SDG-17 th

พันธมิตรทางธุรกิจ

icon stakeholder

ลูกค้า

icon stakeholder

พันธมิตรทางธุรกิจ

icon stakeholder

ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน

ความสำคัญ

การสร้างพันธมิตรระหว่างท่าอากาศยาน นับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรและกลุ่มอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจผ่านบริษัทร่วมทุน ยังเป็นการต่อยอดความสามารถทางการแข่งขันให้กับองค์กรโดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของทุกฝ่าย ซึ่งนำไปสู่การยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า โอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นของพันธมิตร และความน่าดึงดูดที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับนักลงทุน ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์จากพันธมิตร เช่น บริษัทร่วมทุน อาจต้องคำนึงถึงความโปร่งใส และการเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมสำหรับผู้ประกอบการอื่น ๆ

ความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยานและสมาคมทางธุรกิจ

ทอท. กําหนดแนวทางการร่วมมือระหว่างท่าอากาศยานภายใต้โครงการการจัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement : SAA) และสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airports Council International : ACI) ซึ่งรับผิดชอบโดยสํานักกิจการต่างประเทศ สายงานยุทธศาสตร์ในการดําเนินงานตามแผนแม่บทด้านกิจการระหว่างประเทศของ ทอท. ปีงบประมาณ 2561 - 2567 (AOT International Business Development Master Plan) ที่มุ่งขยายขอบเขตการดําเนินธุรกิจไปยังต่างประเทศ ตามกลยุทธ์ 7.1 การพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศภายใต้แผนวิสาหกิจของ ทอท.

pic01
pic02

โครงการการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement : SAA)

โครงการการจัดทําบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน เป็นกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือกับท่าอากาศยานพันธมิตร เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน และการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานท่าอากาศยาน รวมถึงองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้มาตรฐานสากล โดยแบ่งกิจกรรมหลักภายใต้กรอบความร่วมมือออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่

กิจกรรมหลักภายใต้การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน


การประชุมร่วมกันเป็นประจำ

เป็นการประชุมของผู้บริหารระดับสูงเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในแต่ละปี และเพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการบริหารงานท่าอากาศยาน


การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร

เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ เช่น การบริหารจัดการขยะจากอากาศยาน อัตราค่าเช่าพื้นที่ ระบบการรักษาความปลอดภัย และการสำรวจการใช้รถดับเพลิง เป็นต้น

การส่งเสริมการตลาดร่วมกัน

เป็นการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มปริมาณเที่ยวบิน และการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างท่าอากาศยานของ ทอท. และท่าอากาศยานภายใต้ SAA

การดำเนินกิจกรรมร่วมกัน

เป็นการเยี่ยมชมท่าอากาศยานเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (Airport Visit) และการฝึกปฏิบัติงาน (On-the-Job Training)

องค์กรที่ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน กับ ทอท.

ทอท. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement : SAA) กับองค์กรที่บริหารท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2552 โดยปัจจุบันมีองค์กรที่ได้จัดทำ SAA ร่วมกับ ทอท. จำนวนทั้งสิ้น 13 องค์กร ครอบคลุม 17 ท่าอากาศยาน จาก 10 ประเทศ
ในปี 2563 ทอท. ได้บรรลุข้อตกลงในการเจรจาร่วมกับบริษัท IGA Havalimani Isletmesi A.S. ซึ่งเป็นผู้บริหารท่าอากาศยาน อิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมการจัดให้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยานต่อไป โดยมีกิจกรรมที่สำคัญภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน ดังต่อไปนี้

การประชุมกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (CEO) และผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) ระหว่าง ทอท. และท่าอากาศยานมิวนิก สหพันธรัฐเยอรมนี ผ่านระบบออนไลน์

  1. การประชุม The 8th Beijing Global Friendly Airports CEO Forum ของท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบออนไลน์
  2. การจัดส่งพนักงานไปเป็นวิทยากร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
  3. การริเริ่มโครงการ Safe Corridor Initiative ที่ดำเนินงานร่วมกันระหว่าง ทชร.กับ ท่าอากาศยานอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี
  4. การประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง ทอท.กับ บริษัท Narita International Airport Corporation ประเทศญี่ปุ่น ณ สนญ.ทอท.
  5. การประชุมระหว่าง ทอท. กับ Airports Company South Africa (ACSA) ในรูปแบบออนไลน์ ในหัวข้อเรื่อง Subsidiaries และ Non-Aeronautical Revenue
  6. การจัดส่งผู้แทนเป็นวิทยากร (Guest Speaker) ในการประชุม The 5th Annual World Aviation Conference 2021 ในหัวข้อ “ช่องทางการเพิ่มรายได้ที่หลากหลายสำหรับการดำเนินธุรกิจสนามบินในอนาคตผ่านช่องทางการขายปลีกและระบบโลจิสติกส์ (Increasing and Diversifying Airport Revenue for future business : Retail and Logistics)” ซึ่งจัดโดย Incheon International Airport Corporation (IIAC) ผ่านวีดิทัศน์ทางไกล (VDO Conference) จากเมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี
  7. การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างท่าอากาศยานพันธมิตร อาทิ เรื่องการบริหารจัดการเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและสายการบิน เป็นต้น
  8. การประชุมเชิงอภิปราย AOT Sister Airport CEO Forum
ACI

สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ
(Airports Council International: ACI)

สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ เป็นสมาคมการค้าของท่าอากาศยานทั่วโลกเพื่อ สนับสนุนความร่วมมือและดูแลผลประโยชน์ของท่าอากาศยาน สมาชิก รวมถึงพันธมิตรการบินทั่วโลก ผ่านมาตรฐานและนโยบายที่ พัฒนาขึ้นในด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้บริการ ระบบสารสนเทศ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงจัดการจัดฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีเป็นประจํา

ทอท. เป็นสมาชิก ACI ตั้งแต่ปี 2534 และได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนท่าอากาศยานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความปลอดภัยท่าอากาศยาน การรักษาความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ทรัพยากรมนุษย์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศท่าอากาศยาน และการจัดสรรตารางการใช้ท่าอากาศยาน (Slot) รวมถึงได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะทำงานเฉพาะกิจด้านโควิด-19 ซึ่งการได้รับบทบาทเหล่านี้ใน ACI นับเป็นการเพิ่มโอกาสในการกําหนด ทิศทางการดําเนินงานทั้งระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อโอกาสทางธุรกิจ การตลาด และการเป็นผู้นําด้าน การให้บริการท่าอากาศยานให้กับ ทอท. อีกหนึ่งกิจกรรมเด่นที่ร่วมกับ ACI ในปี 2564 คือ การรับรอง ACI Airport Health Accreditation (AHA) ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินงานด้านการควบคุมโรคติดต่อที่เป็นไปตามมาตรฐานของ ICAO Council Aviation Restart Task Force (CART) ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

การสนับสนุนเชิงนโยบายแก่องค์กรภายนอก

ทอท. เปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนองค์กรภายนอกทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างโปร่งใสเป็นประจําทุกปีในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อแสดงความโปร่งใสในการดําเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ดี

ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน

ทอท. กําหนดโครงการส่งเสริมความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชนอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้วัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดยมีโครงการเด่น ดังนี้

ความร่วมมือกับภาครัฐในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC)

สืบเนื่องจากประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ในปี 2565 ทอท. จึงร่วมเป็นอนุกรรมการในการจัดงาน โดยประสานร่วมมือกับภาครัฐในการอำนวยความสะดวกในการเดินทางและประชาสัมพันธ์ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต

covid-airport

ความร่วมมือกับภาครัฐและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ทอท. ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ เพื่อจัดการกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี เช่น

  • ทอท. จัดสรรพื้นที่ท่าอากาศยานให้แก่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เพื่อการคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้าประเทศได้อย่างทั่วถึงและรัดกุม และการส่งบุคลากรไปประจําที่ ศบค. ณ ทําเนียบรัฐบาล เพื่อประสานงานและดําเนินงานตามมาตรการของรัฐในการรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
  • ทอท. ได้ช่วยสนับสนุนการดําเนินงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมผ่าน AOT Airports Application เพื่อติดตามกลุ่มผู้โดยสารที่ต้องกักตัว 14 วัน และได้ทําการบูรณาการแบบฟอร์ม ตม.8 เข้ามาในแอปพลิเคชันเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วของกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง
  • ทอท. สนับสนุนงบประมาณ 21 ล้านบาท ให้แก่กรมควบคุมโรค เพื่อจัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิทางร่างกายชนิดอินฟราเรด (Thermos can) ยี่ห้อ FLIR รุ่น T620 จํานวน 17 เครื่อง ให้กับด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศของท่าอากาศยานภายใต้การกํากับดูแลของ ทอท.
  • ทอท. ได้จัดโครงการ “หน้ากาก Face Shield แทนความห่วงใย จากแนวหลังสู่แนวหน้า” โดยเชิญชวนให้พนักงานร่วมจัดทําหน้ากาก Face Shield ให้แก่พนักงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงที่ต้องมีการติดต่อกับบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก และได้ส่งมอบหน้ากาก Face Shield กว่า 4,700 ชิ้น ให้แก่พนักงาน ลูกจ้าง ทอท. และหน่วยงานที่อยู่ใกล้เคียง ทอท. เช่น สถานีตํารวจนครบาลดอนเมือง สํานักงานเขตดอนเมือง เป็นต้น
  • ท่าอากาศยานดอนเมืองจัดตั้งโรงพยาบาลสนามพลังแผ่นดินแห่งที่ 3 มีชื่อว่า “โรงพยาบาลสนามใต้ร่มพระบารมี” ณ คลังสินค้าขาออกที่ 4 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณผู้ป่วยที่รอรับการรักษามีจำนวนมากโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนาม (ชั่วคราว) เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง

ความร่วมมือกับภาคเอกชน

โครงการศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งออก (Preshipment Inspection Center)

ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศผ่านทางเขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จํานวน 1.5 ล้านตันต่อปี โดยร้อยละ 10 ของสินค้าทั้งหมดเป็นสินค้า การเกษตรซึ่งมีความเข้มงวดในการตรวจสอบการนําเข้าสินค้า ณ ประเทศปลายทาง ทำให้สินค้าเน่าเสียง่ายบางส่วนที่ไม่ผ่านมาตรฐานถูกปฏิเสธการนำเข้าและถูกกำจัด ทำให้เสียค่าใช้จ่ายทั้งในการขนส่งและกำจัด เพื่อลดความสูญเสียดังกล่าวและสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตร

ทอท. จึงร่วมมือกับ บริษัท ทาฟ่า คอนซอร์เที่ยม จำกัด (Tafa Consortium) จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท ท่าอากาศยานไทย ทาฟ่า โอเปเรเตอร์ จำกัด (AOT TAFA Operator Co.,Ltd. : AOTTO) เพื่อจัดทําโครงการศูนย์ตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนส่งออก หรือ Preshipment Inspection Center (PSI) เดิมเรียกว่า Certify Hub มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยตรวจสอบคุณภาพสินค้าการเกษตรก่อนส่งออกไปยังประเทศปลายทางที่ได้มาตรฐานสากล

สถานที่สำหรับเตรียมสินค้าเกษตร และสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านทางช่องทางพิเศษ (PPL) ซึ่งดำเนินการโดย AOTTO มีการให้บริการ ดังต่อไปนี้

  1. การจัดเตรียมสินค้าให้พร้อมก่อนขึ้นอากาศยาน (Ready for Carriages)
  2. การนําสินค้าส่งมอบให้กับอาคารขนถ่ายสินค้าภายใต้การจัดการด้านการควบคุมอุณหภูมิ (Cool Chain Transportation)
  3. การตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้าตามมาตรฐานการเป็นตัวแทนควบคุม (Regulated Agent: RA) และการเป็นตัวแทนควบคุมสําหรับประเทศที่สาม (RA3)

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2566