การบริหารความเสี่ยง

icon ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 7 กลุ่ม
01 Customer

ลูกค้า

ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 7 กลุ่ม
Business Alliance

พันธมิตรทางธุรกิจ

ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 7 กลุ่ม
Regulatory agencies

หน่วยงานกำกับดูแลกิจการ

ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 7 กลุ่ม
Employee

บุคลากรของ ทอท.

ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 7 กลุ่ม
Shareholders, Investors, and Securities Analysts

ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 7 กลุ่ม
community and society

ชุมชนและสังคม

ผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 7 กลุ่ม
Mass Media and Online Media

สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่น ๆ

ความสำคัญ

ทอท. มุ่งบริหารจัดการความเสี่ยงโดยถือเป็นประเด็นที่ต้องดําเนินการแบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทั้งองค์กร สอดคล้องตามแนวทางปฏิบัติที่ดีในระดับสากล ซึ่งส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กําหนด เสริมสร้างความมั่นคงในการดําเนินธุรกิจ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสีย

นโยบาย

ทอท. กําหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบูรณาการการกํากับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกํากับดูแลการปฏิบัติงานของ ทอท. นโยบายการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ ทอท. และนโยบายการควบคุมภายในให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ โดยพิจารณาความสอดคล้องตามแผนวิสาหกิจของ ทอท. ปีงบประมาณ 2566 - 2570 ฉบับทบทวน (ประจำปีงบประมาณ 2566) แผนปฏิบัติการและการบริหารโครงการ รวมถึงกฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. ได้จัดทําคู่มือการบริหารความเสี่ยง เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานภายในอย่างครอบคลุมอีกด้วย

ระบบการบริหารจัดการ

ทอท. เล็งเห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง จึงได้พัฒนาระบบการบริหารความเสี่ยงสำหรับงานในทุกระดับ ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management) ดังนี้

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของ ทอท.

คณะทำงานบริหารความเสี่ยงของทอท

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของ ทอท. ประกอบไปด้วย คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (คคส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการทอท. (คณก.ทอท.) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แนวทางและกรอบการบริหารความเสี่ยง และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยมีคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของ ทอท. (คณส.ทอท.) ที่มีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และผู้บริหารของแต่ละสายงาน สาย สำนัก และท่าอากาศยาน เป็นผู้ทำงาน มีหน้าที่ในการนำนโยบาย แนวทางและกรอบการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ ผ่านกลไกการบริหารความเสี่ยงในแต่ละสายงาน สาย สำนัก และท่าอากาศยาน ประกอบด้วยคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน (คณส.) ของสายงาน สาย สำนัก และท่าอากาศยาน และคณะทำงานการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงของส่วนงาน ทอท. ทำหน้าที่ในการระบุ ประเมินความเสี่ยง และวางแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยง และรายงานผลการบริหารความเสี่ยงต่อ คณส.ทอท.และ คคส.เป็นประจำ โดยมีฝ่ายบริหารความเสี่ยง (ฝคส.) และผู้ปฏิบัติภารกิจด้านการบริหารความเสี่ยงของแต่ละท่าอากาศยาน (Risk Agent) ทำหน้าที่ในการอำนวยการและให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการบริหารความเสี่ยงของ ทอท. นอกจากนี้ ระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของ ทอท.ยังได้รับการประเมินความเพียงพอ และประสิทธิผลจากสำนักตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของ ทอท.เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุม เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ทอท. กำหนดให้มีการบริหารความเสี่ยงเชิงบูรณาการตามแนวทางของ COSO - ERM 2017 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 20 หลักการ ดังนี้

กรอบบริหารความเสี่ยง
กรอบบริหารความเสี่ยงขององค์กรตามแนวทางของ COSO-ERM 2017

กระบวนการบริหารความเสี่ยงของ ทอท.

ทอท. กําหนดให้มีกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์เหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของ ทอท. โดยดําเนินการตามกระบวนการดังกล่าวเป็นประจําทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในช่วงก่อนเริ่มปีงบประมาณ และทบทวนในช่วงกลางปีงบประมาณ

กระบวนการบริหารความเสี่ยงของ ทอท. ประกอบด้วยกระบวนการหลัก ดังนี้

1

Risk Universe

Risk Universe เป็นฐานข้อมูลในการพิจารณาระบุปัจจัยเสี่ยง โดย Risk Universe ประจำปี งบประมาณ 2566 จากแหล่งที่มาทั้งหมด 8 แหล่ง อ้างอิงตามหลักเกณฑ์การประเมินกระบวนการปฏิบัติงาน และการจัดการ Core Business Enablers ของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่

  1. ผลการบริหารความเสี่ยงของ ทอท. ของปีก่อนหน้าที่มีระดับความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์สูง (สีส้ม) และสูงมาก (สีแดง)
  2. ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร (SWOT Analysis)
  3. ตัวชี้วัดและเป้าหมายของวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objective)
  4. ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามร่างบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กับ ทอท. (Performance Agreement: PA)
  5. นโยบายของผู้บริหารระดับสูง (Boards Policy)
  6. แผนปฏิบัติการ แผนดำเนินงานและแผนโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Action Plan/Work Plan/ Public Private-Partnership)
  7. รายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน
  8. ประเด็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ทอท. (Uncertainty)

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น

และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ทอท.

2

การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม

การวิเคราะห์ความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม เพื่อนําไปสู่การกําหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ หรือแผนการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสเกิด (Likelihood) หรือผลกระทบ (Impact) ของความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยกําหนดให้คณะทํางานบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของระดับสาย / สายงาน / สํานัก และท่าอากาศยาน ทําการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงประเด็นสําคัญ 8 ด้าน ดังต่อไปนี้

3

การกำหนดและทบทวนดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (KRIs)

ทอท. มีการกำหนดและทบทวน KRIs เป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในช่วงก่อนเริ่มปีงบประมาณ และทบทวนในช่วงกลางปีงบประมาณ ผ่านแบบฟอร์ม “การทบทวนและกำหนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยง (Key Risk Indicators: KRIs)" เพื่อใช้เป็นเครื่องมือติดตามความเสี่ยง (Tracking) และเป็นสัญญาณแจ้งเตือน (Early Warning Sign) เหตุการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดย KRIs เชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่สำคัญและส่งผลกระทบ ทอท. จึงได้มีการกำหนด KRIs เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามสถานะความเสี่ยงและบริหารจัดการ

การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของ ทอท.

4

ทอท. กําหนดให้มีการจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร ระดับสาย / สายงาน / ท่าอากาศยาน เพื่อให้มั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้ โดยมีรายละเอียดของขั้นตอนที่สําคัญ ดังนี้

กระบวนการบริหารความเสี่ยงของ ทอท.
คณะทํางานบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในของแต่ละสายงานและท่าอากาศยานของ ทอท. มีหน้าที่ในการติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานด้านความเสี่ยงต่อคณะทํางานบริหารความเสี่ยงของ ทอท. และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นประจํา เพื่อทบทวนความมีประสิทธิภาพของการบริหารจัดการความเสี่ยง นอกจากนี้ ทอท. ยังมีช่องทางในการประเมินระดับความตระหนักด้านความเสี่ยงและรับข้อคิดเห็น เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงผ่านแบบสอบถามในรูปแบบเอกสารและแบบออนไลน์ โดยทุกข้อเสนอแนะที่ได้รับจะถูกพิจารณาเพื่อยกระดับการบริหารความเสี่ยงของ ทอท. ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง และมาตรฐานการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ ทอท.

ระบบบริหารความเสี่ยงของ ทอท. มีความสอดคล้องตามแนวทางของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission - Enterprise Risk Management Integrating with Strategy and Performance: COSO - ERM 2017 และกรอบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่เป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐานสากล International Organization for Standardization: ISO 22301: 2012 (Societal Security - Business Continuity Management System Requirement) โดยนํากระบวนการบริหารความเสี่ยงมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทําแผนวิสาหกิจ ทอท. และการบริหารโครงการที่มีความสําคัญ เพื่อให้สามารถจัดการความเสี่ยงตลอดจนภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจของ ทอท. ได้อย่างทันเวลาและต่อเนื่อง รวมถึงสนับสนุนให้ ทอท. สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนดไว้

มาตรฐาน ISO

ความเสี่ยงของ ทอท.

ความเสี่ยงของ ทอท. สามารถแบ่งออกเป็น 12 ประเภทดังนี้

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์

ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน และการนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม นอกจากนี้ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน อันส่งผลกระทบต่อการกำหนดกลยุทธ์ หรือการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลัก เป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานของ ทอท.

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)

ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk)

หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของแต่ละกระบวนการ หรือกิจกรรมภายใน ทอท. รวมทั้งความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานของ ทอท. และส่งผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์หลักของ ทอท.

ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)

ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน โดยอาจเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายใน เช่น การบริหารจัดการด้านสภาพคล่อง ด้านเงินลงทุน หรือจากปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อันส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ หรือประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานของ ทอท. รวมถึงส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อ ทอท.

ความเสี่ยงด้านการปฎิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ (Compliance Risk)

ความเสี่ยงด้านการปฎิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ (Compliance Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งความเสี่ยงที่เกี่ยวกับกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของ ทอท. ซึ่งเมื่อมีความเสี่ยงด้านนี้เกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของ ทอท.

ความเสี่ยงด้านทุนมนุษย์ (Human Capital Risk)

ความเสี่ยงด้านทุนมนุษย์ (Human Capital Risk)
ช่องว่างระหว่างเป้าหมายขององค์กรกับทักษะในการปฏิบัติงานของพนักงาน อาจส่งผลกระทบให้องค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ซึ่งอาจจะเกิดจากความตั้งใจหรือมิได้ตั้งใจของพนักงาน เช่น ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอาจไม่เป็นไปตามที่กำหนด เป็นต้น

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk)

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk)
คือ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากมนุษย์หรือกระบวนการโดยมิได้ตั้งใจ จนก่อให้เกิดการได้รับอันตรายต่อบุคคลหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน

ความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Risk)

ความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Risk)
การกระทำอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือการฝ่าฝืนการปฏิบัติด้วยความตั้งใจ ซึ่งสามารถนำไปสู่อันตรายต่อบุคคลความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือการต้องหยุดให้บริการเป็นระยะยาว และชื่อเสียงเสียหายหมดสิ้น

ความเสี่ยงด้านอันตรายและสิ่งแวดล้อม (Hazard and Environmental Risk)

ความเสี่ยงด้านอันตรายและสิ่งแวดล้อม (Hazard and Environmental Risk)
ความเสี่ยงที่เกิดจากภัยอันตรายหรือภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน เช่น การเกิดอุทกภัย โรคระบาด รวมไปถึงภัยจากผู้ก่อการร้ายต่าง ๆ เป็นต้น

ความเสี่ยงดานการทุจริต (Fraud Risk)

ความเสี่ยงด้านการทุจริต (Fraud Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากการกระทำโดยเจตนา เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบด้วยกฏหมายสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น เช่น คนในครอบครัว (ญาติมิตร) เป็นต้น

ความเสี่ยงดานเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Risk)

ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้และทำให้เกิดความเสียหายต่อสินทรัพย์สารสนเทศของ ทอท. เช่น ไวรัสทำให้ข้อมูลเสียหาย ระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหลักเสียหายข้อมูลสำคัญถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

11reputational risk

ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์ (Reputation Risk)
หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นและทำให้เกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบต่อ ทอท. ส่งผลให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในสังคมจนนำไปสู่การสูญเสียชื่อเสียง

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk)

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk)
คือ ความเสี่ยงที่จะเกิดใหม่เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงที่ยังไม่ได้ปรากฏขึ้นในปัจจุบันแต่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ความเสี่ยงประเภทนี้เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ยากที่จะระบุได้ มีความถี่ของการเกิดน้อยแต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ความเสี่ยงที่จะเกิดใหม่นี้มักจะถูกระบุขึ้นมาจากการคาดการณ์บนพื้นฐานของการศึกษาจากหลักฐานที่มีปรากฏอยู่ ความเสี่ยงที่จะเกิดใหม่นี้ มักจะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กฎหมาย สังคม เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทางกายภาพ หรือการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ในบางครั้งผลกระทบของความเสี่ยงประเภทนี้อาจจะไม่สามารถระบุได้ในปัจจุบัน ตัวอย่าง เช่น ปัญหาที่เกิดขึ้นจากนาโนเทคโนโลยี หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ เป็นต้น

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ของ ทอท. (Emerging Risks)

1. สังคม (Society) ความเสี่ยงในมิติของสังคมประกอบด้วย

  • การเพิ่มขึ้นของค่าครองชีพ ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การงดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการรวมกลุ่มและการสัมผัส การจํากัดการเดินทาง เป็นต้น รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทําให้ประเทศที่มีข้อพิพาท ต้องอยู่ในภาวะสงคราม รวมถึงไปประเทศใกล้เคียงและประเทศคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากการไม่สามารถส่งมอบสินค้าและบริการ หรือการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
  • ความแตกแยกทางสังคม เป็นผลมาจากความเหลื่อมลํ้าทางสังคม ช่องว่างระหว่างวัยและความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น ซึ่งประเด็นข้างต้นอาจส่งผลกระทบให้แนวโน้มความต้องการการเดินทางทางอากาศลดลง ในขณะที่มิติของความแตกแยกทางสังคม ทั้งด้านความหลากหลายทางเพศ และด้านช่องว่างระหว่างวัย อาจส่งผลกระทบต่อการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวกภายในท่าอากาศยาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็น สิ่งที่ ทอท.ตระหนักและได้กําหนดแนวทางในการดําเนินงานที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมเรียบร้อยแล้ว

2. ความเสียหายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Damage)

  • ที่ผ่านมาห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญของ ทอท. ทั้งสายการบิน คู่ค้า ผู้ประกอบการต่าง ๆ และผู้ให้บริการภายในท่าอากาศยานของ ทอท. ต่างได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 เริ่มคลี่คลายและภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดฯ ส่งผลให้การจราจรทางอากาศเริ่มฟื้นตัว ในขณะที่ผู้ให้บริการและผู้ประกอบการยังไม่สามารถกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างเต็มขีดความสามารถเดิม ดังนั้นความสามารถในการฟื้นคืนศักยภาพของห่วงโซ่อุปทานด้านการบินของ ทอท. ที่ไม่สอดคล้องกับแนวโน้มของความต้องการการเดินทางอากาศ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการของ ทอท. ในภาพรวม โดยเฉพาะบริการภาคพื้น ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญต่อการให้บริการของท่าอากาศยานในภาพรวม โดยเฉพาะบริการภาคพื้น ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญต่อการให้บริการของท่าอากาศยาน ซึ่งยังคงมีข้อจำกัดจากจำนวนผู้ประกอบการที่ให้บริการและความสามารถในการให้บริการส่งผลกระทบต่อการจัดสรรตารางการบินของ ทอท. และการสร้างรายได้ของ ทอท. ในอนาคต ทอท. จึงได้มีนโยบายให้บริษัทรวมทุนของ ทอท. เป็นผู้ดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ ทอท. ยังคงสามารถให้บริการและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทอท. ยังใช้ระบบบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลกิจกรรมที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของ ทอท. เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทอท. จะสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป

การส่งเสริมวัฒนธรรมความเสี่ยง

ทอท. มีการดําเนินการตามกระบวนการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่สนับสนุนการบริหารความเสี่ยง โดยมีการกําหนดการประชุมคณะทํางานบริหารความเสี่ยงของ ทอท. และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นประจําทุกเดือน เพื่อใช้เป็นเวทีในการทบทวนสถานการณ์ความเสี่ยงที่จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจถึงความสัมพันธ์และผลกระทบของความเสี่ยงก่อนตัดสินใจ รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ถึงความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างกิจกรรมการส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง ได้แก่ AOT e-Learning Platform การประชุมร่วมระหว่างสายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน และการสำรวจความตระหนักด้านความเสี่ยง

การสำรวจความตระหนักด้านความเสี่ยง

ทอท. ดำเนินการสำรวจความตระหนักด้านความเสี่ยงของพนักงาน ทอท. เป็นประจำทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อการประเมินประสิทธิภาพการรับรู้ข้อมูลด้านการบริหารความเสี่ยงผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กร และเพื่อนำผลการสำรวจมาพัฒนาช่องทางการสื่อสารในการสร้างการรับรู้และความตระหนักด้านการบริหารความเสี่ยงให้เกิดประสิทธิภาพ

ผลการสำรวจในปี 2565 พบว่า ระดับความเข้าใจและระดับความสามารถในนำสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของ ทอท. ไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมากและมากที่สุดตามลำดับ ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2564 โดย AOT Staff Application เป็นช่องทางที่พนักงานกว่าร้อยละ 75 ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง และในปี 2566 ทอท. ดำเนินการเผยแพร่ สื่อสาร และสร้างความตระหนักด้านการบริหารความเสี่ยงผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์หลักของ ทอท. อินทราเน็ต อีเมล เป็นต้น รวมถึงการจัดแสดงการแจ้งเตือนความเสี่ยงผ่าน Digital Platform

การฝึกอบรมด้านความเสี่ยง

กิจกรรมอบรมด้านความเสี่ยง

การอบรม Risk Agents

จากผลการสำรวจความตระหนักด้านความเสี่ยง ทอท. จัดการฝึกอบรมที่สอดแทรกองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงให้กับบุคลากรของ ทอท. โดยในปีงบประมาณ 2565 ทอท. ผ่าน 2 การฝึกอบรม ได้แก่ การจัดการท่าอากาศยานระดับกลาง (Intermediate Airport Management) และ การจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management) ซึ่งอ้างอิงเนื้อหาจากคู่มือการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2566

ในปี 2566 ทอท. ดำเนินโครงการฝึกอบรมด้านความเสี่ยงเรื่อง “การบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ 2566” เพื่อตอบสนองยุทธ์ศาสตร์ที่ 4 Intelligent Services กลยุทธ์ที่ 4.2 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร ของแผนวิสาหกิจของ ทอท. ปีงบประมาณ 2566 - 2570 ฉบับทบทวน (ประจำปีงบประมาณ 2566) และการอบรม Risk Agents ทั้งนี้ ผลของการฝึกอบรมและการเผยแพร่ข้อมูลด้านความเสี่ยง พบว่า พนักงานมีความรู้ความเข้าใจด้านความเสี่ยงโดยเฉลี่ยมากขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 18

การตรวจประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง

ทอท. เข้ารับการตรวจประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงตามระบบประเมินรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) เพื่อการพัฒนาการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงของ ทอท. อย่างต่อเนื่อง โดยผลการประเมินจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของการดำเนินงาน ใน 5 มิติ ได้แก่

  1. ธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมองค์กร
  2. ข้อมูลสารสนเทศ การสื่อสาร และการรายงานผล
  3. การทบทวนการบริหารความเสี่ยง
  4. กระบวนการบริหารความเสี่ยง
  5. การกำหนดยุทธศาสตร์และวัตถุประสงค์

โครงการบริหารความเสี่ยง Triple A (3A: Alert Analysis Agility)

โครงการบริหารความเสี่ยง Triple A เกิดจากความร่วมมือระหว่างฝ่ายความเสี่ยงและฝ่ายบุคคลของ ทอท. ในการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านการบริหารความเสี่ยงให้กับผู้บริหารและพนักงาน เพื่อสร้างวัฒนธรรมความเสี่ยงขององค์กรที่เข้มแข็ง โดยโครงการบริหารความเสี่ยง Triple A ถือเป็นผลผลิตจากการสำรวจความตระหนักด้านความเสี่ยงและการตรวจประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง

ทบทวน ณ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567