อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ของผู้ปฏิบัติงาน
ลูกค้า
พันธมิตรทางธุรกิจ
หน่วยงานกำกับดูแล
บุคลากรของ ทอท.
ชุมชนและสังคม
การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการปฏิบัติการของท่าอากาศยานล้วนอาศัยพนักงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น ผู้รับเหมา และคู่ค้า ดังนั้นการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทรัพยากรอันมีค่าขององค์กรเหล่านี้ หากปราศจากการดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานที่ดีแล้ว อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่นำไปสู่การบาดเจ็บและสูญเสียบุคลากรที่เป็นพนักงานและผู้รับเหมา และยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการให้บริการลูกค้า เกิดผลกระทบต่อชุมชน รวมถึงละเมิดข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแลต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิในการมีชีวิตและความปลอดภัยอีกด้วย
นโยบายและแนวทางการจัดการ
ทอท. ดําเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางานของผู้มีส่วนได้เสีย จึงกําหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน คู่มือระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานสําหรับผู้รับเหมา เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติให้กับพนักงานและลูกจ้าง ตลอดจนผู้รับเหมาของ ทอท. ทุกคน ซึ่งครอบคลุมทุกท่าอากาศยานและสํานักงานใหญ่
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
แนวทางการจัดการ
ทอท. ให้ความสําคัญกับสภาพแวดล้อมการทํางานที่ปลอดภัย ถูกหลักอาชีวอนามัย ปราศจากอันตรายและอุบัติเหตุในทั้ง 6 ท่าอากาศยานและสํานักงานใหญ่ โดยถือเป็นหลักพื้นฐานสําคัญของการดําเนินงานท่าอากาศยานซึ่งบุคลากรทุกคนที่ทํางานภายในพื้นที่รับผิดชอบของทอท. ต้องปฏิบัติตาม ปัจจุบันระบบการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของ ทอท. ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 เรียบร้อยแล้วทั้งในส่วนของสํานักงานใหญ่และท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ซึ่งระบบการจัดการฯ ดังกล่าวจะทําให้การบริหารจัดการงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของ ทอท. มีความปลอดภัยและมีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐานระดับสากล
หน้าที่ความรับผิดชอบ
ทอท. กำหนดให้ 6 ท่าอากาศยานและสำนักงานใหญ่ มีผู้รับผิดชอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ดังนี้
กรรมการผู้อํานวยการใหญ่
กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์
และเป้าหมายด้านอาชีวอนามัย
แต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน
ที่เกี่ยวข้องจัดสรรทรัพยากร
ตลอดจนติดตามและควบคุมการดำเนินงาน
คณะกรรมการบริหารระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
สนับสนุนการทบวนระบบการจัดการ
ทบทวนการชี้บงและประเมินความเสี่ยง
และร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย
และโครงการด้านอาชีวอนามัย
คณะกรรมการบริหารระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ควบคุมการปฏิบัติตามกฎหมาย นโยบาย
และแนวทางการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัย
อนุมัติโครงการ กำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
ผู้แทนฝ่ายบริหารระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
กํากับดูแลงานในระบบการจัดการ
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
เป็นผู้ตรวจสอบภายใน
พร้อมรายงานผลการจัดการต่อผู้บริหาร
คณะกรรมการความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม
ในการทํางาน (คปอ.)
พิจารณานโยบายและกำหนดแผนงาน
พร้อมเสนอแนะมาตรการณ์และโครงการ
สำรวจความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
ในการทำงานตรวจสอบสถิติด้านอาชีวอนามัยและรายงานผลการปฏิบัติการ
ประจำปีต่อผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
ดูแลความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม
ในพื้นที่หน้างาน ตรวจสอบสภาพเครื่องมือและ
อุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน ให้ความรู้
รายงานการประสบอันตรายและเจ็บป่วย
และสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัย
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ของ ทอท. ทําหน้าที่ 11 ประการตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549 โครงสร้าง คปอ. ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการความปลอดภัย (นายจ้างแต่งตั้ง) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ (จป.วิชาชีพ) ทําหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการกรรมการผู้แทน นายจ้างระดับบังคับบัญชา (นายจ้างแต่งตั้ง) และกรรมการผู้แทนลูกจ้างทุกระดับ (มาจากการเลือกตั้ง) จัดประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อรับทราบผลการดําเนินงานและชี้แนะมาตรการด้านอาชีวอนามัยต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
Standard Operation Procedure
ทอท. ได้กำหนด Standard Operation Procedure เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานอย่างมีระบบ และกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานฯ จัดการประชุมกับฝ่ายบุคคลและจัดการประชุมกับคณะกรรมการเพื่อรายงานสถานการณ์ดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ
Standard Operation Procedure ของ ทอท. ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
- การบ่งชี้อันตราย และประเมินความเสี่ยง
- การจัดการอันตรายจากปัจจัยเชิงจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคมในการทำงาน
- การจัดการความสอดคล้องของกฎหมายและข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
- การกำหนดวัตถุประสงค์ และแผนบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
- การกำหนดความสามารถ การฝึกอบรม และความตระหนัก
- การสื่อสาร การมีส่วนร่วม และการให้คำปรึกษา
- การควบคุมเอกสาร และบันทึก
- การควบคุมการปฏิบัติ
- การจัดการความเปลี่ยนแปลง
- การควบคุมการจัดซื้อจัดจ้าง และผู้รับจ้าง
- การเตรียมความพร้อม และตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
- การตรวจสอบการปฏิบัติด้านความปลอดภัย
- การติดตาม ตรวจสอบ และวัดผลการปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- การตรวจประเมินระบบการจัดการ
- การทบทวนระบบการจัดการโดยฝ่ายบริหาร
- การสอบสวนอุบัติเหตุ และอุบัติการณ์
- การแก้ไข และป้องกัน
ภาพรวมของการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน
การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง
ภายใต้มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัย ISO 45001:2018 ในส่วนของการวางแผน ทอท. มีกระบวนการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมและสภาพแวดล้อมการทำงาน พร้อมดำเนินการทบทวนเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง รับผิดชอบโดยผู้รับผิดชอบของแต่ละส่วนงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย พร้อมรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและผู้บริหารระดับสูงผลลัพธ์จากการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงถูกใช้ในการกำหนดมาตรการจัดการ ซึ่ง ทอท. มีการคำนึงถึงลำดับขั้นในการควบคุมความเสี่ยง (Hierarchy of Controls) ดังนี้
การคำนึงถึงลำดับขั้นในการควบคุมความเสี่ยง
(Hierarchy of Controls)
ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานพบเห็นสภาพแวดล้อมการทํางานที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับสามารถมีส่วนร่วมในการรายงานความเสี่ยงและข้อกังวลที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อต่อ คปอ. เพื่อดําเนินการประเมินและติดตามแก้ไข โดยถือว่าการรายงานเกี่ยวกับอุบัติการณ์อันตรายความเสี่ยงและโอกาสเป็นการรายงานเพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การสอบสวนอุบัติการณ์
กรณีที่มีอุบัติการณ์เกิดขึ้น ทอท. มีกระบวนการในการสอบสวนอุบัติการณ์ดังนี้
การตรวจประเมินสภาพแวดล้อมการทํางาน
ทอท. กําหนดการตรวจประเมินสภาพแวดล้อมในการทํางานของพนักงานและลูกจ้างเป็นประจํา ซึ่งรับผิดชอบโดยหน่วยงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละท่าอากาศยานในการตรวจติดตามสภาพแวดล้อมในการทํางานให้มีความสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมการทํางานที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง เสียง ฝุ่นละออง และเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในอากาศ เป็นต้น
การบริการทางการแพทย์
ทอท. มีคลินิกสํานักแพทย์ประจําทุกท่าอากาศยาน รวมถึงสํานักงานใหญ่ เพื่อตรวจรักษาเบื้องต้นให้แก่พนักงานและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ของ ทอท. กรณีเจ็บป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน และ ทอท. กําหนดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานประจําปีและมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้แก่พนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานของ ทอท.ทุกคนมีสุขภาพและการดูแลตัวเองที่ดี
การอบรมสําหรับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะสูง
ตามข้อกําหนดของ ทอท. ผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงเฉพาะจําเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมและ / หรือมีใบอนุญาตในการทํางาน อาทิ การใช้ปั้นจั่น รถยก (Forklift) การทํางานบนที่สูง การทํางานในพื้นที่หวงห้ามหรือมีเชื้อเพลิง การทํางานในที่อับอากาศ การทํางานที่ต้องใช้สารเคมี อันตราย การทํางานเกี่ยวกับรังสี หรือการทํางานที่เกิดความร้อนและประกายไฟ เช่น การตัดเชื่อมเจียร เป็นต้น
ความปลอดภัยของผู้รับเหมา
ฝ่ายความปลอดภัยในการทํางานและอาชีวอนามัยของ ทอท. จัดทําและเผยแพร่ข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานสําหรับผู้รับเหมา เพื่อใช้เป็นแนวทางการดําเนินงานด้านความปลอดภัยในการทํางานที่ถูกต้องและสอดคล้องตามกฎหมายกําหนด รวมทั้งยังเป็นการควบคุมความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่ของ ทอท. และเป็นการผลักดันผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทุกคนรวมถึงผู้รับเหมาภายนอก ทั้งนี้ ทอท. กําหนดเงื่อนไขการปฏิบัติงานของผู้รับเหมาที่สอดคล้องตามข้อกําหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าไว้อย่างชัดเจนในข้อกําหนดรายละเอียดงานจ้าง (Term of Reference: TOR) และทําการสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานถึงข้อควรปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยก่อนเริ่มดําเนินงานทุกครั้ง ปัจจุบัน ทอท. กําหนดให้ผู้รับเหมาจําเป็นต้องรายงานสถิติและผลการดําเนินงานด้านความปลอดภัยเป็นประจําทุกเดือนผ่านระบบสารสนเทศในการจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัยสําหรับผู้รับเหมา โดยมีแนวปฏิบัติซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ทอท. ส่งเสริมความปลอดภัยและสนับสนุนวัฒนธรรมทางด้านความปลอดภัยในองค์กร โดยจัดให้มีการฝึกอบรมและโครงการรณรงค์เพื่อให้ความรู้ด้านความปลอดภัยแก่พนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบันด้านมาตรฐานความปลอดภัยเบื้องต้นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น ความปลอดภัยพื้นฐานในท่าอากาศยานและแผนฉุกเฉิน การซ้อมหนีไฟรวมไปถึงการฝึกอบรมด้านระบบ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยนอกเหนือจากที่กฎหมายกําหนด อาทิ การอบรมเพื่อดําเนินงานตามมาตรฐานระดับสากล ISO 45001:2018 และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ควบคุมงานเพื่อกํากับดูแลผู้รับเหมา เป็นต้น
โครงการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟเป็นกิจกรรมด้านความปลอดภัยภาคบังคับที่ ทอท. จัดขึ้นเป็นประจําทุกปีในทุกท่าอากาศยานและสํานักงานใหญ่ ตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2555 เพื่อให้พนักงานทุกคนรับทราบแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และเพิ่มความชํานาญในการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบส่วนต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
การประเมินผลการจัดการ
ทอท. จัดให้มีการตรวจประเมินตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หน่วยงานภายใน (Internal Audit) โดยฝ่ายความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ร่วมด้วยคณะผู้ตรวจประเมินภายภายในจากทุกส่วนงานที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ตรวจประเมิน และการตรวจประเมินโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก (External Audit) ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018 หน่วยงานความปลอดภัยรายงานผลการตรวจรับรองมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้แก่ผู้บริหารระดับสูงเพื่อทบทวนและกำหนดมาตรการสำหรับพัฒนาการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อไป รวมถึงได้เปิดเผยผลการดำเนินงานต่อสาธารณะในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจำทุกปี
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2566