ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจ

ความร่วมมือและพันธมิตรทางธุรกิจ

ความสำคัญ

ความร่วมมือระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุน รวมถึงการพัฒนากระบวนการดำเนินงาน และบริหารจัดการความเสี่ยงในยุคปัจจุบัน เหตุนี้ ทอท.จึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อสร้างส่วนร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจทั้งองค์กรบริหารท่าอากาศยาน คู่ค้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ

เป้าหมายระยะยาว

โครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement: SAA) – ความร่วมมือร่วมกับท่าอากาศยานอื่น ๆ ในหลายภูมิภาคทั่วโลก

Picture1

ความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยานและสมาคมทางธุรกิจ

ทอท.กำหนดแนวทางการร่วมมือระหว่างท่าอากาศยานภายใต้โครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement: SAA) และสร้างส่วนร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airports Council International: ACI) ซึ่งรับผิดชอบโดยสำนักกิจการต่างประเทศ สายงานยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงานตามแผนแม่บทด้านกิจการระหว่างประเทศของ ทอท.ปีงบประมาณ 2561 - 2567 (AOT International Business Development Master Plan) ที่มุ่งขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจไปยังต่างประเทศ ตามกลยุทธ์ 7.1 การพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศภายใต้แผนวิสาหกิจของ ทอท.

>> โครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน

การจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (SAA) เป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับท่าอากาศยานพันธมิตรในการการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และทักษะที่เป็นการพัฒนาขีดความสามารถของ ทอท.ในการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

โครงการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน

>> สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ

สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ACI) เป็นสมาคมการค้าของท่าอากาศยานทั่วโลกที่ก่อตั้งเมื่อปี 2534 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความร่วมมือและดูแลผลประโยชน์ของท่าอากาศยานสมาชิกรวมถึงพันธมิตรการบินทั่วโลก ผ่านมาตรฐานและนโยบายที่พัฒนาขึ้นในด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้บริการ ระบบสารสนเทศ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงจัดการจัดฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีเป็นประจำ

ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน

ทอท.กำหนดโครงการส่งเสริมความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชนอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้วัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยมีหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ดังนี้

>> โครงการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าก่อนส่งออก (Pre-shipment Inspection Center)

ทอท.ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเน่าเสียง่ายก่อนส่งออกในเดือนเมษายน ปี 2562 กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Central Labs ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการของรัฐที่ให้บริการด้านการตรวจวิเคราะห์มาตรฐานสินค้าเน่าเสียง่ายเพียงหน่วยงานเดียวของไทยที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานยุโรป พร้อมได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด และบริษัทเอกชนหลายแห่ง

โครงการดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้เกษรตรกรในประเทศและภูมิภาคอาเซียนสามารถส่งออกสินค้าเน่าเสียง่าย เช่น ผัก ผลไม้ และไม้ดอก ไปยังประเทศในทวีปยุโรปได้มากขึ้น เป็นการลดโอกาสการถูกปฏิเสธการนำเข้าเนื่องจากสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ลดการสูญเสียสินค้า ควบคุมค่าขนส่งและเก็บรักษา และลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งได้

การสนับสนุนเชิงนโยบายให้องค์กรภายนอก

ทอท.เปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนองค์กรภายนอกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างโปร่งใสเป็นประจำทุกปีในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อแสดงความโปร่งใสในการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ดี

รายชื่อองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนเชิงนโยบาย ปี 2562