SDG-9 th
SDG-10 th
SDG-11 th

ขีดความสามารถในการรองรับ

และการเข้าถึงท่าอากาศยาน

icon stakeholder

ลูกค้า

icon stakeholder

พันธมิตรทางธุรกิจ

icon stakeholder

ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

icon stakeholder

ชุมชน และสังคม

ความสำคัญ

การขยายท่าอากาศยานเพื่อรองรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางอากาศที่เพิ่มขึ้น รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงท่าอากาศยานทั้งรูปแบบการเดินทางและอารยสถาปัตย์ (Universal Design) ให้สะดวกสบายสำหรับทุกคน เป็นการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งสร้างผลประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ การขยายท่าอากาศยานจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมชนท้องถิ่น และกำหนดแนวทาง/มาตรการบรรเทาและเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างและปฏิบัติการของท่าอากาศยาน

แนวทางการจัดการ

การพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับของท่าอากาศยาน

ทอท. กําหนดแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานที่สอดคล้องตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ทอท. กระทรวงคมนาคม สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี โดยมีฝ่ายแผนพัฒนาท่าอากาศยาน ภายใต้สายงานยุทธศาสตร์ และทุกฝ่ายภายใต้สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารตามแผนแม่บทฯ ซึ่งประกอบไปด้วย 6 แผน สําหรับท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. แผนแม่บทฯ ดังกล่าวได้รับการทบทวนเป็นประจําเพื่อควบคุมให้การดําเนินงานสําเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย และสอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการบิน โดยปัจจุบัน ทอท. มีการวางเป้าหมายระยะยาวของแผนพัฒนาท่าอากาศยานของ ทอท. ไว้ถึงปี 2583

ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ของ ทอท.

ตารางขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 2565

หน่วย: ล้านคนต่อปี

ข้อมูล ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565
หมายเหตุ: ข้อมูลที่แสดงเป็นการวางแผนในอนาคตอาจมีการทบทวนและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

Suvarnabhumi Airport

แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ถึง 45 ล้านคนต่อปี เมื่อพิจารณาจากการเติบโตของปริมาณ เที่ยวบินและผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต ทอท. จําเป็นต้องจัดทําแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยาน ให้สอดคล้องกับการเติบโตดังกล่าว เพื่อให้การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเกิดความต่อเนื่อง โดยมีการพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2565

ความสามารถในการรองรับ

ณ ปัจจุบัน

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

45 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

68 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

3 ล้านตัน ต่อปี

เป้าหมาย ปี 2583

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

150 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

120 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

3 ล้านตัน ต่อปี

ท่าอากาศยานดอนเมือง

แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง

ทอท. ดําเนินงานพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 2 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2558 โดยมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคนต่อปี อย่างไรก็ตาม จากปริมาณเที่ยวบินและปริมาณผู้โดยสารของท่าอากาศยานดอนเมืองที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ทอท. จึงจําเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารภายใต้การพัฒนาในระยะที่ 3 ดังนี้

ระยะดำเนินการขยายท่า 2565

ความสามารถในการรองรับ

ณ ปัจจุบัน

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

30 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

50 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

5.2 แสนตัน ต่อปี

เป้าหมาย ปี 2583

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

40 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

50 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

3 แสนตัน ต่อปี

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่

ปัจจุบันท่าอากาศยานเชียงใหม่มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 8 ล้านคนต่อปี แต่เนื่องด้วยปริมาณการจราจรทางอากาศ ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น ทอท. ได้กําหนดแผนการพัฒนา ดังนี้

CNX-ระยะดำเนินการขยายท่า

ความสามารถในการรองรับ

ณ ปัจจุบัน

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

8 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

25 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

3.5 หมื่นตัน ต่อปี

เป้าหมาย ปี 2583

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

20 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

25 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

3.5 หมื่นตัน ต่อปี

ท่าอากาศยานหาดใหญ่

แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานหาดใหญ่

ปัจจุบันท่าอากาศยานหาดใหญ่มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ 2.5 ล้านคนต่อปี จากแนวโน้มผู้โดยสารที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตและข้อจํากัดด้านความเพียงพอของหลุมจอดและระบบทางวิ่งทางขับ อีกทั้งอาคารผู้โดยสารเดิมไม่สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทอท. ได้กําหนดแผนการพัฒนา ดังนี้

HDY-ระยะดำเนินการขยายท่า

ความสามารถในการรองรับ

ณ ปัจจุบัน

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

2.5 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

2.5 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

1.4 หมื่นตัน ต่อปี

เป้าหมาย ปี 2583

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

10.5 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

10 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

1.4 หมื่นตัน ต่อปี

ท่าอากาศยานภูเก็ต

แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต

ท่าอากาศยานภูเก็ตสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 12.5 ล้านคนต่อปี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาปริมาณการจราจรทางอากาศที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น ท่าอากาศยานภูเก็ตจําเป็นต้องดําเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามแผนในระยะที่ 2 ต่อไป ทั้งนี้การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตระยะที่ 2 จะเป็นการพัฒนาจนเต็มขีดความสามารถภายในพื้นที่ของท่าอากาศยานภูเก็ต ดังนี้

HKT-ระยะดำเนินการขยายท่า

ความสามารถในการรองรับ

ณ ปัจจุบัน

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

12.5 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

20 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

4,500 ตัน ต่อปี

เป้าหมาย ปี 2583

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

18 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

25 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

4,500 ตัน ต่อปี

ท่าอากาศยานเชียงราย

แผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

ปัจจุบันท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย มีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 3 ล้านคนต่อปี แต่เนื่องจากท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เคยมีปัญหาความคับคั่งของพื้นที่ให้บริการผู้โดยสาร ซึ่งยังไม่สอดคล้องตามมาตรฐานการให้บริการ ดังนั้นการพัฒนาจะเป็น การพัฒนาเพื่อจัดสรรพื้นที่ภายในอาคารให้มีความเหมาะสมสําหรับการให้บริการ และปรับปรุงสิ่งอํานวยความสะดวกก่อน แล้วจึงจะ ดําเนินการพัฒนาต่อไป โดยจะแบ่งการดําเนินการพัฒนาเป็น 2 ระยะ ดังนี้

CEI-ระยะดำเนินการขยายท่า

ความสามารถในการรองรับ

ณ ปัจจุบัน

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

3 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

11 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

3.4 พันตัน ต่อปี

เป้าหมาย ปี 2583

icon_ความสามารถในการรองรับ-ผู้โดยสาร

ผู้โดยสาร

8 ล้านคน ต่อปี

icon_ความสามารถในการรองรับ-เที่ยวบิน

11 เที่ยวบิน

ต่อชั่วโมง

icon_ความสามารถในการรองรับ-พัสดุ

สินค้าและพัสดุ

5.3 หมื่นตัน ต่อปี

การเชื่อมโยงกับระบบคมนาคม

การอํานวยความสะดวกในการเดินทางของผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเข้า-ออกท่าอากาศยานและการเชื่อมต่อกับระบบคมนาคมภาคพื้นดินแบบบูรณาการ เป็นปัจจัยสําคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดระยะเวลาการเดินทางให้สั้นลง และส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ การบริหารจัดการเส้นทางจราจรที่ดียังช่วยลดปัญหารถติดในชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานอีกด้วย

ทอท. ตระหนักถึงความสําคัญในการเชื่อมต่อระบบการคมนาคมภาคพื้นดินจึงพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมอย่างต่อเนื่องตามแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานโดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐรัฐวิสาหกิจและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะเข้าสู่ใจกลางเมืองโดยรถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารรับจ้าง และการเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้า ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งช่วยสนับสนุนการเดินทางเข้าสู่เมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยเปิดให้บริการแล้วในปี 2565

หน้าจออัจฉริยะเพื่อบอกตำแหน่งรถโดยสารประจำทาง
แบบ Real-Time ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

taxi01
taxi02

จุดเรียกแท็กซี่อัตโนมัติ (Kiosk)
ที่รองรับการใช้งานของผู้พิการในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

taxi03
การให้บริการรถโดยสารเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ระบบคมนาคมที่สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางบก ได้แก่ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) ทางพิเศษบูรพาวิถี และถนนเทพรัตนหรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางนา - ตราด) ที่เชื่อมเส้นทางระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศ และระบบขนส่งทางราง คือเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์

ท่าอากาศยานดอนเมือง

ระบบคมนาคมที่สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของท่าอากาศยานดอนเมือง ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางบก ได้แก่ ทางยกระดับอุตราภิมุข หรือ ดอนเมืองโทลล์เวย์ ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ทางหลวงหมายเลข 31 (ถนนวิภาวดีรังสิต) และ ระบบขนส่งทางราง ได้แก่ เส้นทางรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายชานเมือง ซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่กรุงเทพชั้นใน โครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดง ซึ่งเปิดให้บริการแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม 2564

ทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดง ดอนเมือง

ทั้งนี้ ทอท. และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ก่อสร้างทางเดินเชื่อมจากสถานีดอนเมืองของโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงมายังอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานดอนเมือง
ในอนาคตจะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ซึ่งรวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออกของประเทศและโครงการรถไฟความเร็วสูงที่คาดว่าจะดําเนินโครงการในอนาคต เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพในการเปลี่ยนโหมดการเดินทางจากระบบขนส่งทางอากาศไปสู่ระบบขนส่งทางราง

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

โครงข่ายคมนาคมที่สนับสนุนท่าอากาศยานเชียงใหม่ ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางบก คือทางหลวงหมายเลข 11 ซึ่งเชื่อมโยงโครงข่ายการ คมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัดเชียงใหม่สู่แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงและระบบขนส่งทางรางมีเส้นทางรถไฟสายเหนือและใน อนาคตอยู่ระหว่างการดําเนินโครงการขยายเส้นทางรถไฟทางคู่เด่นชัย - เชียงใหม่ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างจังหวัดภาคเหนือตอนบน และหากรถไฟความเร็วสูง ไทย - ญี่ปุ่น (ช่วงกรุงเทพฯ - พิษณุโลก) แล้วเสร็จ จะสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟรางคู่เพื่อเข้าถึงจุดหมายปลายทางสําคัญอื่น ๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ จังหวัดเชียงใหม่อยู่ระหว่างดําเนินการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาระบบขนส่งมวลชนสายสีแดง (ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์ - แยกแม่เหียะสมานสามัคคี) ซึ่งจะมีการเชื่อมต่อมายังท่าอากาศยานเชียงใหม่ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จปี พ.ศ.2570

ท่าอากาศยานหาดใหญ่

โครงข่ายคมนาคมที่สนับสนุนท่าอากาศยานหาดใหญ่ ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางบก คือทางหลวงเลข 4135 ซึ่งเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัดสงขลาสู่แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง และระบบขนส่งทางรางมีเส้นทางรถไฟสายใต้ ในอนาคตอยู่ระหว่าการดําเนินโครงการขยายเส้นทางรถไฟทางคู่หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างจังหวัดภาคใต้ตอนบนและหากรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ - หัวหินแล้วเสร็จ จะสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟรางคู่เพื่อเข้าถึงจุดหมายปลายทางสําคัญอื่น ๆ ได้มากขึ้น

ท่าอากาศยานภูเก็ต

โครงข่ายคมนาคมที่สนับสนุนท่าอากาศยานภูเก็ต ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางบก คือทางหลวงหมายเลข 402 เชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัดภูเก็ตสู่แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ในอนาคตจะมีระบบขนส่งทางราง โดยมีโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างท่าอากาศยานภูเก็ตกับพื้นที่เขตเมือง รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสําคัญของจังหวัดภูเก็ต

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

โครงข่ายคมนาคมที่สนับสนุนท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ประกอบด้วย ระบบขนส่งทางบก คือทางหลวงหมายเลข 1209 เชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างจังหวัดเชียงรายสู่แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง และระบบขนส่งทางรางอยู่ระหว่างดําเนินโครงการขยายเส้นทางรถไฟทางคู่เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างจังหวัดภาคเหนือตอนบน และหากรถไฟความเร็วสูงไทย - ญี่ปุ่น (ช่วงกรุงเทพฯ - พิษณุโลก) แล้วเสร็จ จะสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟรางคู่ เพื่อเข้าถึงจุดหมายปลายทางสําคัญอื่น ๆ ได้มากขึ้น

การเชื่อมโยงกับระบบคมนาคม

โครงการอาคารจอดรถยนต์ P-4

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีกำหนดการก่อสร้างอาคารจอดรถ 10 ชั้น (รองรับรถยนต์ได้ 1,200 คัน) ภายในเขตปลอดอากร เพื่อช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่คับคั่ง และที่จอดรถไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ปฏิบัติงานจากหลายภาคส่วน เช่น สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิกรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการส่งออก เป็นต้น โดยโครงการอาคารจอดรถยนต์ P-4 คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2567

โครงการอาคารจอดรถยนต์ P-4

โครงการ Freezone Smart Access

ทอท. ดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Face recognition) ระบบกล้องอ่านป้ายทะเบียน (License plate recognition) ติดตั้ง ณ จุดตรวจค้นช่องทางผ่านบุคคล (Access control : AC) และสถานีตรวจสอบสินค้า (Checking Post : CP) รวมถึงตู้จำหน่ายบัตรอนุญาตบุคคลและยานพาหนะอัตโนมัติ (ID Card Self-Services Kiosk) เฉพาะประเภทบัตรอนุญาตบุคคลและยานพาหนะสำหรับเข้า-ออกพื้นที่กำกับดูแล เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชนิดชั่วคราวไม่เกิน 24 ชั่วโมง ในพื้นที่เขตปลอดอากรของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อตรวจสอบการเข้า-ออกพื้นที่กำกับดูแลเขตปลอดอากร ทสภ. และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานระหว่าง ทอท. และหน่วยงานภายนอก

Free Zone Smart Access

ตู้กดบัตรอัตโนมัติ

การอำนวยความสะดวกในการใช้บริการของบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรในท่าอากาศยานในการให้บริการผู้โดยสารทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทอท. ได้พัฒนาคู่มือมาตรฐานการบริการสำหรับบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเป็นแนวทางมาตรฐานสำหรับการให้บริการในทุกท่าอากาศยาน และได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการให้บริการบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานในรูปแบบออนไลน์ โดยมีวิทยากรจากมหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาลัยราชสุดา) และ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ร่วมให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง

  • กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการบุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
  • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความพิการ และการดูแลคนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ และออทิสติก
  • การให้ความช่วยเหลือคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
  • การให้ความช่วยเหลือคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายภายในสนามบิน
  • การให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุภายในสนามบิน
  • การให้ความช่วยเหลือคนพิการทางการมองเห็นในสนามบิน

โดยการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นโครงการที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีทั้งในรูปแบบออนไลน์และ/หรือออนไซต์ (On-site)

บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2566