การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ทอท.
ทอท. ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้แนวความคิด “การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน (Corporate Citizenship Airport)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนจากการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างความสัมพันธ์อันดีและความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและต่างประเทศ และสร้างคุณค่าอย่างสมดุลทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
โครงสร้างการกำกับดูแล
ทอท. กำหนดให้คณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน และคณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน (ประจำท่าอากาศยาน) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการธรรมาภิบาล ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
คณะกรรมการธรรมาภิบาล
ประกอบด้วย กรรมการ ทอท. อย่างน้อย 3 ท่าน และอย่างน้อย 1 ท่านเป็นกรรมการอิสระ
- กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืนของ ทอท.
- ส่งเสริมและให้คำแนะนำแนวปฏิบัติที่ดีตามหลักการและแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องและที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
- ส่งเสริมให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนของ ทอท. เป็นไปอย่างบูรณาการ
- ติดตาม ประเมินและทบทวนเกี่ยวกับนโยบาย จรรยาบรรณ ตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดีด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ทอท.
- ติดตาม ทบทวนและประเมินผลเพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ ทอท. พัฒนาสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล ซึ่งครอบคลุมประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนและรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน
ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากทุก
สายงานโดยมีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่เป็นประธาน
- กำหนดแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน อย่างสอดคล้องกับแนวทางมาตรฐานสากลและมาตรฐานประในระดับประเทศ แผนวิสาหกิจของ ทอท. และแผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท.
- กำกับดูแลให้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเป็นไปตามนโยบายและแผนงานของ ทอท.
- กำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาล ซึ่งครอบคลุมประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนและรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืน
(ประจำท่าอากาศยาน)
ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมประจำสำนักงานใหญ่และ
ฝ่ายกิจการพิเศษประจำแต่ละท่าอากาศยาน
- จัดทำและดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างคุณค่าร่วมระหว่างชุมชน สังคม และ ทอท.
- ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนของ ทอท. ซึ่งรวมถึงจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นโยบายการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน
ทอท. กำหนดนโยบายการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล เช่น มาตรฐาน ISO 26000 การประเมินความยั่งยืนองค์กรดัชนีดาวน์โจนส์ (DJSI) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDG) และมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) เป็นต้น โดยนโยบายดังกล่าวมีองค์ประกอบ 6 ส่วนดังนี้
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
ดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล
โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
หลีกเลี่ยงการผูกขาดทางการค้า ผลประโยชน์ ทับซ้อน และการทุจริตทุกประเภท
ความรับผิดชอบต่อผู้ให้บริการและพัฒนานวัตกรรม
ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อส่งมอบบริการที่ดีเหนือความคาดหมาย
สิทธิมนุษยชนและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน
เคารพสิทธิมนุษยชนและให้ความสำคัญในการปฏิบัติต่อแรงงานทั้งในด้านความเท่าเทียมและอาชีวอนามัย ส่งเสริมการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนการส่งมอบคุณค่าร่วมระหว่าง ทอท. และชุมชน
แนวทางการเปิดเผยข้อมูล
เปิดเผยข้อมูลผลการดำเนินงานต่อสาธารณะอย่างโปร่งใสและเชื่อถือได้
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน
ทอท. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อมุ่งมั่นสู่การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน (Corporate Citizenship Airport) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การบริหารจัดการความยั่งยืน (Sustainability Management) |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement) |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Initiatives) |
|
---|---|---|---|
เป้าหมาย | ท่าอากาศยานที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน | ท่าอากาศยานที่ผู้มีส่วนได้เสียให้การยอมรับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืน | สนามบินที่สร้างคุณค่าร่วมให้กับชุมชนและสังคม |
วัตถุประสงค์ | เพื่อพัฒนาสถานะผลประเมินความยั่งยืนและคุณภาพองค์กร รวมถึงบูรณาการแนวปฏิบัติความยั่งยืนกับการดำเนินธุรกิจ | เพื่อสร้างการยอมรับและยกระดับผลกระทบที่ครอบคลุมผู้มีส่วนร่วมได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งชุมชนและสังคม | เพื่อสร้างคุณค่าร่วมกันของธุรกิจชุมชนและสังคมตลอดจนบูรณาการ และขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน |
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กรอบแนวทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ทอท.
ทอท. ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบการดำเนินงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งพัฒนามาจากการวิเคราะห์ผลกระทบ ความเสี่ยง โอกาส และประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่มีต่อองค์กร โดยครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แผนที่การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development Roadmap)
ทอท. กำหนดแผนที่การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบระยะเวลาปี 2558-2566 เพื่อการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Recognition | SD Master Plan | Evolution | Roll Out | Transformation | Corporate Citizenship Airport | Smartest Airport |
---|---|---|---|---|---|---|
2558 | 2559 | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 - 2565 | 2566 |
สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความยั่งยืนของธุรกิจท่าอากาศยาน | พัฒนาแผนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน | สร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิวัฒนาการโดยหน่วยงานนำร่องและการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย | ดำเนินการตามแนวทางความยั่งยืนทั่วทั้งองค์กรและประเมินผลเพื่อออกแบบการบริหารจัดการตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน | ค้นหากลไกการบริหารจัดการความยั่งยืนที่เหมาะสมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง | ปกป้องดูแลชุมชนโดยรอบและส่งเสริมความสามารถในการกำหนดกิจกรรมเพื่อสังคม | ส่งมอบคุณค่าด้านความยั่งยืนของธุรกิจท่าอากาศยานเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน |
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ทอท.
ทอท. มุ่งมั่นส่งมอบคุณค่าการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) 17 ข้อ แห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งกําหนดขึ้นเป็นแนวทางให้ภาครัฐ เอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรอื่น ๆ พิจารณาทบทวนจุดมุ่งหมายขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDG โดย ทอท. ได้เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านความยั่งยืนภายใต้แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท. เข้ากับเป้าหมายดังกล่าว และเปิดเผยการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละเป้าหมายลงในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กรเป็นประจําทุกปี ปัจจุบัน ทอท. มีบริหารจัดการและดำเนินโครงการภายใต้แต่ละประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่าง ๆ ดังนี้
มิติ เศรษฐกิจ | Sub Goals |
---|---|
การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน |
SDG 9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้และเท่าเทียมสำหรับทุกคน SDG 16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ |
ความพึงพอใจของลูกค้า |
SDG 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ ปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้ ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 16.B ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน |
เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม |
SDG 9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้และเท่าเทียมสำหรับทุกคน SDG 9.B สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมภายในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการให้มีสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่นำไปสู่ความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์ |
ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว |
SDG 9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถ |
โครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถในการรองรับ
และโอกาสทางธุรกิจ |
SDG 8.1 ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดให้มีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี SDG 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ ปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้ ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 17.6 เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีประสิทธิผลและมุ่งเป้าในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่ดำเนินการขับเคลื่อนทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี |
ขีดความสามารถในการรองรับและการเข้าถึงท่าอากาศยาน |
SDG 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ ปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้ ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 |
ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน |
SDG 8.1 ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดให้มีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี SDG 8.4 ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมุ่งแยกการเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม (decouple) ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี พ.ศ. 2573 SDG 8.7 ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที เพื่อขจัดแรงงานที่ถูกบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ และยับยั้งและกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก และภายในปี พ.ศ. 2568 ยุติการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบ SDG 8.8 คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย SDG 12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน ให้สอดคล้องกับนโยบายและการจัดลำดับความความสำคัญของประเทศ |
มิติ สิ่งแวดล้อม | Sub Goals |
---|---|
พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
SDG 7.2 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 7.3 ส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโลกให้เพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายในปี 2573 SDG 13.1 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ SDG 13.2 บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการจัดทำแผนระดับชาติ SDG 13.3 พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า |
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(การจัดการน้ำและน้ำเสีย ผลกระทบทางเสียง เศรษฐกิจหมุนเวียน และความหลากหลายทางชีวภาพ) |
SDG 6.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยทั่วโลกให้มากขึ้น ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 6.5 สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการปรับปรุงการจัดการน้ำและการสุขาภิบาล SDG 11.6 ลดผลกระทบเชิงลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากร รวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ และการจัดการขยะชุมชนและของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 12.4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกัน และลดการปล่อยสารเคมีและของเสียสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563 SDG 12.5 ลดการเกิดของเสียอย่างมีนัยสำคัญด้วยการป้องกัน การลดปริมาณการใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 12.6 สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนไว้ในรอบการรายงานของบริษัท |
มิติ สังคม | Sub Goals |
---|---|
ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยาน |
SDG 3.3 ยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ ปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้ ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 11.7 จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้าถึงได้โดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงและเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ภายในปี พ.ศ. 2573 |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน |
SDG 3.3 ยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 8.8 คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย |
สิทธิมนุษยชน |
SDG 10.2 เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 |
งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต |
SDG 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้พิการ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 8.8 คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย |
การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม |
SDG 3.3 ยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 4.4 dเพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็กในสถานการณ์เปราะบาง เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก การชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 4.A สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาที่ตอบสนองความละเอียดอ่อนของเด็ก ความพิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน SDG 7.2 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน SDG 8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้พิการ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับ งานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้พิการ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 8.9 ออกแบบและใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งช่วยสร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 11.6 ลดผลกระทบเชิงลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากร รวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ และการจัดการขยะชุมชนและของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 11.7 จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้าถึงได้โดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงและเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี พ.ศ. 2573 SDG 12.B พัฒนาและดำเนินการใช้เครื่องมือเพื่อติดตามผลกระทบของการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น SDG 14.1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงเศษซากขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568 SDG 15.2 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงเศษซากขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568 SDG 17.17 สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยต่อยอดจากประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านการระดมทรัพยากรของหุ้นส่วน |
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2567