กระบวนการกำหนดเนื้อหารายงาน

กระบวนการกำหนดเนื้อหาการรายงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องตามหลักการพื้นฐานของ GRI Standards ฉบับปี 2021 และ หลักการทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) มี 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1

การทำความเข้าใจบริบทของ ทอท.

ทอท. รวบรวมข้อมูลทางกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด (การให้บริการและการขยายศักยภาพท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง) และผู้มีส่วนได้เสียกับ ทอท. ทั้ง 7 กลุ่ม (กลุ่มลูกค้า กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแล กลุ่มบุคลากรของ ทอท. กลุ่มชุมชนและสังคม กลุ่มสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ และกลุ่มบริหารจัดการด้านการเงินและกลุ่มผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ทอท. เพื่อทำความเข้าใจบริบทของ ทอท. และเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดเนื้อหารายงานในลำดับถัดไป

ขั้นตอนที่ 2

การระบุผลกระทบ

ทอท. ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนระบุผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของ ทอท. โดยครอบคลุมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งทางบวกและทางลบ ระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบที่เกิดโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ และผลกระทบที่สามารถเยียวยาได้และไม่ได้

ขั้นตอนที่ 3

การประเมินผลกระทบ

ทอท. ร่วมกับผู้เขี่ยวชาญด้านความยั่งยืนจัดทำการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอกเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากองค์กรสู่ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดจากภายนอกสู่องค์กรจากเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Double Materiality) โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลกระทบ ประกอบด้วยความรุนแรงของผลกระทบ (Scale) ขอบเขตของผลกระทบ (Scope) ความสามารถในการเยียวยาผลกระทบ (Irremediability) โอกาสในการเกิด (Likelihood) เพื่อพิจารณาระดับของผลกระทบ ที่ครอบคลุมผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน

ขั้นตอนที่ 4

การจัดลำดับความสำคัญเพื่อรายงาน

ทอท. ดำเนิอนการจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบและผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน เพื่อรวบรวมผลกระทบที่อยู่ในระดับสำคัญ (สำคัญมากที่สุด/สำคัญมาก/สำคัญ๗ ไปนำเสนอและขออนุมัติจากคณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนและคณะกรรมการธรรมาภิบาลมารายงานเป็นประเด็นด้านความยั่งยืนของ ทอท.

หมายเหตุ

ทอท. มีแผนดำเนินการตรวจรับรองความถูกต้องของข้อมูลในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยองค์กรอิสระในอนาคต ข้อมูลที่เปิดเผยในปัจจุบันเป็นข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องภายในโดยผู้บริหารของแต่ละสายงาน

 

ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน

ประเด็นสาระสําคัญด้านความยั่งยืนของ ทอท. ที่ได้รับการระบุและประเมินโดยผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอกองค์กร มีจํานวนทั้งสิ้น 13 ประเด็น ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

ระดับประเด็นสาระสำคัญ ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน SDGs
ส่งมอบคุณค่าที่เหนือกว่า
(Value Creation)
ความพึงพอใจของลูกค้า
โครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถในการรองรับและโอกาสทางธุรกิจ
พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยาน
ปัจจัยนำพาสู่ความสำเร็จ
(Enabler)
การกำกับดูแลกิจการ
การบริหารความเสี่ยง
และจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
สิทธิมนุษยชน
การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
รากฐานความสำเร็จ
(Fundamentals)
ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

ขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

ทอท. ระบุขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

ประเด็นสาระสำคัญ
ด้านความยั่งยืน
ขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ภายในองค์กร ภายนอกองค์กร
บุคลากรของ ทอท. ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ หน่วยงานกำกับดูแล ชุมชนและสังคม สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่น ๆ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน
และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
มิติเศรษฐกิจ
การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลการปฏิบัติ

โครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถในการรองรับและโอกาสทางธุรกิจถึงท่า

ความพึงพอใจของลูกค้า

ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

พันธมิตรทางธุรกิจ

ดิจิทัลและนวัตกรรม

ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว

มิติสังคม
ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยาน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมชน

สิทธิมนุษยชน

งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต

มิติสิ่งแวดล้อม
พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมากาศ

กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 7 กลุ่ม

ผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท.

ทอท. ระบุและคัดเลือกผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญผ่านการพิจารณาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจได้รับผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. ยังใช้เกณฑ์ในการกําหนดชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานที่มีความสําคัญตามการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment: EIA) การกําหนดพื้นที่ตามแผนฉุกเฉินของท่าอากาศยาน (Airport Emergency Plan) และการประเมินผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยาน (Noise Contour) อีกด้วย

ทอท. เข้าถึงผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่มโดยใช้เครื่องมือในการสานสัมพันธ์ 4 ประการ นั่นคือ

  1. การเข้าถึงและสานสัมพันธ์
  2. การเรียนรู้และจัดทํากรณีศึกษา
  3. การกําหนดแนวทางการดําเนินงานและดูผลกระทบต่อธุรกิจ
  4. การประยุกต์เป็นแนวทางและปรับกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
ผู้มีส่วนได้เสีย วิธีการ ความคาดหวัง การตอบสนองความคาดหวัง
กลุ่มลูกค้า
  • สายการบิน
  • ผู้โดยสาร
  • ผู้ประกอบการ
  • การสำควจความพึงพอใจ
  • ลูกค้าประจำ
  • การประชุมร่วมกับสายการบิน
  • กิจกรรมบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
  • Contact Center และช่องทางในการร้องเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ
  • จุดประชาสัมพันธ์ภายในท่าอากาศยาน
  • เว็บไซต์ และสื่อสังคมขององค์กร
  • การประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ภายนอก
  • การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้บริหาร
  • จัดสรรพื้นที่สิ่งอำนวยความสะดวกและเชื่อมต่อที่ทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการในการดำเนินธุรกิจของท่าอากาศยาน เพื่อดึงดูดและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า โดยครอบคลุมผู้ใช้ท่าอากาศยานทุกกลุ่ม (Universal Design)
  • การให้บริการและตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว โดยใช้นวัตกรรมและคำนึงถึงความต้องการที่หลากหลาย
  • ทอท. เป็นท่าอากาศยานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • มีกลยุทธ์ด้านการจัดกการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยานที่เอื้อต่อการเป็นสายการบินคาร์บอนต่ำ
  • มีการดำเนินงานด้ารการใช้ทรัพยากรและของเสียเชิงรุกเกินกว่าข้อบังคับตามกฎหมาย
  • ดำเนินงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยรวมถึงการจัดการสัตว์อันตรายในท่าอากาศยานและวัตถุแปลกปลอมที่อยู่บนพื้นที่เขตการบิน (FOD)
  • สนับสนุนและให้ข้อมูลการจราจรและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าอากาศยานอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  • การสื่อสารผ่านสื่อสังคม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่รวดเร็วและทั่วถึง
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการวางแผนการพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน
  • ติดตาม ตรวจสอบ และพัฒนาการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยานเป็นประจำ
  • ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการให้บริการและการประยุกต์ใช้
  • พัฒนาผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและรักษามาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นท่าอากาศยานคาร์บอนต่ำ
  • ดำเนินมาตรการจัดการทรัพยากร การแยกและกำจัดของเสีย
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการบิน ด้านการรักษาความปลอดภัย และด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามมาตรฐานสากล
  • เตรียมพร้อมและฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินในสถานการณ์ต่าง ๆ
  • เพื่มช่องทางการสื่อสารแก่ผู้ที่มีส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอ และครอบคลุม
  • จัดโครงการเพื่อสร้างสัมพันธ์กับลูกคา้สายการบินและผู้ประกอบการ
  • การขยบายธุรกิจหรือดำเนินโครงการบรรลุแผนที่ตั้งไว้และผลประกอบการที่ดีขึ้น
กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ
  • ผู้ส่งมอบ
    • ผู้ส่งมอบสินค้า
    • ผู้ส่งมอบด้านแรงงาน
    • ผู้ส่งมอบด้านสาธารณูปโภค
    • ผู้ส่งมอบด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
    • ผู้ส่งมอบด้านทักษณะความรู้
  • หน่วยงานที่ดำเนินงานภายในท่าอากาศยาน
  • คู่ความร่วมมือ
  • การจัดประชุมทางธุรกิจ
  • Contact Center และช่องทางในการร้องเรียนและแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ
  • การประชุมร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทอท.
  • การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้บริหาร
  • ความเพียงพอของบุคลากรในการให้บริการผู้โดยสาร
  • ส่งเสริมการใช้และร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อบริหารจัดการ ผู้โดยสาร และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้บริการ
  • การขยายธุรกิจหรือดำเนินโครงการบรรลุตามแผนที่ตั้งไว้และผลประกอบการที่ดีขึ้น
  • การสนับสนุนข้อมูลการฝึกอบรมสิ่งอำนวยความสะดวก หรือพื้นที่ในการดำเนินงานของพันธมิตรทางธุรกิจ
  • การคุ้มครองด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงสภาพการจ้างงานของแรงงานภายในท่าอากาศยาน โดยเฉพาะแรงงานก่อสร้างต่างด้าว
  • สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและได้มาตรฐานพร้อมดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และรองรับภัยธรรมชาติต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • สนับสนุนคู่ค้าและพันธมิตรในการลดก๊าซเรืองกระจกในท่าอากาศยาน
  • รับฟังปัญญหา แลกเปลี่ยนความเห็นและพัฒนากระบวนการทำงานตามที่ได้ประชุมหารือกันอย่างสม่ำเสมอ
  • กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการที่เื้อต่อการดำเนินงานของคู่ค้า
  • ปฏิบัติตามข้อตกลง สัญญา กฏหมาย
  • พัฒนาผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและรักษามาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นท่าอากาศยยานคาร์บอนต่ำ
กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแล
  • สำนักงานกำกับดูแลคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงการคลัง
  • สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
  • สำนักงานคณะกรรมการกำกับทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • การประชุมร่วมกับหน่วยงานกำกับดูแล
  • การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและการประเมินผลจากหน่วยงานกำกับดูแล
  • การประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
  • ดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฏหมายหรือเหนือกว่ากฏหมาย
  • ดูแลความปลอดภัยของระบบข้อมูลสารสนเทศอย่างมีมาตรฐานและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
  • พัฒนาผลการดำเนินงานในเรื่องที่เป็นประเด็นสาระสำคัญสำหรับองค์กรอย่างต่อเนื่อง
  • ดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • ระบบการจัดการองค์กรที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยยกระดับความรวดเร็วในการทำงาน
  • ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
  • รายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และโปร่งใส
  • ปฏิบัติตามกฏหมายระเบียบยข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส
  • ลดหรือดูแลผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมให้มีมาตรฐานที่สูงกว่ากฏหมายกำหนดและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับชึมชนโดยรอบท่าอากาศยาน
  • เข้าร่วมการประเมินและเข้าชี้แจงข้อมูลกับหน่้วยงานที่กำกับดูแลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  • ร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ศึกษาและพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
  • ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ ทอท. ซึ่งมีองค์ประกอบในเรื่องการเป็นองค์กรดิจิทัล
กลุ่มบุคลากรของ ทอท.
  • กรรมการ
  • กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
  • ผู้บริหารตามสัญญาจ้าง
  • ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
  • พนักงานของ ทอท.
  • ลูกจ้างของ ทอท.
  • กรรมการผู้อำนวยการใหญ่พบพนักงานและสื่อสารผ่านเสียงตามสายภายในองค์กร
  • การสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กรประจำปี
  • ช่องทางการติดต่อ ผ่านทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
  • ความปลอดภัยในการทำงาน
  • ความมั่นคงและสวัสดิการที่ดี เมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสหกรรมเดียวกัน
  • การให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลตามสภาวะเศรษฐกิจ
  • ความก้าวหน้าในอาชีพ ตามความรู้ความสามารถโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
  • การรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลและรักษาบุคลากร
  • ทบทวนตค่าตอบแทนของพนักงานให้สอดคล้องกับแผลการดำเนินงานขององค์กร และสภาวะทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบิน
  • จัดสวัสดิการในระยะยาวให้แก่พนักงานและครอบครัว
  • กำหนดกิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันและขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน
กลุ่มผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
  • กระทรวงการคลัง
  • ผู้ถือหุ้น ทอท.
  • ผู้ที่มีความสนใจจะลงทุนในหุ้น ทอท.
  • นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
  • การประชุมนักวิเคราะห์
  • การให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้น ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี
  • Call Center
  • เว็บไซต์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสังคม
  • การประชุม/พูดคุยทางโทรศัพท์ (Conference Call)
  • การจ่างเงินปันผลของบริษัทฯ ในระดับที่น่าพอใจ และมีการจ่ายอย่างสม่ำเสมอ
  • ผลตอบแทนทที่สูงขึ้น
  • ผลประกอบการที่ดีและเติบโดอย่างต่อเนื่อง โปร่งใส และมั่นคง
  • การดำเนินธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ดี เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานอื่นในต่างประเทศ
  • แสดงเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินธุรกิจในอนาคต
  • การเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่้งด้านนวัตกรรมและสังคมผู้สูงอายุ
  • สื่อสารการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใสในเชิงรุก ผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย รวมถึงการมีการจัีดการสื่อสารที่ดีในภาวะวิกฤต
  • ให้ความช่วยเหลือแก่พันธมิตรและผู้ประกอบการภายในท่าอากาศยาน โดยคำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจขององค์กร
  • สนับสนุนการฟื้นฟูการท่องเที่ยว
  • เพื่มช่องทางการติดต่อที่หลากหลาย สะดวก และเข้าถึงได้ง่าย
  • จัดทำข้อมูลการดำเนินงานขององค์กร เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ตลอดจนผู้ที่สนใจให้ทราบถึงธุรกิจขององค์กร หรือผลประกอบการรายไตรมาส เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้
  • จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องและสอดคล้่องกับผลประกอบการ
  • นำผู้ถือหุ้นเยี่ยมชมกิจการและติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร
กลุ่มชุมชนและสังคม
  • ชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน
  • หน่วยงานท้องถิ่น
  • ผู้ที่ให้ความสนใจในการดำเนินงานของ ทอท.
  • ลงพื้นที่เพื่อสอบถามและตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงสอบถามความต้องการของชุมชน
  • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคม
  • การประชุมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
  • ดำเนินงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการคัดกรองผู้ป่วย Covid-19 ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ
  • ดูแลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อชุมชน
  • ดูแลผลกระทบจากแรงงานก่อสร้างที่มาพักอาศัยบริเวณชุมชน
  • การช้วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19
  • การสื่อสารและการสนับสนุนชุมชนอย่างรวดเร็วในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • จัดโครงการหรือกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนโดยด้านการศึกษาและการท่องเที่ยว
  • สื่อสารการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนในเชิงรุกเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคม
  • ความโปร่งใสในกระบวนการกำกับดูแลของ ทอท.
  • ให้การสนับสนุนพื้นที่ภายในท่าอากาศยานเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่น
  • ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย โดยเข้าร่วมโครงการ ACi Airport Health Accreditation เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยจากโรคระบาดสำหรับท่าอากาศยาน
  • ศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนากระบวนการจัดการผลกระทบ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในชุมชน
  • ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมที่ส่งเสริม ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาชุมชนในระยะยาวอย่างยั่งยืน เช่น โครงการ AOT Selected โครงการ AOT พี่อาสา และโครงการในระดับท่าอากาศยานอื่น ๆ พร้อมเพิ่มการสนับสนุนในสภาวะฉุกเฉินในช่วงวิกฤตการณ์ Covid-19
  • สื่อสารการดำเนินงานทางช่องทางออนไลน์ และสื่อสาธารณะต่าง ๆ
กลุ่มสื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่น ๆ
  • สื่อสารมวลชน
  • ผู้มีอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ (Influencers)
  • ให้ข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรให้กับกลุ่มสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ เช่น สถานะทางการเงินของ ทอท. โครงการที่ ทอท. ริเริ่มขึ้นใหม่ หรือโครงการเดิมที่มีการต่อยอดความสำเร็จที่ได้รับ
  • การแถลงข่าว เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
  • กิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ร่วมกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในแต่ละท่าอากาศยาน
  • ข้อมูลด้านสถานการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ของ ทอท.
  • การตอบสนองในการให้ข้อมูลที่รวดเร็ว
  • การสื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมในระดับชุมชนรายท่าอากาศยานและการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับองค์กรที่มากขึุ้น
  • การจัดทำแผนการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ เพื่อการตอบสนองด้านข้อมูลที่รวดเร็ว
  • เผยแพร่ข้อมูลด้านความยั่งยืนในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน รายงานประจำปี และบนเว็บไซต์หลัก รวมถึงสื่อออนไลน์อื่น ๆ ของ ทอท.

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2567