ชุมชนและสังคม
ทอท. มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการมีบทบาทสำคัญตอนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมกับการสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียผ่านการดำเนินงานที่มีจริยธรรม โปร่งใส การบริการที่มีคุณภาพและการพัฒนาบุคลากรที่ทุ่มเทและยึดถือค่านิยมหลักขององค์กร นอกจากนี้ ทอท. ยังมุ่งหวังปลูกฝังวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่ยั่งยืน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มขึดความสามารถทางการแข่งขันในทุกมิติอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติงานอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่ยั่งยืน และสดอคล้องกับมาตรฐาน หลักการ และแนวทางที่ได้รับการยอมรับ ทั้งภายในประเทศและระดับสากล อันนำไปสู่การส่งมอบคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท. อย่างยั่งยืน
นโยบายและการจัดการ
ทอท. กําหนดให้ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมร่วมกับส่วนงานที่ดําเนินการด้านกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกท่าอากาศยานเป็นผู้รับผิดชอบดําเนินงาน สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนตามยุทธศาสตร์ที่ 2 การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement) และยุทธศาสตร์ที่ 3 กิจกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Initiatives) ภายใต้แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท. ปี 2559-2562 และส่วนขยายปี 2563-2566 ซึ่งสอดคล้องตามกลยุทธ์ที่ 1.3 การพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ Airport Strategic Positioning ในแผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2560 – 2565) ฉบับทบทวน โดยฝ่ายกิจการเพื่อสังคมมีการจัดประชุมเพื่อรายงานความสถานะการดำเนินงานให้กับคณะกรรมการในทุกไตรมาส นอกจากนี้ ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมได้จัดทำคู่มือกระบวนการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน ที่อ้างอิงตามมาตรฐานและการประเมินระดับสากล เช่น AA1000 Stakeholder Engagement Standard โดย AccountAbility หรื อที่ เรียกกันว่า “AA1000SES”มาตรฐาน ISO 26000 การประเมินความยั่งยืนองค์กรดัชนีดาวน์โจนส์ (DJSI) และมาตรฐาน Global Reporting Initiatives (GRI 2021) เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกท่าอากาศยานได้รับทราบขอบเขตการดำเนินงาน สามารถระบุจุดประสงค์ของการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสีย สามารถระบุผู้มีส่วนได้เสียและจัดลำดับความสำคัญ ตลอดจนเลือกเครื่องมือหรือวิธีการที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียได้ พร้อมอธิบายแนวทางในการเพิ่มศักยภาพชุมชนให้มีความพร้อมสำหรับการเชื่อมโยง แนวทางในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และแนวทางในการสื่อสารผลลัพธ์ของการเชื่อมโยงสู่สาธารณะ
กรอบการดำเนินงานเพื่อส่งมอบคุณค่าแก่สังคม
ทอท. ดําเนินงานตามแนวคิด “การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน” ซึ่งกําหนดกรอบแนวทาง 4 ด้าน ที่เปรียบเสมือนหัวใจหลักในการกําหนดและดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในระดับองค์กรและระดับท่าอากาศยาน ทั้งเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่นยืนดังนี้
การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมและเกิดการรวมกลุ่ม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนเพื่อการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน
การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่ ทอท. เข้าไปดำเนินงานผ่านการส่งเสริมการท่องเที่ยว การค้าขายผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น และการบริการต่าง ๆ ที่เป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
การอนุรักษ์ระบบนิเวศ
การเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมมือกับชุมชนในท้องถิ่นในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ระบบนิเวศเดิมที่ ทอท. ได้เข้าไปดำเนินงานและส่งเสริมการอนุรักษ์ระบบนิเวศของชุมชนใกล้เคียงให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งความปลอดภัยในการบิน
การพัฒนาทุนมนุษย์
การสร้างต้นทุนทางความรู้ ทักษะความสามารถต่งๆ ของคนในท้องถิ่นที่ ทอท. ได้เข้าไปดำเนินการควบคู่กับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชน แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นวัฒนธรรม ประเพณีหรือภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่น
การจัดทำข้อมูลผู้มีส่วนได้เสีย ระดับชุมชน
ทอท. จัดทําฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนทั้ง 6 ท่าอากาศยาน เพื่อระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ประเด็นความคาดหวัง และประเมินแนวทางการมีส่วนร่วม เพื่อนําไปสู่การตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องในระดับชุมชนได้อย่างตรงจุด โดยในปัจจุบันหลักเกณฑ์ในการกําหนดพื้นที่ชุมชนสําคัญของ ทอท. แบ่งออกเป็น 3 หลักเกณฑ์ ได้แก่
- เกณฑ์การกําหนดพื้นที่ตามการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment EIA)
- เกณฑ์การกําหนดพื้นที่ตามแผนฉุกเฉินของท่าอากาศยาน (Airport Emergency Plan)
- เกณฑ์การประเมินผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยาน (Noise Contour)
นอกจากนี้ ฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนดังกล่าวยังคํานึงถึงกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ เช่น ผู้เยาว์ ผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว รวมทั้งมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอตามบริบทที่เปลี่ยนไป ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนยังถูกนำมาใช้พิจารณาในการคัดเลือกเครื่องมือ/วิธีการและการวางแผนการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชนที่เหมาะสม ต่อชุมชนที่สำคัญ (High-Priority Stakeholders) อีกด้วย
ทอท.มีการเชื่อมโยงกับชุมชน ประเมินผลกระทบ และดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมดังนี้ | |
---|---|
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ผ่านกระบวนการรับฟังผู้มีส่วนได้เสีย และมีการติดตามผลการบริหารจัดการผลกระทบอย่างต่อเนื่อง | ร้อยละ 81 1 |
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียผ่านการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน (Stakeholder Profile & Mapping) | ร้อยละ 100 |
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียผ่านการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน (Stakeholder Profile & Mapping) | ร้อยละ 100 |
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียผ่านการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน (Stakeholder Profile & Mapping) | ร้อยละ 100 |
1 ท่าอากาศยานหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานเพียงแห่งเดียวจากทั้งหมด 6 แห่ง ที่ไม่อยู่ในขอบข่ายที่ต้องมีการติดตามตรวจสอบผล EIA เนื่องจากไม่มีการขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535
การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมของ ทอท.
ทอท. มีการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนทางการเงิน การอนุมัติเวลาทํางานของพนักงานเพื่อทํากิจกรรมเพื่อสังคม การสนับสนุนสิ่งของหรือบริการ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านชุมชนสัมพันธ์ โดยจําแนกสัดส่วนมูลค่าโครงการที่สนับสนุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การบริจาคเพื่อการกุศลโดยไม่หวังผลกําไร การลงทุนในชุมชนเพื่อสาธารณประโยชน์ และกิจกรรมเพื่อสังคมเชิงพาณิชย์ ซึ่ง ทอท. ได้เปิดเผยสัดส่วนและมูลค่าการสนับสนุนลงในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี
การกุศล
ชุมชน
เชิงพาณิชย์
การวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SR0I)
ทอท. ประเมินผลการดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านการรับฟังข้อคิดเห็นของชุมชนจากการลงพื้นที่ต่าง ๆ และในรูปแบบการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ซึ่งสามารถนํามาใช้ประกอบการทบทวนประสิทธิผลของโครงการ ปรับปรุงกลยุทธ์และกระบวนการดําเนินงาน และตัดสินใจลงทุนขยายผลหรือต่อยอดโครงการนั้น ๆ ในอนาคต ผลลัพธ์ดังกล่าวยังสามารถใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นสากลอีกด้วย
ผลการประเมิน
โครงการ | SROI |
---|---|
โครงการ “HKT Loves Coral” | 1 : 7.46 |
โครงการ “ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนบํารุงรวิวรรณวิทยา” | 1 : 1.19 |
โครงการ “การปรับปรุงพื้นที่และการจัดหาอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย” | 1 : 1.07 |
กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ระดับที่ 1
กิจกรรม/โครงการร่วมระดับองค์กร
ระดับที่ 2
กิจกรรม/โครงการระดับท่าอากาศยาน
ระดับที่ 3
กิจกรรม/โครงการอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรกับชุมชนใกล้เคียงหรือสังคมในวงกว้าง
กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับองค์กร
โครงการศึกษาดูงาน ณ ท่าอากาศยาน
โครงการศึกษาดูงาน ณ ท่าอากาศยานเป็นการเพิ่มโอกาสให้หน่วยงานและสถาบันการศึกษาเข้ามาศึกษาดูงาน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยาน เช่น การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยหรือการบริหารจัดการรถโดยสารสาธารณะภายในท่าอากาศยาน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิด รวมทั้งยังเป็นการดึงดูดบุคลากรเข้ามาร่วมงานกับ ทอท. ต่อไปในอนาคต
โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืน (AOT Selected)
ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมร่วมกับผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกท่าอากาศยานเตรียมพร้อมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืนของชุมชนสำคัญโดยรอบท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง เพื่อยกระดับขีดความสามารถชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน ผ่านการสนับสนุนองค์ความรู้ ตลอดจนช่องทางการประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันอยู่ในระยะนำร่อง โดยมีการสร้างชุมชนต้นแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืนและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืน ผ่านการค้นหาชุมชนที่มีศักยภาพรอบท่าอากาศยานของ ทอท. เพื่อทำการประเมินความต้องการและศักยภาพของชุมชน และกำหนดโครงการสนับสนุนซึ่งช่วยเสริมจุดแข็งและเติมเต็มจุดอ่อนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืนในอนาคตอันใกล้
กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับท่าอากาศยาน
AOT Selected
โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืน (AOT Selected)
ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมร่วมกับผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกท่าอากาศยานเตรียมพร้อมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืนของชุมชนสำคัญโดยรอบท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง เพื่อยกระดับขีดความสามารถชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน ผ่านการสนับสนุนองค์ความรู้ ตลอดจนช่องทางการประชาสัมพันธ์ ปัจจุบันอยู่ในระยะนำร่อง โดยมีการสร้างชุมชนต้นแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่ยั่งยืนและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืน ผ่านการค้นหาชุมชนที่มีศักยภาพรอบท่าอากาศยานของ ทอท. เพื่อทำการประเมินความต้องการและศักยภาพของชุมชน และกำหนดโครงการสนับสนุนซึ่งช่วยเสริมจุดแข็งและเติมเต็มจุดอ่อนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหรือผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยั่งยืนในอนาคตอันใกล้
กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับองค์กรกับชุมชนใกล้เคียงหรือสังคมในวงกว้าง
สนับสนุนกิจการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
ทอท. ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชน โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนที่อยู่ห่างไกล จึงสนับสนุน
การดำเนินงานของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งมีโรงเรียนรวมทั้งหมดรวม 7 โรงเรียน ดังนี้
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ณ บ้านไอร์จาดา อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมฉลอง 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ บ้านศรีถาวรพนา ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 4 รอบ 2 เมษายน 2546 ณ บ้านนาโต่ ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหางแมว (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในโอกาสครบรอบ 30 ปี อุปถัมภ์) ตำบลขุนซ่อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (บ้านแพะ จังหวัดตาก) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษาในปี 2554 ณ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา (บ้านหม่องกั๊วะ จังหวัดตาก) เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมพรรษาครบ 84 พรรษาในปี 2554 ณ ตำบลแม่จัน อำเภออุ้งผาง จังหวัดตาก
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านใหม่พัฒนาสันติ (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 อุปถัมภ์) ณ ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ซึ่ง ทอท. สนับสนุนการดำเนินการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยแต่ละปีสนับสนุนงบประมาณให้แก่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นจำนวนเงิน 1,050,000.-บาท เพื่อโครงการพัฒนาและปรับปรุงสถานที่ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพในด้านสื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ ได้มอบทุนการศึกษา อุปกรณ์การศึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานด้านอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 75,757,853.-บาท อีกทั้ง ทอท. ได้จัดผู้บริหารและพนักงานไปเยี่ยมชมและรับทราบผลการดำเนินงานของโรงเรียนฯ เป็นประจำทุกปี
โครงการ AOT พี่อาสา
โครงการ AOT พี่อาสา เป็นกิจกรรมส่งมอบความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยให้แก่ชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน โดยพนักงานของ ทอท. เป็นวิทยากรให้ความรู้และอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และวัยใสใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะเป็นการถ่ายทอดความรู้แล้ว ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และความเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท. อีกด้วย
ทอท. โครงการอาสาพิทักษ์ป่าชายเลน
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศ (Ecosystem Preservation) สอดคล้องกับแผนแม่บทด้านความยั่งยืนของ ทอท.
- เพื่อเป็นการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
- เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
- เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
ปี 2566 ทอท. จัดโครงการอาสาพิทักษ์ป่าชายเลน ผู้บริหารพร้อมทั้งพนักงานปลูกต้นโกงกาง 9,999 ต้น บนพื้นที่ 2 ไร่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าชายเลน รักษาระบบนิเวศชายฝั่ง และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) รวมทั้งความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเล ด้วยการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนที่เสื่อมโทรมเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่งของประเทศไทย โดยกำหนดเป้าหมายในการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต
ทอท. มีโครงการปลูกป่าชายเลน ตั้งแต่ปี 2557 - 2565 ปัจจุบันต้นโกงกางที่ ทอท. ปลูกไว้ มีการยืนต้นอยู่ในพื้นที่ของโครงการฯ รวมกว่า 80,000 ต้น คิดเป็นอัตราการยืนต้นเฉลี่ยร้อยละ 80 พื้นที่ทั้งหมด จำนวน 18 ไร่ ซึ่งปัจจุบันป่าชายเลนที่ ทอท. ปลูก สามารถดูดซับ CO2 ได้ถึง 3,991.31 ต้นต่อปี 2
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2567