กระบวนการกำหนดเนื้อหารายงาน
กระบวนการกำหนดเนื้อหาการรายงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องตามหลักการพื้นฐานของ GRI Standards ฉบับปี 2021 และ หลักการทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) มี 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
การทำความเข้าใจบริบทของ ทอท.
ทอท. รวบรวมข้อมูลทางกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด (การให้บริการและการขยายศักยภาพท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง) และผู้มีส่วนได้เสียกับ ทอท. ทั้ง 7 กลุ่ม (กลุ่มลูกค้า กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแล กลุ่มบุคลากรของ ทอท. กลุ่มชุมชนและสังคม กลุ่มสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ และกลุ่มบริหารจัดการด้านการเงินและกลุ่มผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ทอท. เพื่อทำความเข้าใจบริบทของ ทอท. และเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดเนื้อหารายงานในลำดับถัดไป
ขั้นตอนที่ 2
การระบุผลกระทบ
ทอท. ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนระบุผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของ ทอท. โดยครอบคลุมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งทางบวกและทางลบ ระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบที่เกิดโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ และผลกระทบที่สามารถเยียวยาได้และไม่ได้
ขั้นตอนที่ 3
การประเมินผลกระทบ
ทอท. ร่วมกับผู้เขี่ยวชาญด้านความยั่งยืนจัดทำการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอกเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากองค์กรสู่ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดจากภายนอกสู่องค์กรจากเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Double Materiality) โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลกระทบ ประกอบด้วยความรุนแรงของผลกระทบ (Scale) ขอบเขตของผลกระทบ (Scope) ความสามารถในการเยียวยาผลกระทบ (Irremediability) โอกาสในการเกิด (Likelihood) เพื่อพิจารณาระดับของผลกระทบ ที่ครอบคลุมผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
ขั้นตอนที่ 4
การจัดลำดับความสำคัญเพื่อรายงาน
ทอท. ดำเนินการจัดลำดับความสำคัญผลกระทบผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบและผู้เขี่ยวชาญด้านความยั่งยืน เพื่อรวบรวมผลกระทบที่อยู่ในระดับสำคัญ (สำคัญมากที่สุด สำคัญมาก และสำคัญ) ไปนำเสนอและขออนุมัติจาก คณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนและคณะกรรมการธรรมาภิบาล มารายงานเป็นประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของ ทอท.
* หมายเหตุ ทอท. มีแผนดำเนินการตรวจรับรองความถูกต้องของข้อมูลในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยองค์กรอิสระในอนาคต ข้อมูลที่เปิดเผยในปัจจุบันเป็นข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องภายในโดยผู้บริหารของแต่ละสายงาน
ประเด็นสาระสําคัญด้านความยั่งยืนของ ทอท.
ประเด็นสาระสําคัญด้านความยั่งยืนของ ทอท. ที่ได้รับการระบุและประเมินโดยผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอกองค์กร มีจํานวนทั้งสิ้น 16 ประเด็น ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
สำคัญที่สุด
สำคัญมาก
สำคัญ
- ความพึงพอใจของลูกค้า
- พันธมิตรทางธุรกิจ
- การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
- ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
- ดิจิทัลและนวัตกรรม
- พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- เศรษฐกิจหมุนเวียน (การจัดการขยะ)
- ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยาน
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
- ขีดความสามารถในการรองรับ
และการเข้าถึงท่าอากาศยาน - ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว
- การจัดการน้ำและน้ำเสีย
- ผลกระทบทางเสียง
- การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
- สิทธิมนุษยชน
- งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต
ขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ทอท. ระบุขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละประเด็นสาระสําคัญด้านความยั่งยืน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญในแต่ละกลุ่ม ดังนี้
ประเด็นสาระสำคัญ ด้านความยั่งยืน |
ขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภายในองค์กร | ภายนอกองค์กร | |||||||
บุคลากรของ ทอท. | ลูกค้า | พันธมิตรทางธุรกิจ | หน่วยงานกำกับดูแล | ชุมชนและสังคม | สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่น ๆ | ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ |
||
มิติเศรษฐกิจ |
การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลการปฏิบัติ | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
โครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถในการรองรับและโอกาสทางธุรกิจถึงท่า | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
||||
ความพึงพอใจของลูกค้า | ✔ |
✔ |
✔ |
|||||
ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
||||
พันธมิตรทางธุรกิจ | ✔ |
✔ |
✔ |
|||||
ดิจิทัลและนวัตกรรม | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
||
ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
|
มิติสังคม |
ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยาน | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
|
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
|||
การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมชน | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
||||
สิทธิมนุษยชน | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
|
งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต | ✔ |
|||||||
มิติสิ่งแวดล้อม |
พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
||
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมากาศ | ✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
✔ |
ผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท.
ทอท. ระบุและคัดเลือกผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญผ่านการพิจารณาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจได้รับผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. ยังใช้เกณฑ์ในการกําหนดชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานที่มีความสําคัญตามการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment: EIA) การกําหนดพื้นที่ตามแผนฉุกเฉินของท่าอากาศยาน (Airport Emergency Plan) และการประเมินผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยาน (Noise Contour) อีกด้วย
ทอท. เข้าถึงผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่มโดยใช้เครื่องมือในการสานสัมพันธ์ 4 ประการ นั่นคือ การเข้าถึงและสานสัมพันธ์ การเรียนรู้และจัดทํากรณีศึกษา การกําหนดแนวทางการดําเนินงานและดูผลกระทบต่อธุรกิจ และการประยุกต์เป็นแนวทางและปรับกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
ผู้มีส่วนได้เสีย | วิธีการ | ความคาดหวัง | การตอบสนองความคาดหวัง | |
---|---|---|---|---|
ลูกค้า |
|
|
|
|
พันธมิตรทางธุรกิจ |
|
|
|
|
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักหลักทรัพย์ |
|
|
|
|
หน่วยงานกำกับดูแล |
|
|
|
|
ชุมชนและสังคม |
|
|
|
|
บุคลากรของ ทอท. |
|
|
|
|
สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่น ๆ |
|
|
|
|
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2566