ยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจ

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

ความสำคัญ

ทอท.ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับความต่อเนื่องทางธุรกิจ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทอท.จึงมุ่งบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างสอดคล้องตามแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งสามารถสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่น หลีกเลี่ยงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากกิจกรรมในการส่งมอบสินค้าและบริการของคู่ค้า และสร้างเสริมภาพลักษณ์อันดีของ ทอท.

นโยบาย

ทอท.ดำเนินการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. จรรยาบรรณว่าด้วยการจัดหาพัสดุ และคู่มือปฏิบัติงานด้านการพัสดุ ซึ่งมีความครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

ทอท.ดำเนินการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. จรรยาบรรณว่าด้วยการจัดหาพัสดุ และคู่มือปฏิบัติงานด้านการพัสดุ ซึ่งมีความครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร

Screen-Shot-2563-03-27-at-17.51.17

สาระสำคัญของแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า

แนวทางการจัดการ

ทอท.ดำเนินการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. จรรยาบรรณว่าด้วยการจัดหาพัสดุ และคู่มือปฏิบัติงานด้านการพัสดุ ซึ่งมีความครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร

1. การคัดกรองและประเมินคู่ค้า

ทอท.บูรณาการข้อกำหนดด้านความยั่งยืนในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าใหม่และการประเมินคู่ค้าปัจจุบัน ซึ่งการคัดเลือกคู่ค้าใหม่จะพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละประเภทสัญญาและประเภทกิจกรรมทางธุรกิจ อาทิ การปฏิบัติตามกฎหมายอาชีวอนามัยและกฎหมายแรงงาน การมีมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม หรือมาตรฐานการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ความซื่อสัตย์ไว้วางใจได้ในการปฏิบัติงาน คุณภาพของงาน ความพร้อมของทรัพยากรในการส่งมอบสินค้าและบริการ โดยจะกำหนดรายละเอียดในข้อกำหนดรายละเอียดการจัดหา (Term of Reference) และกำหนดให้ประเด็นด้านความยั่งยืนยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำหรับพิจารณาคัดเลือกคู่ค้าใหม่และประเมินคู่ค้าปัจจุบัน โดยมีน้ำหนักในการพิจารณาราวร้อยละ 5 – 10 ขึ้นอยู่กับประเภทสัญญาและประเภทกิจกรรมทางธุรกิจของคู่ค้า

Link : แบบประเมินคู่ค้า

2. การรับทราบจรรยาบรรณคู่ค้าอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร

คู่ค้าของ ทอท.ทุกรายจะต้องรับทราบเอกสารแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้าของ ทอท. ซึ่งคู่ค้าต้องทำความเข้าใจและลงนามรับทราบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมเอกสารสัญญาก่อนดำเนินการทำสัญญา

3. การประเมินคู่ค้าหลักและการประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

ทอท.มีกระบวนการภายในสำหรับประเมินคู่ค้าหลักและประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างความตระหนักถึงคู่ค้าที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ วิเคราะห์ประเภทและระดับความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มคู่ค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดมาตรการการจัดการและควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และยังพิจารณาถึงระดับความสำคัญและความเร่งด่วนในแต่ละกลุ่มคู่ค้า โดย ทอท.เปิดเผยผลการประเมินดังกล่าวในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจำทุกปี

    3.1 การประเมินคู่ค้าหลัก

คู่ค้าหลัก (Critical Supplier) หมายถึง คู่ค้าที่ส่งมอบ สินค้า วัตถุดิบ หรือ การบริการ ที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขัน ความสำเร็จในตลาด หรือความอยู่รอดของบริษัท ซึ่งเกณฑ์ในการประเมินคู่ค้าหลักของ ทอท. ประกอบไปด้วย 3 ข้อคำนึงหลัก ได้แก่

  • คู่ค้าที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูง
  • คู่ค้าที่มีน้อยราย
  • คู่ค้าที่ส่งมอบวัตถุดิบที่สำคัญต่อธุรกิจ อาทิ ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างผู้รับเหมาบริการรักษาความปลอดภัย คู่ค้าอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เป็นต้น

คู่ค้าที่ได้รับการประเมินว่าอยู่ในกลุ่มคู่ค้าหลักจะได้รับการจัดลำดับความสำคัญในการติดตาม เพื่อควบคุมผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท

    3.2 การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในกลุ่มคู่ค้า

ทอท.ประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของแต่ละกลุ่มคู่ค้าโดยคำนึงถึงประเด็นด้านการกำกับดูแล สิ่งแวดล้อม สังคม (ครอบคลุมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน) และความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของคู่ค้าในทอดต่อไป (กรณีคู่ค้าเป็นผู้จัดจำหน่ายหรือให้เช่า) ซึ่ง ทอท.ระบุประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่สำคัญในแต่ละมิติ เพื่อทำการพิจารณาระดับผลกระทบรวมถึงโอกาสในการเกิด และนำผลการพิจารณาแต่ละกลุ่มคู่ค้ามาจัดลำดับความสำคัญในรูปแบบตารางประเมินความเสี่ยงคู่ค้า (Seller’s Risk Matrix) เพื่อระบุกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูงและรับทราบมาตรการจัดการที่ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น

ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำมาออกแบบมาตรการจัดการที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มคู่ค้ารวมถึงประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อช่วยให้การควบคุมความเสี่ยงเป็นไปอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

10 กลุ่มคู่ค้าของ ทอท.