ความปลอดภัย
และการรักษาความปลอดภัย
ในท่าอากาศยาน
ลูกค้า
พันธมิตรทางธุรกิจ
หน่วยงานกำกับดูแล
บุคลากรของ ทอท.
ชุมชนและสังคม
สื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่นๆ
ความปลอดภัย
ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยานเป็นประเด็นสำคัญที่ ทอท. ต้องดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสากลและระดับประเทศ เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ บุคลากร พันธมิตรทางธุรกิจที่ดำเนินงานภายในท่าอากาศยาน ตลอดจนชุมชนและสังคมโดยรอบจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตราย ซึ่งถือเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิในการมีชีวิตและความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการเติมเต็มความคาดหวังของหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ อีกด้วย
ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยานเป็นประเด็นสำคัญที่ ทอท. ต้องดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสากลและระดับประเทศ เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ บุคลากร พันธมิตรทางธุรกิจที่ดำเนินงานภายในท่าอากาศยาน ตลอดจนชุมชนและสังคมโดยรอบจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตราย ซึ่งถือเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิในการมีชีวิตและความปลอดภัย นอกจากนี้ยังเป็นการเติมเต็มความคาดหวังของหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ อีกด้วย
นโยบายและแนวทางการจัดการ
ทอท. กําหนดนโยบายความปลอดภัยของท่าอากาศยาน (Aerodrome Safety Policy) ที่สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อกําหนดและข้อเสนอแนะขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการจัดการด้านความปลอดภัยของท่าอากาศยานในความรับผิดชอบทั้ง 6 แห่ง โดยมีคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยระดับองค์กรซึ่งกรรมการผู้อํานวยการใหญ่เป็นประธาน และคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยระดับท่าอากาศยานกํากับดูแลการดําเนินงานด้านความปลอดภัยของ ทอท. ให้เป็นไปตามนโยบายความปลอดภัยของท่าอากาศยาน นอกจากนี้ ทอท. ยังได้จัดทําคู่มือการดําเนินงานสนามบิน (Aerodrome Manual: ADM) แผนรักษาความปลอดภัยการบิน (Airport Security Programme: ASP) แผนเผชิญเหตุของสนามบิน (Airport Contingency Programme: ACP) และระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน (Safety Management System: SMS) ที่สอดคล้องตามข้อกําหนดทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมีสายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบินทําหน้าที่ในการกํากับดูแลและควบคุมการดําเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยและมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
นโยบายความปลอดภัยของท่าอากาศยาน (Aerodrome Safety Policy)
พัฒนามาตรฐาน
และการจัดการด้านนิรภัยของท่าอากาศยานควบคู่ไปกับการเติบโตของกิจการขนส่งทางอากาศภายใต้มาตรฐานของ ICAO
สนับสนุนบุคลากรและจัดสรรงบประมาณในการดําเนินระบบการจัดการด้านนิรภัยของท่าอากาศยาน (SMS)
ผู้บริหารทุกระดับ
มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ
ความปลอดภัยของท่าอากาศยานให้เป็นไปตามข้อกําหนด ตัวชี้วัดและเป้าหมาย
พนักงานและลูกจ้าง
ให้ความร่วมมือ
เรื่องความปลอดภัยของ
ท่าอากาศยานอย่างเคร่งครัด
จัดฝึกอบรม ทบทวนและสื่อสารเพื่อมั่นใจว่า บุคลากรมีความรู้ความชํานาญ
ในการดําเนินการตามนโยบายความปลอดภัยของท่าอากาศยาน ทอท.
รณรงค์ประชาสัมพันธ์และจูงใจผู้ที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามกฏระเบียบ มาตรฐานความปลอดภัย ยอมรับและมีจิตสำนึกเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย
ติดตามและประเมินผลdารปฎิบัติตามนโยบายและระบบการจัดการ
ด้านนิรภัยของสนามบิน (SMS)
ส่งเสรมการทํารายงาน
ความปลอดภัย
(Safety Report)
อย่างอิสระ
มุ่งมั่นสอบสวนหา
สาเหตุของเหตุการณ์
ด้านความปลอดภัย
ส่งเสรมและสนับสนุน
การรวมประสานและ
บูรณาการระบบ
ความปลอดภัยอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
โครงสร้างการกํากับดูแลและบริหารความปลอดภัยท่าอากาศยาน
ระดับองค์กร
กรรมการผู้อํานวยใหญ่เป็นประธานคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยท่าอากศยาน ทอท. (Aerodrome Safety Management Committee)
ระดับท่าอากาศยาน
ผู้อํานวยการอากศยานเป็นประธานคณะกรรมการ
ความปลอดภัยระดับท่าอากาศยาน
(Aerodrome Safety Committee)
● จัดทํานโยบายและกําหนดแผนงาน วิธีการปฏิบัติ ระดับความปลอดภัยที่ยอมรับได้ (Acceptable Level of Safety - ALOS) ของ ทอท.
● ให้ข้อเสนอแนะและแก้ปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่กระทบต่อความปลอดภัยการปฏิบัติงานของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ที่เกินขีดความสามารถในการแก้ไขของคณะกรรมการความปลอดภัยระดับท่าอากาศยาน
● ติดตามและเร่งรัดการดําเนินงาน แก้ไขข้อบกพร่องของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง เพื่อสามารถรักษาใบรับรอการดําเนินงานสนามบินสาธารณะ (Public Aerodrome Operating Certificate)
● กําหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยท่าอากาศยานของ ทอท. ทุก 3 เดือน
● สนับสนุนและส่งเสรมการพัฒนาระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน (Safety Management System- SMS) อย่างต่อเนื่อง
● ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัยท่าอากาศยานเป็นเลขานุการ
● กําหนดหน้าที่ให้ดําเนินการกํากับดูแล ติดตามผลการดำเนินงาน บริหารความปลอดภัย ตามระบบการจัดการ ด้านนิรภัยของสนามบิน (Safety Management System - SMS) ที่เป็นไปตามกฎหมายด้านการบินภายในประเทศและมาตรฐานสากล
● ฝ่ายมาตรฐานทําอากาศยานและอาชีวอนามัยประจําท่าอากาศยานหรือส่วนมาตรฐาท่าอากาศยาน และอาชีวอนามัยประจําท่าอากาศยานเป็นเลขานุการ
มาตรการด้านความปลอดภัย
มาตรการด้านความปลอดภัยการจัดการสัตว์ในท่าอากาศยาน
การจัดการสัตว์ในท่าอากาศยานโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาอากาศยานชนนกถือเป็นความท้าทายด้านความปลอดภัยที่เกิดจากปัจจัยด้านพฤติกรรมของสัตว์และสภาวะแวดล้อมที่ดึงดูดสัตว์เข้ามาในพื้นที่ดําเนินการ เหตุการณ์ดังกล่าวจําเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยด้านการบิน ลดความเสียหายต่ออากาศยาน ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทําให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และลดความล่าช้าในการเดินทาง
ทอท. จึงกําหนดให้มีมาตรการดําเนินการในการป้องกันอันตรายจากนกในท่าอากาศยานอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดการแหล่งอาหารที่พักอาศัยและสิ่งดึงดูดนก นอกจากนั้น ทอท. มีมาตรการในการขับไล่นกให้ออกจากพื้นที่ท่าอากาศยานเพื่อไม่ให้นกเกิดความคุ้นเคยกับพื้นที่ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และได้รับการพัฒนาขึ้นภายในองค์กรสอดคล้องตามข้อแนะนําใน ICAO, Doc 9137 Airport Service Manual Part 3 Wild Control and Reduction เช่น ขับไล่ด้วยเสียง การใช้รูปสัตว์นักล่า ซึ่งดําเนินการโดยพนักงานของ ทอท. ที่มีความเชี่ยวชาญด้านปักษีวิทยา
แนวทางการป้องกันอันตรายจากนกและสัตว์ที่เข้ามาในเขตท่าอากาศยาน
- ตรวจประเมินสภาพแวดล้อมและจัดการกับปัจจัยที่ดึงดูดให้นกและสัตว์เข้ามาหากินและอาศัย เช่น รางระบายน้ำ คูน้ำ พื้นที่สนามหญ้าสภาพพื้นดิน แนวรั้วเขตการบินเพื่อป้องกันสัตว์เล็ดลอด จุดเกาะพักของนก จุดพักขยะ เป็นต้น
- การควบคุมและขับไล่สัตว์อันตรายอย่างเข้มงวดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทำการแจ้งเตือนอันตรายจากสัตว์
- ประเมินและจัดระดับความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากนกหรือสัตว์ในสนามบิน จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ประโยชน์ที่ดินในรัศมี 13 กิโลเมตรรอบสนามบิน เช่น บ่อเลี้ยงปลา เกษตกรรม เป็นต้น
- ทบทวนและปรับปรุงมาตรการป้องกันอันตรายจากสัตว์ให้เหมาะสมกับระบบนิเวศและให้เป็นปัจจุบัน
- กำหนดกระบวนการดำเนินการและรายงานเมื่อเกิดกรณีอากาศยานชนสัตว์
การป้องกันอุบัติเหตุทางการบิน เนื่องจากนกและสัตว์บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ทอท. ตระหนักถึงความสําคัญของปัญหาดังกล่าวในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ติดตามและหาแนวทางการป้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำหนดแผนควบคุมการชนนกและสัตว์ (Bird/Wildlife Strike Control Program) ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดมาตรการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- มาตรการระยะสั้น ได้แก่ การตรวจตราพื้นที่ในเขตการบินและขับไล่สัตว์ การตรวจพื้นที่ผ่านระบบ CCTV การรบกวนควบคุมแหล่งพักเกาะและแหล่งอาศัยของนกและสัตว์
- มาตรการระยะกลาง ได้แก่ การใช้สารเคมีชีวภาพกำจัดแหล่งอาหารของนก การควบคุมและป้องกันแหล่งขยายพันธุ์ของนกและสัตว์
- มาตรการระยะยาว ได้แก่ การควบคุมความสูงของหญ้าและการตัดหญ้าในช่วงกลางคืนบริเวณโดยรอบทางวิ่ง ตรวจสอบและตัดทำลายต้นไม้ใหญ่ ปรับพื้นที่จุดที่มีน้ำท่วมขังในเขตการบิน การควบคุมระดับน้ำและการปิดคลุมแหล่งน้ำ
โดย ทอท. จะทำการรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติงานและจัดให้มีการทบทวนแผนงานในแต่ละปีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันอุบัติเหตุทางการบินเนื่องจากนกและสัตว์ในลำดับต่อไป
การควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
ทอท. ดําเนินการตามแนวปฏิบัติงานเฝ้าระวังโรคติดต่อระหว่างประเทศซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุข และกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประสานความร่วมมือกับด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ สถาบันบําราศนราดูร และสํานักระบาดวิทยา สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อควบคุมโรคติดต่อกรณีมีผู้ต้องสงสัย ติดเชื้อในท่าอากาศยาน เช่น เชื้อไวรัส COVID-19 เชื้อไวรัสอีโบลา เชื้อไข้หวัดนกชนิดรุนแรง สายพันธุ์ H7N9 เป็นต้น
ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทอท. ได้จัดทําแผนรับมือทั้งในระยะเตรียมการก่อนการเกิดเหตุ ระยะขณะเกิดเหตุ และระยะหลังเกิดเหตุ เพื่อให้ ทอท. สามารถปฏิบัติงานและให้บริการได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในแต่ละระยะมีมาตรการและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน เช่น มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) มาตรการรักษาความสะอาดของอาคารสถานที่ โดยมีการทําความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสที่ใช้ร่วมกัน (Deep Clean) ให้บริการเจลแอลกอฮอล์ และสบู่ล้างมือตามจุดต่าง ๆ มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อคัดกรองผู้มาปฏิบัติงาน ผู้มาติดต่อและผู้ใช้บริการท่าอากาศยานด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอัตโนมัติ (Auto Thermoscan) โดยต้องมีอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ ทอท. ยังให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการจัดการกับสถานการณ์แพร่ระบาดดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยมีการจัดสรรพื้นที่ท่าอากาศยานให้แก่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อให้สามารถดําเนินการคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้าประเทศได้อย่างทั่วถึงและรัดกุม พร้อมทั้งได้ส่งบุคลากรไปประจํา ณ ศบค. ทําเนียบรัฐบาล เพื่อประสานงานและสามารถดําเนินงานตามมาตรการของรัฐในการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว
มาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและการตรวจพบวัสดุแปลกปลอมบนทางวิ่ง
วัสดุแปลกปลอม หรือ Foreign Object Debris (FOD) เช่น ซากพืช ซากสัตว์ ชิ้นส่วนโลหะที่อยู่ภายในเขตการบิน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่ออากาศยานขณะปฏิบัติการ ดังนั้น ท่าอากาศยานของ ทอท. จึงได้กำหนดมาตรการในการป้องกันและการตรวจพบ FOD บนทางวิ่ง ดังนี้
- ตรวจทางวิ่งและทางขับ (Runway and Taxiway Inspection) จำนวน 6 ครั้งต่อวัน
- ติดตั้งระบบและอุปกรณ์ตรวจจับ FOD บนทางวิ่ง ซึ่งสามารถตรวจทางวิ่งได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
- ตรวจสอบความพร้อมในการทำงานของระบบฯ เป็นประจำ
กรณีตรวจพบ FOD ระบบจะแสดงสัญญาณเตือนและระบุพิกัดวัสดุแปลกปลอมภายในเขตการบิน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติการท่าอากาศยานตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพของวัสดุดังกล่าว และพิจารณาความเร่งด่วนในการจัดเก็บ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความอันตรายต่ออากาศยาน ก่อนดำเนินการจัดเก็บวัสดุแปลกปลอมออกจากทางวิ่ง จากนั้น ผู้ปฏิบัติการฯ ดำเนินการวิเคราะห์สาเหตุการพบเจอวัสดุแปลกปลอมภายในเขตการบินเพื่อระบุแนวทางป้องกันในอนาคต พร้อมบันทึกข้อมูลและเหตุการณ์เข้าสู่ฐานข้อมูลเพื่อเป็นบทเรียน (Lesson Learned) ในแก่ท่าอากาศยานอื่น ๆ ภายใต้ความรับผิดชอบของ ทอท.
มาตรการด้านการรักษาความปลอดภัย
แผนรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน
(Airport Security Plan: ASP)
ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. จัดทําแผนรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานที่สอดคล้องกับแผนรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ (National Civil Aviation Security Programme: NCASP) ที่จัดทําโดยสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยและมาตรฐานสากลขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) เพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัย ณ ท่าอากาศยานยานนั้น ๆ ซึ่งมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่กําหนดอยู่ในแผนรักษาความปลอดภัยสนามบินของแต่ละท่าอากาศยานเป็นมาตรการเชิงป้องกันและมาตรการเชิงรุก โดยมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนมาตรการให้สอดคล้องต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเท่าทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
มาตรการการรักษาความปลอดภัยเชิงรุก
ทอท. กําหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงรุก โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งในและต่างประเทศ เช่น ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล Cyber and Infrastructure Security Centre ประเทศออสเตรเลีย และ Transportation Security Administration (TSA) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรับทราบข้อมูลภัยคุกคาม และนําข้อมูลมาประเมินวิเคราะห์ความเสี่ยง พร้อมแจ้งเตือนท่าอากาศยานภายใต้ความรับผิดชอบของ ทอท. ให้ทราบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือในเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
แผนเผชิญเหตุของสนามบิน
(Airport Contingency Plan: ACP)
ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. จัดทําแผนเผชิญเหตุท่าอากาศยานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน้าที่รับผิดชอบและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตลอดจนวิธีการประสานงานระหว่างผู้ดําเนินงานสนามบิน ผู้ดําเนินการเดินอากาศ ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ ผู้มีอํานาจในการรักษาความสงบภายในท้องที่ สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อการกระทําอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อการบินพลเรือน (Response to Acts of Unlawful Interference) ทั้งนี้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับแผนรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ (National Civil Aviation Security Programme : NCASP) มาตรฐาน กฏระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และเป็นแนวทางในการตอบสนองต่อการกระทําอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบการจัดการด้านนิรภัยของท่าอากาศยาน
(Safety Management System: SMS)
ทอท. กําหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยเชิงรุก โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งในและต่างประเทศ เช่น ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล Cyber and Infrastructure Security Centre ประเทศออสเตรเลีย และ Transportation Security Administration (TSA) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อรับทราบข้อมูลภัยคุกคาม และนําข้อมูลมาประเมินวิเคราะห์ความเสี่ยง พร้อมแจ้งเตือนท่าอากาศยานภายใต้ความรับผิดชอบของ ทอท. ให้ทราบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือในเชิงรุกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
แผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ทอท.
(Aviation Security Quality Control Programme)
ทอท. จัดทำแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยด้านการบินขึ้น เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัย ณ ท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท. โดยกำหนดให้มีกิจกรรมควบคุมคุณภาพ ประกอบด้วย การตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยทั้งระบบ (Security Audit) การตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยเฉพาะด้าน (Security Inspection) การทดสอบการรักษาความปลอดภัย (Security Test) การสำรวจการรักษาความปลอดภัย (Security Survey) โดยได้นำหลักการและแนวทางการตรวจสอบมาจากแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัยภายใน (Internal Auditor) ของ ทอท. เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรตามมาตรฐานสากล
คู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัย และแนวทางปฏิบัติตามระดับภัยคุกคามต่อการบินพลเรือน ทอท.
ทอท. ได้จัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยและแนวทางปฏิบัติตามระดับภัยคุกคามต่อการบินพลเรือน ทอท.ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ใช้เป็นแนวทางการระบุภัยคุกคาม และประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยระดับสนามบิน (Airport Level) ตลอดจนเป็นแนวทางการกำหนดมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงและลดผลกระทบจากความเสี่ยงให้สอดคล้องเหมาะสมตามระดับภัยคุกคามของแต่ละสนามบินให้เป็นไปตามที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยแนะนำ โดย ทอท. ได้ทบทวน แก้ไขปรับปรุงคู่มือฯ ให้มีความทันสมัย เท่าทันต่อสถานการณ์และภัยคุกคามต่อการบินพลเรือนอย่างต่อเนื่อง
การฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุ
ทอท. เตรียมความพร้อมและทดสอบประสิทธิภาพของระบบการจัดการเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน โดยจัดฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุกับส่วนงานภายในที่เกี่ยวข้อง เนื้อหาการฝึกอบรมครอบคลุมความปลอดภัยการบิน (Aviation Safety) และการรักษาความปลอดภัยการบิน (Aviation Security) ตามแนวปฏิบัติของ ICAO ในรูปแบบสถานการณ์จําลองทั้งการฝึกซ้อมแผนแบบเต็มรูปแบบและบางส่วน สอดคล้องตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 82 ว่าด้วยระบบการจัดการด้านนิรภัยสนามบินและแผนรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ ทอท. จัดให้ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุเป็นประจําทุกปีในทุกท่าอากาศยาน โดยสถานการณ์จําลองแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละท่าอากาศยาน เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและพัฒนาระบบการตอบสนองและประสานงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความเสียหายน้อยที่สุด
การประเมินผลการจัดการ
กลไกที่ ทอท. และรัฐใช้ในการกํากับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของท่าอากาศยานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของรัฐและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการคือการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยทั้งในด้านกายภาพและการปฏิบัติงาน
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- ระดับสนามบิน (Self Audit)
ส่วนงานมาตรฐานท่าอากาศยานของแต่ละท่าอากาศยานดําเนินการตรวจสอบด้านมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสนามบิน
- ระดับองค์กร (Internal Audit)
ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัยท่าอากาศยาน ทอท. จะตรวจสอบภายในด้านมาตรฐานควาปลอดภัยของทุกสนามบินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และกํากับดูแลด้านความปลอดภัยของสนามบิน ทอท. ในภาพรวม รวมทั้งดําเนินการติดตามรายงานสถิติความไม่ปลอดภัย กําหนดระดับของความเสี่ยง (Level of Risk) และหาแนวทางในการลด / ควบคุมระดับความเสี่ยงดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทางปฏิบัติ (As Low As Reasonable Practicable – ALARP) โดยผ่านคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยท่าอากาศยานของ ทอท. ซึ่งทําให้เชื่อมั่นได้ว่าข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยจะได้รับการแก้ไข อีกทั้งการดําเนินงานด้านความปลอดภัย (Safety Performance) จะเป็นไปตามตัวชี้วัด (Safety Indicator) และเป้าหมายด้านความปลอดภัย (Safety Target) ที่ ทอท. กําหนดไว้
- ระดับรัฐ (State Audit)
สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) สังกัดกระทรวงคมนาคมทําหน้าที่ในการตรวจสอบและกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของสนามบินในความรับผิดชอบของ ทอท. เป็นประจําทุกปี รวมถึงพิจารณาให้ความเห็นและข้อแนะนําแก่ ทอท. ในด้านความปลอดภัยอีกด้วย ทั้งนี้ รัฐเองก็ได้รับการตรวจสอบจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ในการตรวจสอบติดตามการดําเนินการภายใต้โครงการตรวจสอบการกํากับดูแลด้านความปลอดภัยสากล (Universal Safety Oversight Audit Program: USOAP)
การประกันความปลอดภัยอื่น ๆ (Safety Assurance) ได้แก่ การดําเนินงานป้องกันอันตรายที่เกิดจากสัตว์ โดยการสํารวจและประเมินอันตรายจากนกและสัตว์อันตรายในเขตการบิน (Airside) การสํารวจระบบนิเวศทั้งภายในและโดยรอบท่าอากาศยาน ความปลอดภัยที่ยั่งยืนไม่สามารถใช้กฎระเบียบมาบังคับเพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่าง ทอท. กับผู้มีส่วนได้เสียอย่างจริงใจและต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้ ทอท. ได้ปลูกฝังอยู่ในค่านิยมขององค์กร หรือ Core Value 5 ใจ คือ ให้ใจ มั่นใจ ร่วมใจ เปิดใจ และภูมิใจ เพื่อให้หน่วยงานผู้มีส่วนได้เสียเห็นถึงความตั้งใจของ ทอท. ในการบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในทุก ๆ ด้าน
การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน (e-Security)
ทอท. ได้พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน (e-Security) ในการจัดเก็บข้อมูลประวัติบุคคล การปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกัน การออกบัตรอนุญาตบุคคล การจัดเก็บสถิติ การควบคุมคุณภาพการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยและหลักสูตรฝึกอบรมด้านการรักษาความปลอดภัยมีขั้นตอนการดำเนินงานที่รัดกุมและปลอดภัย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่พนักงาน ทอท. และมุ่งเน้นในการรักษาความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้บริการ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ภายในท่าอากาศยาน
ระบบได้พัฒนาต่อยอดและแก้ไขปัญหาจากกระบวนการทำงานของระบบเดิม และพัฒนา/ปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัยปัจจุบัน ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลทางผ่านเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) หรือโมบายแอปพลิเคชัน (Native Mobile Application) อีกทั้ง มีการปรับปรุงข้อมูลประวัติบุคคลข้อมูลผู้กระทำความผิด ทั้งเรื่องประวัติบุคคลและประวัติยานพาหนะที่เข้ามาในพื้นที่ของ ทอท. รองรับการใช้งานทั้งแบบรวมศูนย์ (สามารถเข้าถึงข้อมูลของทุกท่าอากาศยาน) และแยกแต่ละท่าอากาศยาน ซึ่งจะมีระบบพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งาน (Authentication) เป็นรายบุคคล โดยผู้ใช้งานแต่ละคนมีชื่อผู้ใช้งาน (User name) และรหัสผ่านส่วนบุคคล (Password) ที่สามารถเข้าใช้งานระบบฯ ได้ตามสิทธิที่ได้รับเท่านั้น ทำให้สามารถตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทั้งภายในระบบและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก ส่งผลให้ท่าอากาศยานของ ทอท. มีความปลอดภัยและได่รับความไว้วางใจจากผู้โดยสารหรือสายการบินที่มาใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยระบบดังกล่าวจะสามารถเริ่มใช้งานได้ในช่วงต้นปี 2565
นอกจากนี้ ปัจจุบัน ทอท. อยู่ระหว่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการระบุเอกลักษณ์บุคคล Biometric ผ่านลายนิ้วมือ ระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่หวงห้าม (Access Control System - ACS) เป็นต้น มาใช้ในการคัดกรองและตรวจสอบบุคคล เพื่อสร้างความปลอดภัยและช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารและผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการในท่าอากาศยาน โดยมีแผนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในทุกท่าอากาศยาน รวมทั้งสำนักงานใหญ่ ภายในปี 2566
การส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
ทอท. ได้พัฒนาระบบสารสนเทศด้านการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน (e-Security) ในการจัดเก็บข้อมูลประวัติบุคคล การปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกัน การออกบัตรอนุญาตบุคคล การจัดเก็บสถิติ การควบคุมคุณภาพการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยและหลักสูตรฝึกอบรมด้านการรักษาความปลอดภัยมีขั้นตอนการดำเนินงานที่รัดกุมและปลอดภัย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่พนักงาน ทอท. และมุ่งเน้นในการรักษาความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้บริการ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ภายในท่าอากาศยาน
ระบบได้พัฒนาต่อยอดและแก้ไขปัญหาจากกระบวนการทำงานของระบบเดิม และพัฒนา/ปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัยปัจจุบัน ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลผ่านทางเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) หรือโมบายแอปพลิเคชัน (Native Mobile Application) อีกทั้งมีการปรับปรุงข้อมูลผู้กระทำผิด ทั้งเรื่องประวัติบุคคล และประวัติยานพาหนะที่เข้ามาในพื้นที่ของ ทอท. รองรับการใช้งาน ทั้งแบบรวมศูนย์ (สามารถเข้าถึงข้อมูลของทุกท่าอากาศยาน) และแยกแต่ละท่าอากาศยาน ซึ่งจะมีระบบพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งาน (AUthentication) เป็นรายบุคคล โดยผู้ใช้งานแต่ละคนมีชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password) ที่สามารถเข้าใช้งานระบบฯ ได้ตามสิทธิ์ที่ได้รับเท่านั้น ทำให้สามารถตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ ทั้งภายในและภายนอก ส่งผลให้ท่าอากาศยานของ ทอท. มีความปลอดภัยและได้รับความไว้วางใจจากผู้โดยสารหรือสายการบินที่มาใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยระบบดังกล่าวเริ่มใช้งานได้ในช่วงปลายปี 2565
นอกจากนี้ ปัจจุบัน ทอท. อยู่ระหว่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการระบุเอกลักษณ์บุคคล Biometric ผ่านลายนิ้วมือ ระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่หวงห้าม (Access Control System - ACS) เป็นต้น มาใช้ในการคัดกรองและตรวจสอบบุคคล เพื่อสร้างความปลอดภัยและช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารและผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการในท่าอากาศยาน โดยมีแผนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในทุกท่าอากาศยานรวมสำนักงานใหญ่ ภายในปี 2566
การส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
ทอท. มีโครงสร้างการดําเนินงานด้านความปลอดภัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น คณะกรรมการด้านความปลอดภัยระดับองค์กรและระดับท่าอากาศยานที่ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกท่าอากาศยาน โดยจัดให้มีการประชุมหารือตามวงรอบที่กําหนด เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบุอันตราย ประเมินและลดความเสี่ยงในการเกิดความไม่ปลอดภัยร่วมกัน รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยร่วมกันโดยการถ่ายทอด สื่อสาร ให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย เช่น วัฒนธรรมการรายงานทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจ การฝึกอบรมด้านความปลอดภัย การกำหนดแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ทอท. (Aviation Security Training Programme: ASTP) การจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย (Safety Promotion) ร่วมกันกับการประสานความร่วมมือ และการปลูกฝังค่านิยม (Core Value) ด้านความปลอดภัยให้กับพนักงาน เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือ เครื่องใช้อุปกรณ์ก่อนปฏิบัติงาน การสังเกต แจ้งเตือน และรายงานแก้ไขเมื่อเห็นว่าอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัย เป็นต้น
แผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ทอท.
ทอท.ได้จัดทำแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ทอท. ขึ้นตามข้อกำหนดในแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ และแผนฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎี/ภาคปฏิบัติ ฝึกอบรมแบบปฏิบัติงานจริง (On-the-Job Training) และทดสอบวัดผลในมาตรฐานเดียวกัน โดยวิทยากรการรักษาความปลอดภัยด้านการบินที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หลักสูตรที่บรรจุอยู่ในแผนฝึกอบรมฯ ประกอบไปด้วยหลักสูตรสำรับพนักงานใหม่ (Initial Training) หลักสูตรฝึกอบรมทบทวน (Recurrent Training) หลักสูตรผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน (Supervisor) หลักสูตรสำหรับผู้จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Manager) หลักสูตรวิทยากรด้านการรักษาความปลอดภัย (Instructor) หลักสูตรผู้ตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัยภายใน (Internal Inspector) และหลักสูตรเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Awareness) ให้กับผู้ที่ปฏิบัติงาน ณ ท่าอากาศยาน ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทอท. ได้จัดทำหลักสูตรต่าง ๆ ในแผนฝึกอบรมฯ ในรูปแบบ E-Learning เช่น หลักสูตรเพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Awareness)
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2566