การจัดการห่วงโซ่อุปทาน 

การดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทานในส่วนของคู่ค้าเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ ทอท. สามารถสร้างผลกระทบในเชิงบวก เช่น การจ้างงาน ซึ่งช่วยกระจายรายได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสเกิดผลกระทบในเชิงลบ เช่น มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือการปฏิบัติต่อแรงงานที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ ทอท. ต้องบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงผลกระทบด้านชื่อเสียง และการหยุดชะงักทางธุรกิจ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนนอกจากจะปกป้องพันธมิตรทางธุรกิจจากผลกระทบในแง่ลบและส่งเสริมประโยชน์ในแง่บวกแล้ว ในทางอ้อมยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและนักลงทุนจากเสถียรภาพในการให้บริการ และการมีจริยธรรมในการดำเนินงานอีกด้วย

แนวทางการจัดการ

ทอท. ดำเนินการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แนวทางปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 รวมถึงแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. และจรรยาบรรณว่าด้วยการจัดหาพัสดุ และคู่มือปฏิบัติงานด้านการพัสดุซึ่งถูกบังคับใช้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กําหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของหน่วยงานของรัฐต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่หน่วยงานของรัฐและต้องสอดคล้องกับหลักการ ดังต่อไปนี้ 

คุ้มค้า

โปร่งใส

ประสิทธิภาพ
และ ประสิทธิผล

ตรวจสอบได้

มีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้า เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีกำหนดเวลาที่เหมาะสมโดยมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ

การจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุต้องกระทำโดยเปิดเผย ให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีการปฏิบัติต่อผู้ประกอบการทุกราย โดยเท่าเทียมกัน มีระยะเวลาที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการยื่นข้อเสนอ มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน

พัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพ หรือคุณลักษณะที่ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานของหน่วยงานรัฐ มีราคาเหมาะสมและมีแผนการบริหารพัสดุที่เหมาะสมและชัดเจน

มีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ

green-ict

ทอท. ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติงานการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท. (Green ICT Management Guideline) เพื่อสร้างกระบวนการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่ครบถ้วนและเป็นระบบ ประกอบด้วย ลดการใช้พลังงาน และการจัดการทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า และไม่ส่งผลต่อคุณภาพของการให้บริการ โดยให้ความสำคัญกับ 4 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

  1. วัฏจักรของอุปกรณ์ (Equipment Lifecycle)
  2. การใช้ ICT ของผู้ใช้งาน (End User Computing)
  3. ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ในองค์กร (Enterprise Computing)
  4. การนำ ICT มาใช้ในการลดการปล่อยคาร์บอน (ICT as a Low - Carbon Enabler)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สาระสําคัญของแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

สาระสําคัญของแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

กระบวนการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

ทอท. กําหนดให้ฝ่ายพัสดุเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนผ่านกระบวนการดังนี้

1

การคัดกรองคู่ค้า 

ทอท. บูรณาการข้อกําหนดด้านความยั่งยืน อาทิ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการกำกับดูแล และด้านความเกี่ยวข้องทางธุรกิจในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าใหม่และการประเมินคู่ค้าปัจจุบัน ซึ่งการคัดเลือกคู่ค้าใหม่จะพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละประเภทสัญญาและประเภทกิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายอาชีวอนามัยและกฎหมายแรงงาน การมีมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ความซื่อสัตย์ไว้วางใจได้ในการปฏิบัติงาน คุณภาพของงาน และความพร้อมของทรัพยากรในการส่งมอบสินค้าและบริการ

การรับทราบจรรยาบรรณคู่ค้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

คู่ค้าของ ทอท. ทุกรายจะต้องรับทราบเอกสารแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. ซึ่งคู่ค้าต้องทํความเข้าใจและลงนามรับทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมเอกสารสัญญาก่อนดำเนินการทําสัญญา

2

3

การประเมินคู่ค้าหลักและการประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

ทอท. มีกระบวนการภายในสําหรับการประเมินคู่ค้าหลักและประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานเพื่อสร้างความตระหนักถึงคู่ค้าที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ วิเคราะห์ประเภทและระดับความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง พิจารณาถึงระดับความสำคัญและความเร่งด่วนในแต่ละกลุ่มคู่ค้า และกําหนดมาตรการการจัดการและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ตามมาตรฐานและกฎระเบียบที่ถูกกำหนดไว้ เช่น การประเมินคู่ค้าในกลุ่มงานก่อสร้างของผู้รับเหมาด้วยระบบ ISO 45001: 2018 เป็นต้น อีกทั้งยังนำผลการประเมินคู่ค้าที่ดำเนินการโดยบุคคลกรของ ทอท. มาวิเคราะห์เพื่อทำการระบุแนวทางการพัฒนาคู่ค้าของ ทอท. ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้น และให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนากลุ่มคู่ค้าที่ไม่ผ่านการประเมินของ ทอท. เช่น การอบรมคู่ค้าในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยตามหลักสูตร “3 ม. เพื่อมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย (ระดับต้น)”

3.1 การประเมินคู่ค้าหลัก

คู่ค้าหลัก (Significant Supplier) หมายถึง คู่ค้าที่ส่งมอบสินค้า วัตถุดิบ หรือการบริการที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขัน ความสําเร็จในตลาด หรือความอยู่รอดของบริษัท ซึ่งเกณฑ์ในการประเมินคู่ค้าหลักของ ทอท. ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย ดังนี้

  • ค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูง
  • คู่ค้าที่มีน้อยราย
  • คู่ค้าที่ส่งมอบวัตถุดิบที่สำคัญต่อธุรกิจ

อาทิ ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปรึกษาโครงการก่อสร้าง ผู้รับเหมาบริการ รักษาความปลอดภัย คู่ค้าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และคู่ค้าที่ได้รับการประเมินว่าอยู่ในกลุ่มคู่ค้าหลักจะได้รับการจัดลําดับความสำคัญในการติดตาม เพื่อควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท

3.2 การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในกลุ่มคู่ค้า

ทอท. ประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของแต่ละกลุ่มคู่ค้า โดยคํานึงถึงประเด็นด้านการค้ากับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของคู่ค้า (Non-Tier 1) และลําดับถัดไป (กรณีคู่ค้าเป็นผู้จัดจําหน่ายหรือให้เช่า) ทอท. ได้ทบทวนและระบุประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่สำคัญในแต่ละมิติ เพื่อทําการพิจารณาระดับผลกระทบรวมถึงโอกาสในการเกิดและนําผลการพิจารณาของแต่ละกลุ่มคู่ค้ามาจัดลําดับความสำคัญในรูปแบบตารางประเมินความเสี่ยงคู่ค้า (Sellers Risk Matrix) เพื่อระบุกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง ตลอดจนศึกษามาตรการจัดการที่ควรให้ความสำคัญเป็นล้าดับต้น ๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนํามากําหนดมาตรการจัดการที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มคู่ค้า รวมถึงประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญเพื่อสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10 กลุ่มคู่ค้าของ ทอท. 

10 กลุ่มคู่ค้าของ ทอท

ประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่พิจารณา

สิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแล ความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของลูกค้า
  • การใช้พลังงาน
  • การใช้น้ำและการปล่อยกน้ำเสีย
  • การใช้วัสดุ สารเคมี และขยะ
  • มลพิศทางอากาศ
  • ทรัพยากรมนุษย์
    • ความมั่นคงด้านแรงงานที่มีศักยภาพ
    • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
    • สภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม
    สิทธิมนุษยชน
    • การใช้แรงงานที่ผิดกฏหมาย
    • การปฏิบัติอย่างเท่าเทียม
  • การทุจริตคอร์รัปชัน
  • การต่อต้านการแข่งขันทางธุรกิจและการผูกขาดทางการค้า
  • การรักษาความลับ ความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
  • การคำนึงถึงความเสี่ยงของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในคู่ค้า
  • การคำนึงถึความเสียง
  • ผลการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า (Seller's Risk Matrix)

    Seller's Risk Matrix Evaluation
    1. การก่อสร้าง
    2. การติดตั้งและเหมาบริการด้านสารสนเทศและการสื่อสาร
    3. การซ่อมบำรุง ปฏิบัติการภาพพื้นดิน อาคารและสถานที่ และบริการขนส่ง
    4. การเหมาบริการงานรักษาความปลอดภัยและบริการลูกค้า
    5. งานที่ปรึกษา ออแกไนเซอร์ และงานออฟฟิศอื่น ๆ
    6. อุปกรณ์ต้นทุน (CAPEX)
    7. เคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลือง
    8. บริการเช่าอุปกรณ์ และระบบสารสนเทศและการสื่อสาร
    9. บริการเช่ารถ และระบบขนส่ง
    10. บริการเช่าอุปกรณ์อื่น ๆ

    กลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

    กลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

    ทั้งนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการกําหนดแผนการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อควบคุมความเสี่ยงในกลุ่มคู่ค้าดังกล่าว โดยจะรายงานความคืบหน้าในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม:

    AOT Supply Chain Management 2022 <รออัพเดต>

    การประเมินผลการจัดการ

    ทอท. กําหนดกระบวนการภายในเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของการดำเนินงานของคู่ค้าและผู้รับเหมาตามข้อกําหนดรายละเอียดการจัดหา (Term of Reference: TOR) แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า และจรรยาบรรณ ทอท. ซึ่งรับผิดชอบโดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุที่เป็นอิสระจากโครงการดังกล่าวเป็นประจําเพื่อพิจารณาความสมบูรณ์ของงานที่ส่งมอบและกําหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไขกรณีพบความไม่สอดคล้องกับ TOR ของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการพัฒนาแนวทางการตรวจประเมินแบบลงพื้นที่ เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการลดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานในอนาคต

    ทบทวน ณ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2567