ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

icon stakeholder

ลูกค้า

icon stakeholder

พันธมิตรทางธุรกิจ

icon stakeholder

ชุมชนและสังคม

icon stakeholder

สื่อมวลชน
และ สื่อออนไลน์อื่น ๆ

ความสำคัญ

การดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทานในส่วนของคู่ค้าเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ ทอท. สามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวก เช่น การจ้างงานซึ่งช่วยกระจายรายได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสเกิดผลกระทบในเชิงลบ เช่น มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือการปฏิบัติต่อแรงงานที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ ทอท. ต้องบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงผลกระทบด้านชื่อเสียง และการหยุดชะงักทางธุรกิจ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนนอกจากจะปกป้องพันธมิตรทางธุรกิจจากผลกระทบในแง่ลบและส่งเสริมประโยชน์ในแง่บวกแล้ว ในทางอ้อมยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและนักลงทุนจากเสถียรภาพในการให้บริการ และการมีจริยธรรมในการดำเนินงานอีกด้วย

แนวทางการจัดการ

ทอท. ดําเนินการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 รวมถึงแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. และจรรยาบรรณว่าด้วยการจัดหาพัสดุ และคู่มือปฏิบัติงานด้านการพัสดุซึ่งถูกบังคับใช้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กําหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐและต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้

พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง

แนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและ

วิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563

ปัจจุบัน ทอท. ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ที่เน้นการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าหรือบริการที่ผลิตภายในประเทศ ใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งแนวทางดังกล่าวถือเป็นการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศระดับฐานราก และช่วยเพิ่มอุปสงค์ต่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

green-ict

นโยบายการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท. (AOT Green ICT Management Policy)

ในปี 2564 ทอท.ได้ประกาศนโยบายการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท. เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจการให้บริการท่าอากาศยานการเติบโตอย่างยั่งยืน นโยบายฉบับนี้ให้ความสำคัญกับการจัดซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประหยัดพลังงาน มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลได้โดยง่าย และมีประสิทธิภาพสูง นโยบายดังกล่าวยังสนับสนุนการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่น ระบบ e-Document, Virtualization Server, Cloud computing เป็นต้น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สาระสําคัญของแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

สาระสําคัญของแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

กระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

ทอท. กําหนดให้ฝ่ายพัสดุเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการดังนี้

1.

การคัดกรองและประเมินคู่ค้า ทอท.บูรณาการข้อกําหนดด้านความยั่งยืนในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าใหม่และการประเมินคู่ค้าปัจจุบัน ซึ่งการคัดเลือกคู่ค้าใหม่จะพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละประเภทสัญญาและประเภทกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายอาชีวอนามัยและกฎหมายแรงงาน การมีมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความซื่อสัตย์ไว้วางใจได้ในการปฏิบัติงาน คุณภาพของงาน และความพร้อมของทรัพยากรในการส่งมอบสินค้าและบริการ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การรับทราบจรรยาบรรณคู่ค้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร คู่ค้าของ ทอท. ทุกรายจะต้องรับทราบเอกสารแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. ซึ่งคู่ค้าต้องทําความเข้าใจและลงนามรับทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมเอกสารสัญญาก่อนดําเนินการทําสัญญา

2.

3.

การประเมินคู่ค้าหลักและการประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ทอท. มีกระบวนการภายในสําหรับการประเมินคู่ค้าหลักและประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างความตระหนักถึงคู่ค้าที่สําคัญต่อการดําเนินธุรกิจ วิเคราะห์ประเภทและระดับความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง พิจารณาถึงระดับความสําคัญและความเร่งด่วนในแต่ละกลุ่มคู่ค้า และกําหนดมาตรการการจัดการและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดย ทอท. เปิดเผยผลการประเมินดังกล่าวในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

3.1) การประเมินคู่ค้าหลัก

คู่ค้าหลัก (Critical Supplier) หมายถึง คู่ค้าที่ส่งมอบสินค้า วัตถุดิบ หรือการบริการที่มีผลอย่างมีนัยสําคัญต่อความสามารถในการแข่งขัน ความสําเร็จในตลาด หรือความอยู่รอดของบริษัท ซึ่งเกณฑ์ในการประเมินคู่ค้าหลักของ ทอท. ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้

  1. คู่ค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูง
  2. คู่ค้าที่มีน้อยราย
  3. คู่ค้าที่ส่งมอบวัตถุดิบที่สําคัญต่อธุรกิจ อาทิ ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปรึกษาโครงการก่อสร้าง ผู้รับเหมาบริการ รักษาความปลอดภัย คู่ค้าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และคู่ค้าที่ได้รับการประเมินว่าอยู่ในกลุ่มคู่ค้าหลักจะได้รับการจัดลําดับความสําคัญในการติดตาม เพื่อควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท

3.2) การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในกลุ่มคู่ค้า

ทอท. ประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของแต่ละกลุ่มคู่ค้า โดยคํานึงถึงประเด็นด้านการค้ากับดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของคู่ค้า Tier 2 และลําดับถัดไป (กรณีคู่ค้าเป็นผู้จัดจําหน่ายหรือให้เช่า) ทอท. ได้ทบทวนและระบุประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่สําคัญในแต่ละมิติ เพื่อทําการพิจารณาระดับผลกระทบรวมถึงโอกาสในการเกิดและนําผลการพิจารณาของแต่ละกลุ่มคู่ค้ามาจัดลําดับความสําคัญในรูปแบบตารางประเมินความเสี่ยงคู่ค้า (Sellers Risk Matrix) เพื่อระบุกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง ตลอดจนศึกษามาตรการจัดการที่ควรให้ความสําคัญเป็นล้าดับต้น ๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนํามากําหนดมาตรการจัดการที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มคู่ค้า รวมถึงประเด็นความเสี่ยงที่สําคัญเพื่อสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10 กลุ่มคู่ค้าของ ทอท.

10 กลุ่มคู่ค้าของ ทอท

ประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่พิจารณา

สิ่งแวดล้อม

สังคม

การกำกับดูแล

ความเสี่ยง
ในห่วงโซ่อุปทานของคู่ค้า

  • การใช้พลังงาน
  • การใช้นํ้าและการปล่อยนํ้าเสีย
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การใช้วัสดุ สารเคมี และขยะ
  • มลพิษทางอากาศ

ทรัพยากรมนุษย์

  • ความมั่นคงด้านแรงงานที่มีศักยภาพ
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม

สิทธิมนุษยชน

  • การใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย
  • การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
  • การทุจริตคอร์รัปชัน
  • การต่อต้านการแข่งขันทางธุรกิจและการผูกขาดทางการค้า
  • การรักษาความลับ ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
  • การคํานึงถึงความเสี่ยงของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในคู่ค้า
  • การคํานึงถึงความเสี่ยงของประเด็นด้านสังคมในคู่ค้า
  • การคํานึงถึงค้วามเสี่ยงของประเด็นด้านการกํากับดูแลในคู่ค้า

ผลการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า (Seller's Risk Matrix)

matrix

หมายเหตุ ทอท. กําหนดให้กลุ่มคู่ค้าที่อยู่ในบริเวณสีส้มและสีแดงเป็นกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

กลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

กลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

ทั้งนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการกําหนดแผนการติดตามผลการดําเนินงานเพื่อควบคุมความเสี่ยงในกลุ่มคู่ค้าดังกล่าว โดยจะรายงานความคืบหน้าในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

การประเมินผลการจัดการ

ทอท. กําหนดกระบวนการภายในเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของการดําเนินงานของคู่ค้าและผู้รับเหมาตามข้อกําหนดรายละเอียดการจัดหา (Term of Reference: TOR) แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า และจรรยาบรรณ ทอท. ซึ่งรับผิดชอบโดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่เป็นอิสระจากโครงการดังกล่าวเป็นประจําเพื่อพิจารณาความสมบูรณ์ของงานที่ส่งมอบและกําหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไขกรณีพบความไม่สอดคล้องกับ TOR ของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการพัฒนาแนวทางการตรวจประเมินแบบลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดําเนินมาตรการลดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานในอนาคต

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2566