thailand 4.0 ภายในแอปพลิเคชันประกอบด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ ดังนี้

Home to Gate

ระบบเตือนและแนะนำเส้นทางจากบ้านสู่ประตูเครื่องบิน เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้ทันเวลาระบบเตือนและแนะนำเส้นทางจากบ้านสู่ประตูเครื่องบิน เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้ทันเวลา

CUPPS

เปลี่ยนสมาร์ตโฟน
ให้เป็นเคาน์เตอร์เช็กอิน
โดยไม่ต้องต่อแถว

PBRS

ระบบติดตามกระเป๋าแบบเรียลไทม์
ตั้งแต่ท่าอากาศยาน
ต้นทางไปจนถึงปลายทาง

AOT PASS

กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส
พร้อมได้รับ AOT COIN และ
โปรโมชันต่าง ๆ มากมาย

Explore Function

ศูนย์กลางข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
ร้านอาหาร และที่พักทั่วไทย

Itinerary

ผู้ช่วยอัจฉริยะในการท่องเที่ยว
ซึ่งจะช่วยบันทึก จัดระเบียบ แจ้งเตือน
พร้อมนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ เสมือนมีไกด์คนไทยช่วยดูแล

Virtual Thailand by AOT

เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง
สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว
แปลกใหม่ในโลกดิจิทัล

AOT Digital Platform

เป็นการพัฒนาระบบข้อมูลการปฏิบัติงานในด้านการให้บริการ การบริหารจัดการ และการขยายศักยภาพท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของบุคลากร ทอท. ให้เป็นรูปแบบดิจิทัลที่จัดแสดงขึ้นบนแผงแสดงข้อมูล (Dashboard) เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการท่าอากาศยาน เช่น ปริมาณผู้โดยสาร เวลาในการให้บริการ การขึ้น-ลงของอากาศยาน เป็นต้น โดยจะนำเสนอและวิเคราะห์แบบเวลาจริง (Real Time) เพื่อประกอบการตัดสินใจ ปัจจุบัน Digital Operation อยู่ระหว่างการทดสอบระบบโดยผู้ใช้งานจริง

Digital Office

เป็นการพัฒนาระบบการทำงานในสำนักงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในรูปแบบดิจิทัลผ่านโทรศัพท์มือถือของพนักงาน ทอท. โดยพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่สนับสนุนการดำเนินงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น อีเมล ครุภัณฑ์ ระบบ e-Learning และ สวัสดิการต่าง ๆ ปัจจุบันทั้งสองระบบอยู่ระหว่างการทดลองใช้งานซึ่งจะเปิดใช้อย่างเต็มรูปแบบในปีงบประมาณ 2566

Digital Cargo

เป็นการพัฒนาระบบการจัดการในพื้นที่เขตปลอดอากรและคลังสินค้า ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แบ่งการพัฒนาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 Smart Access (Phase 1) พัฒนาระบบบริหารการเข้าออกพื้นที่เขตปลอดอากรและคลังสินค้า ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และระยะที่ 2 Smart Cargo (Phase 2) พัฒนาระบบเชื่อมข้อมูลภายในพื้นที่เขตปลอดอากรและคลังสินค้า โดยในเดือน ก.ค.65 ทอท. ได้เปิดใช้งานระบบ Smart Access ซึ่งช่วยลดระยะเวลาคิวในการรอทำบัตรอนุญาตบุคคลและยานพาหนะ อีกทั้งสามารถตรวจสอบข้อมูลเพื่อกำกับดูแลการออกบัตรและการผ่านเข้า-ออก เพื่อการรักษาความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินผลการจัดการ

ทอท. ติดตามความคืบหน้าของการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลของส่วนงานภายใน ผ่านตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทนวัตกรรมของ ทอท. 2564 – 2568 และแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ ทอท. ปีงบประมาณ 2563 - 2565 อีกทั้ง ทอท. มีการรายงานผลต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อทบทวนและกําหนดมาตรการส่งเสริมความสําเร็จตามเป้าหมายเพิ่มเติมเป็นประจําอย่างต่อเนื่อง

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2566