ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

เศรษฐกิจ

สิ่งแวดล้อม

สังคม

สิ่งแวดล้อม

การใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

การใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม

หมายเหตุ

ข้อมูลในตารางด้านบนครอบคลุม 6 ท่าอากาศยานภายใต้ความรับผิดชอบของ ทอท. รวมการใช้ไฟฟ้าของผู้ประกอบการ ไม่รวมสำนักงานใหญ่ ข้อมูลเก็บรวบรวมจากใบแจ้งค่าไฟฟ้าของท่าอากาศยาน
มาตรฐานวิธีการเก็บข้อมูล คำนวณ และแปลงหน่วยอ้างอิงตาม GHG Protocol Corporate Accounting and Reporting Standard
1 ครอบคลุมทั้งพลังงานไฟฟ้าและความเย็น โดยเป็นการคำนวณการใช้พลังงานต่อหนึ่งผู้โดยสาร

en 02

หมายเหตุ

ตารางข้างต้นเป็นข้อมูลตามปีปฏิทินที่ใช้มาตรฐานวิธีการเก็บข้อมูล คำนวณ และแปลงหน่วยอ้างอิงจาก GHG Protocol Corporate Accounting and Reporting Standard โดยคำนึงถึงก๊าซเรือนกระจกที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น และไม่มี Biogenic CO2 emission ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. ใช้ Emission Factor อ้างอิงจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (มกราคม 2560), U.S. Environmental Protection Agency (EPA) และIntergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) โดยใช้ Global Warming Potential (GWP) ในกรอบระยะเวลา 100 ปี ซึ่งอ้างอิงจาก IPCC Fourth Assessment Report (AR4 - 100 year)
1 ข้อมูลระหว่างปี 2559 - 2560 ครอบคลุม 5 ท่าอากาศยาน ไม่รวมท่าอากาศยานภูเก็ต

การจัดการน้ำและน้ำเสีย

น้ำเสีย

หมายเหตุ

ข้อมูลด้านน้ำครอบคลุม 6 ท่าอากาศยานภายใต้ความรับผิดชอบของ ทอท. ไม่รวมสำนักงานใหญ่ ข้อมูลเก็บรวบรวมจากใบแจ้งค่าน้ำของ
ท่าอากาศยาน และมาตรวัดของระบบหมุนเวียนน้ำภายใน
1 การใช้น้ำจากแหล่งภายนอกทั้งหมดของ ทอท.เป็นน้ำจืด (≤ 1,000 mg/L Total Dissolved Solids)
2 จากการวิเคราะห์ด้วย Aqueduct Water Risk Atlas ของ World Resources Institute (WRI) ทอท. มีพื้นที่ดำเนินงานอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำ (Water stress areas) ในระดับ Extremely high จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานเชียงใหม่
3 ปริมาณน้ำที่ปล่อยออกที่แสดงเป็นค่าปริมาณน้ำที่เข้าสู่ระบบบำบัดซึ่ง ทอท. พิจารณาให้เทียบเท่ากับน้ำที่ปล่อยออก โดยน้ำหลังผ่านการบำบัดน้ำเสียจะมีคุณภาพน้ำเทียบเท่าหรือดีกว่าน้ำจากแหล่งธรรมชาติที่เข้าสู่ระบบและเป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและข้อกำหนดตามการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีพารามิเตอร์ที่ตรวจวัดตามข้อกำหนดของ EIA อาทิ ไขมัน ความเป็นกรดด่าง (pH) TKNBOD TDS ตะกอนตกตะกอน ตะกอนแขวนลอย และซัลไฟด์เป็นต้น โดยในปีงบประมาณ 2563 ไม่พบกรณีการละเมิดข้อกำหนดด้านคุณภาพน้ำที่ปล่อยออกหลังการบำบัด
4 ปริมาณน้ำที่ใช้ (Water consumption) เท่ากับการใช้น้ำจากแหล่งภายนอก (Water withdrawal) หักลบด้วยปริมาณน้ำที่ปล่อยออก (Water discharge) ทั้งนี้ ทอท. ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำที่มีนัยสำคัญที่สามารถส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ข้างเคียง
5 ปริมาณน้ำผ่านการบำบัดที่นำกลับมาใหม่ครอบคลุมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานอื่น ๆ อยู่ระหว่าง
การติดตั้งระบบและเก็บข้อมูล

เศรษฐกิจหมุนเวียน

การจัดการทรัพยากรและของเสีย

หมายเหตุ

1 ทอท. เปลี่ยนแปลงการรายงานจาก GRI 306 (2016): Effluents and Waste มาเป็น GRI 306 (2020): Waste เป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2563
ข้อมูลขยะที่ไม่ได้รับการจำแนกประเภทในปี 2560 - 2562 จะถูกระบุเป็น 0
2 ข้อมูลปริมาณขยะรีไซเคิลครอบคลุมเฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานเชียงใหม่ ทั้งนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลขยะที่
ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น รีไซเคิล ทำปุ๋ยหมัก โดยจะรายงานข้อมูลที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ดำเนินการในอนาคต การนำขยะมาใช้ประโยชน์
ทั้งหมดเกิดขึ้นนอกพื้นที่ปฏิบัติงานของ ทอท. (Off-site)
3 กระบวนการในการกำจัดขยะอันตรายของ ทอท. เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในขณะที่
กระบวนการในการกำจัดขยะทั่วไปเป็นไปตามมาตรการในแต่ละท้องที่ซึ่งดำเนินการโดยเทศบาลหรือบริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
การกำจัดขยะทั้งหมดเกิดขึ้นนอกพื้นที่ปฏิบัติงานของ ทอท. (Off-site)