การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ของ ทอท. ล้วนต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และเพื่อดึงดูดพนักงานเหล่านี้ให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ องค์กรควรมีการบริหารจัดการในเรื่องการมีสภาพการจ้างงานที่ดี การประเมินและให้แรงจูงใจพนักงานตามระดับความสามารถโดยไม่แบ่งแยก และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี เรื่องเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญและเป็นปัจจัยขับเคลื่อนกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลของ ทอท. ที่ครอบคลุมทั้ง การพัฒนาบุคลากร การดึงดูดและรักษาบุคลากร การปฏิบัติต่อแรงงานที่ดี การให้ผลตอบแทนและสวัสดิการ ตลอดจนการเคารพซึ่งความหลากหลาย เพื่อให้ ทอท. เป็นบริษัทที่สร้างงานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิตให้กับบุคลากร อันเป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนทั้งในเรื่องการจ้างงานที่เป็นธรรม การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเท่าเทียม และการยอมรับซึ่งความหลากหลาย รวมถึงเสรีภาพในการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง
แนวทางการจัดการ
ทอท. จัดทำแผนแม่บททรัพยากรบุคคล (HR Master Plan) ของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2566 – 2570) ฉบับทบทวน และแผนปฏิบัติงานรายปีงบประมาณ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานภายใต้สภาวการณ์หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยแผนแม่บทฯ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญครอบคลุมทั้งในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การดึงดูดผู้มีความสามารถและการสร้างแรงจูงใจพนักงาน ความเป็นอยู่ที่ดีและสภาพการทํางาน และการส่งเสริมความหลากหลายของพนักงาน
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (Foundation) ของแผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2566 – 2570) ฉบับทบทวน โดยมีฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดําเนินงานตามแผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปีงบประมาณ 2566 – 2570 โดยแบ่งการดําเนินงานออกเป็น 3 โครงการหลัก ได้แก่
- โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กร
- โครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้
- โครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงาน
ทอท.ปลูกฝังจิตสำนึกต่อค่านิยมขององค์กรด้วยองค์ประกอบ 5 ใจ ได้แก่ ให้ใจ มั่นใจ ร่วมใจ เปิดใจ และภูมิใจ ซึ่งส่งเสริมให้พนักงานมีความสามารถและมีทัศนคติที่ดีในการทำงานไปพร้อม ๆ กัน ผ่านโครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรแก่พนักงาน ทอท. ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยพนักงานแต่ละระดับต่างมีส่วนร่วมและบทบาทหน้าที่แตกต่างกันในการผลักดันค่านิยมของ ทอท. โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรจัดขึ้นในสองรูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมและการบรรยายให้ความรู้ และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
1
กิจกรรมและการบรรยายให้ความรู้
โครงการสร้างความคุ้นเคยกับ ทอท.
ทบทวนคุณค่าของ ทอท. ให้กับพนักงาน และให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์แก่ลูกจ้างใหม่ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีี
2
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนเสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร ระยะ 5 ปี(ปีงบประมาณ 2563 – 2567)
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอแนะความคิดเห็น เพื่อร่างแผนเสริมสร้างค่านิยม ทอท.
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Values Direction
ผู้บริหารระดับ 10 ร่วมกันวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่าน และทบทวนความเหมาะสมของค่านิยม 5 ใจของ ทอท. เพื่อให้มีความสอดคล้องกับทิศทางและยุทธศาสตร์องค์กร
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Values in Action
สร้างความเชื่อมโยงค่านิยมองค์กรกับทิศทางธุรกิจและยุทธศาสตร์องค์กรให้แก่ผู้บริหาร ทอท. ระดับ 9 (Change Leader) ที่ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการท่าอากาศยานและผู้อำนวยการฝ่าย
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Values-Based Communication
ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการส่วนระดับ 8 ของ ทอท. อภิปรายถึงการปฏิบัติงาน เพื่อเสาะหาโอกาสการปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และรายงานผลการสัมมนาต่อผู้บริหารระดับสูง
การสัมมนาเครือข่ายผู้ส่งเสริมค่านิยมองค์กร
สร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของคณะทำงานภายใต้ค่านิยม 5 ใจของ ทอท. และกำหนดเครือข่ายผู้ส่งเสริมค่านิยมองค์กร
โครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้
ทอท. ดําเนินโครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ (KM) ตามกระบวนการจัดการความรู้และแนวทางส่งผ่านความรู้สู่กระบวนการจัดการนวัตกรรมของ ทอท. ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการพัฒนากระบวนงาน (Process Improvement) เข้ากับการสร้างนวัตกรรม (Innovation) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงานภายในองค์กรอย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
กระบวนการจัดการความรู้และแนวทางการส่งผ่านความรู้สู่กระบวนการจัดการนวัตกรรมของ ทอท.
(Knowledge Management Model)
ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำระบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารจัดการความรู้และนวัตกรรม ทอท. คณะทำงานการจัดการความรู้ ทอท. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล และส่วนพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและการจัดการความรู้
โครงการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Training) แบ่งออกเป็น 4 ระดับตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
การปฏิบัติการท่าอากาศยาน
Airport Operations: AO
กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 1 - 4
- สร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศ
- มีทักษะในการปฏิบัติการภายในท่าอากาศยาน
- มีทัศนคติเปิดรับต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง
การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับต้น Junior Airport
Management (JAM)
กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 4 - 5
- สร้างความรู้ความเข้าใจในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับต้น
- แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อการแก้ไขปัญหาจากการทำงานได้
- พัฒนาความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม
การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับกลาง Intermediate
Airport Management (IAM)
กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 5 - 6
- บ่มเพาะแนวความคิดและวิสัยทัศน์การบริหารและปฏิบัติงานท่าอากาศยาน
- เข้าใจเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่
- แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
- เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานด้านการตลาด
การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับสูง Senior Airport
Management (SAM)
กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 6 - 7
- บ่มเพาะแนวความคิดและวิสัยทัศน์การบริหารและปฏิบัติงานท่าอากาศยาน
- เข้าใจเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่
- แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
- เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานด้านการตลาด
ตัวอย่างโครงการที่โดดเด่น
1) โครงการสร้างความคุ้นเคยกับ ทอท. (AOT Familiarization)
การสร้างความคุ้นเคยกับ ทอท. ให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. ที่เข้าปฏิบัติงานใหม่เป็นการเตรียมพร้อมในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นให้มีความรู้พื้นฐานด้านการบิน เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการทำงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้พนักงานและลูกจ้าง ทอท. ที่เข้าปฏิบัติงานใหม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานด้านการบิน
- เพื่อให้พนักงาน ทอท. ที่เข้าปฏิบัติงานใหม่มีความรู้ ความเข้าใจการทำงานเป็นทีมและสามารถสานสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างการปฏิบัติงานภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
- เพื่อเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการทำงาน สร้างความยั่งยืนให้กับ ทอท.
- เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน มีความภูมิใจ เกิดความรัก ความผูกพัน ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกอันดีงามในการให้บริการที่ดี ตลอดพัฒนาศักยภาพของพนักงาน และลูกจ้าง ทอท.
หัวข้อวิชา
ภาคทฤษฎี
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทอท.
- ความรู้พื้นฐานด้านการบินสำหรับผู้ปฏิบัติงานท่าอากาศยาน
- ความรู้ทั่วไปด้านธุรกิจและการตลาดของ ทอท.
- จริยธรรมในการทำงานของพนักงาน ทอท.
- การต่อต้านทุจริต
- การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการควบคุมภายในของ ทอท.
- กฏ ระเบียบ และข้อบังคับของพนักงานและลูกจ้าง ทอท.
- สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ของพนักงานและลูกจ้าง ทอท.
- ความรู้ทั่วไปด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การเสริมสร้างค่านิยมองค์กร และวัฒนธรรมองค์กรของ ทอท.
- การทดสอบผ่านระบบ E-Learning
ภาคปฏิบัติ
- ผู้อำนวยการใหญ่พบพนักงานใหม่
- กระบวนทางการวินัย
- สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงาน ทอท.
- สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ทอท.
- กฏ ระเบียบ และข้อบังคับของพนักงาน ทอท.
- กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์ และการทำงานเป็นทีม
- นำเสนอผลงานต่อผู้บริหาร ทอท.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน และมีความรู้พื้นบานด้านการบิน วัฒนธรรมองค์กรในการทำงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และมีวามเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาท ภารกิจหน้าที่ของ ทอท. ซึ่งทำให้เกิดความภูมิใจในองค์กรที่ตนได้เข้าร่วมปฏิบัติงาน ส่งผลให้การดำเนินกิจการของ ทอท. บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งสามารถดำเนินกิจการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง และเป็นผลดีต่อ ทอท. โดยรวมต่อไป
2) โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการท่าอากาศยาน
ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร การพัฒนาและเสริมสร้างประสิทธิภาพของพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทอท. จึงกำหนดแนวทางการพัฒนาพนักงานทุกระดับ ให้มีความรู้ ความสามารถ ทั้งด้านวิชากร เทคโนโลยี เทคนิคการบริหารและความรอบรู้ในกิจการท่าอากาศยานเพื่อนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ส่งผลให้การดำเนินกิจการขององค์กรมีความยั่งยืนต่อไป โดยแบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง
การจัดการท่าอากาศยานระดับต้น (Junior Airport Management)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหาร การปฏิบัติการท่าอากาศยาน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของนักบริหารระดับต้น สามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้รับไปใช้แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถทำงานเป็นทีม มีบุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และมีความพร้อมในการปฏิบัติงาน พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
หัวข้อวิชา
ภาคทฤษฎี
- ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการบินพลเรือน
- ระบบปฏิบัติการด้านการบินของบริษัทสายการบิน
- ระบบขนส่งสินค้าทางอากาศ
- การบริการควบคุมจราจรทางอากาศ
- กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการการบินและท่าอากาศยาน
- การบริหารจัดการการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน
- ความรู้นวัตกรรมขั้นกลาง
- ระบบการเงินและบัญชีท่าอากาศยาน
- การบริหารจัดการความเสี่ยงท่าอากาศยาน
- การตลาดท่าอากาศยาน
- Compliance & Anti - Corruption Plus
- การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (step II)
- ค่านิยมองค์กร
- การบริหารจัดการในเขตการบิน
ภาคสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
หัวข้อเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
(ตัวอย่างเช่น รุ่น 49 คือ หัวข้อ การพัฒนาคุณภาพการบริการของท่าอากาศยาน)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการบริหาร การปฏิบัติการท่าอากาศยานและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
- ผู้เข้ารับการอบมรมมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของนักบริหารระดับต้น และสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปใช้แก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถทำงานเป็นทีม และมีบุคลิก ลักษณะของการเป็นผู้นำ
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ มีความพร้อมในการปฏิบัติงานพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
การจัดการท่าอากาศยานระดับกลาง (Intermediate Airport Management)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีแนวคิด และวิสัยทัศน์ในการบริหาร และปฏิบัติงานด้านกิจการท่าอากาศยาน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการกิจการท่าอากาศยาน
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคการบริหาร และการจัดการสมัยใหม่
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานท่าอากาศยานด้านการตลาด
หัวข้อวิชา
ภาคทฤษฎี
- กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ AOT Core Values
- การจัดการกิจการการบินทั่วไป
- การจัดการของบริษัทสายการบินเอกชนเบื้องต้น
- เศรษฐศาสตร์การขนส่งทางอากาศ
- การบรการในเขตลานจอด
- แผนพัฒนาท่าอากาศยาน
- แผนฉุกเฉินของสนามบิน
- การบริหารการตลาดในธุรกิจท่าอากาศยาน
- การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยาน
10. ระบบการจัดการด้านิรภัยท่าอากาศยาน
11. การบริหารจัดการอาคารผู้โดยสาร
12. การบริหารความเสี่ยง
13. Compliance & Anti - Corruption Extra
14. ความรู้พื้นฐานด้าน Airport Slots
15. การจัดทำและการใช้คู้มือการดำเนินงานสนามบิน
16. แนวคิดทางการตลาดเชิงบริการ (Service Marketing)
17. มองลูกค้าในฐานะมนุษย์ และเข้าใจมนุษย์อย่างลึกซึ้ง (Human Insights)
18. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย B2B และ B2C
ภาคสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
หัวข้อเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
(ตัวอย่างเช่น รุ่น 42 คือ หัวข้อ "Building AOT spirit brand")
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีแนวคิด วัสัยทัศน์ในการบริหาร และปฏิบัติงานด้านกิจการท่าอากาศยาน
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการกิจการท่าอากาศยาน
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารและการจัดการสมัยใหม่
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานท่าอากาศยานด้านการตลาด
โครงการฝึกอบรมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทอท. จัดให้มีหลักสูตรและโครงการพัฒนาบุคลากรที่จําเพาะตามสายงาน เช่น หลักสูตรด้านการปฏิบัติการท่าอากาศยาน หลักสูตรการบริหาร จัดการและความรู้ทั่วไป โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร หลักสูตรด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี หลักสูตรฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร และหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการบินร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติมในแต่ละปีตามความต้องการของแต่ละสายงาน เป็นต้น
โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน ณ จุด Touch Point” ประจำปีงบประมาณ 2566
ในปี 2566 ทอท. มีโครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงานที่โดดเด่น ได้แก่ โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน ณ จุด Touch Point” ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการของทุกท่าอากาศยาน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่การปรับกระบวนการและทัศนคติ (Mindset) จากภายใน การสร้างจิตสำนึกในการให้บริการ (Service Mind) ด้วยการฝึกทักษะการร่วมรู้สึก (Empathetic Skills) การเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างของผู้โดยสารชาวต่างชาติ การฝึกอบรมเพื่อรองรับสถานการณ์ภายใต้ความกดดัน และจิตวิทยาในการสื่อสารในการให้บริการให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. เพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม พนักงาน ทอท. จำนวน 152 คน โดยมีผู้สังเกตการณ์ จากบริษัท รักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน จำกัด (บรท.) จำนวน 37 คน เข้าร่วม ซึ่งรูปแบบการจัดฝึกอบรมแบ่งออกเป็นการฝึกอบรมในระบบ e-Learning และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 4 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1: จำนวน 47 คน
ระหว่างวันที่ 20 - 22 มีนาคม พ.ศ.2566
รุ่นที่ 2: จำนวน 48 คน
ระหว่างวันที่ 3 - 5 เมษายน พ.ศ.2566
รุ่นที่ 3: จำนวน 49 คน
ระหว่างวันที่ 24 - 26 เมษายน พ.ศ.2566
รุ่นที่ 4: จำนวน 45 คน
ระหว่างวันที่ 29 - 31 พฤษภาคม พ.ศ.2566
ประโยชน์ที่พนักงาน ทอท. ได้รับ
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้พัฒนาความรู้และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง คิดเป็นร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับประโยชน์จากการฝึกอบรม คิดเป็นร้อยละ 87 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
ประโยชน์ที่ ทอท. ได้รับ
- ความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มาใช้บริการ ณ จุด Touch Point เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 83.40
- จำนวนข้อร้องเรียนของผู้โดยสารที่มาใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองมีแนวโน้มลดลง
การประเมินผลการจัดการ
ทอท. กําหนดให้ส่วนพัฒนากลุ่มพนักงานผู้มีศักยภาพฝ่ายพัฒนาการบริหาร ทำหน้าที่ติดตามผลการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อกำหนดทิศทางการจัดโครงการฝึกอบรมและโครงการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม และใช้ทบทวนและพัฒนาแผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอนาคต โดย ทอท. ติดตามการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ เงินลงทุนด้านการฝึกอบรม จำนวนหลักสูตร หรือโครงการ ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อคนต่อปี ค่าใช้จ่ายในการอบรมเฉลี่ยต่อคนต่อปี และติดตามผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการลงทุน โดยการคํานวณผลตอบแทนจากการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Return on Investment HCROI) และอัตราการโอนย้ายตำแหน่งภายในของพนักงาน ซึ่งมีการรายงานผลการดําเนินงานดังกล่าวต่อสาธารณะในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจำทุกปี
การดึงดูดผู้มีความสามารถและการสร้างแรงจูงใจพนักงาน
ทอท. เล็งเห็นความสําคัญของการมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีศักยภาพในสถานศึกษาพร้อมกําหนดให้มีระบบสวัสดิการและสภาพการทํางานที่ดี เพื่อดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพให้ร่วมทํางานกับองค์กรในระยะยาว โดย ทอท. ประเมินผลสําเร็จของการดึงดูดบุคลากรผ่านประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราการรับบุคลากรเข้าทํางาน อัตราการลาออกในภาพรวมและภาคสมัครใจ อัตราการกลับมาทํางานของบุคลากรที่ลาคลอดบุตร เป็นต้น พร้อมเปิดเผยรายละเอียดผลการดําเนินงานในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี
ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน
ทอท. สร้างแรงจูงใจโดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้าในสายงานตามระดับความสามารถ โดยพนักงานทุกคนของ ทอท. จะได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลจากผู้บังคับบัญชาเป็นประจําทุกปี เพื่อพิจารณาปรับตําแหน่งของพนักงาน พร้อมกําหนดแนวทางการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถในการทํางานเพิ่มมากขึ้น โดยการประเมินฯ ประกอบด้วย
- การประเมินพนักงานแบบตัวชี้วัดรายบุคคล (Management by objectives)
- การประเมินพนักงานแบบการจัดลำดับ (Formal Comparative Ranking)
- การประเมินสมรรถนะหลัก (Core Competency) แบบหลายด้าน (Multidimensional performance appraisal)
การมอบรางวัลพนักงานดีเด่น
ในทุก ๆ ปี ทอท. คัดเลือกพนักงานดีเด่นทั่วทั้งองค์กร โดยพิจารณาจากผลงานเชิงประจักษ์ที่เกิดจากผลการปฏิบัติงานในภารกิจหน้าที่และเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และการอุทิศทุ่มเทเสียสละของพนักงาน ทอท. ตามค่านิยม ทอท. (Core Values) โดยการมอบรางวัลพนักงานดีเด่นของ ทอท. มี 4 ประเภท ได้แก่
- กลุ่มพนักงานดีเด่น
- กลุ่มพนักงาน ลูกจ้างที่ได้รับการยกย่องเป็นกรณีพิเศษ
- กลุ่มหรือหน่วยงาน ทอท. ดีเด่น
- กลุ่มท่าอากาศยานดีเด่น
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การวิเคราะห์ข้อมูลบุคคล
ทอท. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุคลากร เพื่อค้นหาแนวทางในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถ อาทิ การประยุกต์เครื่องมือทางสถิติเข้ากับการประเมินสมรรถนะของบุคลากร การวางแผนอัตรากำลังคนเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร การค้นหาแนวทางการพัฒนาบุคลากร การว่าจ้างพนักงานใหม่ การค้นหาปัจจัยที่ทำให้พนักงานลาออก และการศึกษาค่าตอบแทนและสวัสดิการของบริษัทคู่เทียบ
การสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงาน
ทอท. ดำเนินการสำรวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานทุกคน (พนักงานประจำและลูกจ้าง) อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการประเมินผ่าน 12 ปัจจัย เช่น ภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กร ความมั่นคงขององค์กร ลักษณะงาน เป็นต้น โดยผลสำรวจจะถูกแจกแจงตามช่วงอายุ เพศ และระดับตำแหน่ง เพื่อนำผลสำรวจดังกล่าวมาพิจารณากำหนดแนวทางในการพัฒนาต่อไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ความเป็นอยู่ที่ดี และสภาพการทํางาน
ทอท.ให้ความสําคัญกับความเป็นอยู่และสภาพการทํางานที่ดีของพนักงาน โดยฝ่ายสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์และฝ่ายการแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานตามนโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงานทุกคนและมอบสวัสดิการและบริการทางการแพทย์ ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี โดย ทอท.มีการทบทวนผลการดําเนินงานตามนโยบายดังกล่าวเป็นประจำ ผ่านการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อสวัสดิการที่ได้รับจากองค์กร และการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงโครงการสวัสดิการต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.
ปฏิบัติตามกฏหมายด้านการแพทย์และสาธารณสุข ข้อกำหนดและมาตรฐานสากลอื่น ๆ ด้านการแพทย์
มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการบริการทางการแพทย์และกำหนดมาตราการต่าง ๆ และตัวชี้วัด
พัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริการทางการแพทย์ และการป้องกันโรคให้เป็นมาตรฐานแก่พนักงาน ลูกจ้าง ทอท. และครอบครัว
พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์แก่พนักงาน และลูกจ้าง ทอท. อย่างเหมาะสม
มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของพนักงาน ลูกจ้าง ทอท. และครอบครัวให้ดีขึ้น
ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการด้านสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ให้แก่พนักงาน และลูกจ้าง ทอท.
พัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ให้มีความรู้ ทักษะ และการทำงานเป็นทีม สร้างจิตสำนึก ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
- สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
- ตรวจสุขภาพประจําปีให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.
- คลินิกประจําท่าอากาศยาน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. รวมทั้งครอบครัว
- โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
- สวัสดิการทุนการศึกษาสําหรับบุตรพนักงานและลูกจ้าง
- กิจกรรมทัศนศึกษาโครงการค่ายเยาวชนในช่วงปิดเทอม
- ห้องให้นมบุตรสําหรับพนักงานภายในท่าอากาศยาน
- โครงการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุให้กับพนักงาน
โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน
เป็นการสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ ทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และด้านการเงินที่ผู้เกษียณควรรู้และมีความสนใจ ตลอดจนมีการถาม - ตอบ จากวิทยากรผู้มีความรู้ และเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าวหัวข้อการบรรยาย อาทิ
- สิทธิประโยชน์ทางการเงินของผู้เกษียณ
- การวางแผนการเงินอุ่นใจในวัยเกษียณ
- การดูแลสุขภาพในวัยเกษียณ
- เตรียมความสุขใจในวัยเกษียณจากการใช้เทคโนโลยี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
พนักงานและลูกจ้างของ ทอท.สามารถแสดงความเห็น ร้องเรียนถึงปัญหา ข้อขัดข้องในการทํางาน รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ผ่านผู้แทนสหภาพแรงงานของแต่ละท่าอากาศยาน โดยผู้แทนสหภาพฯ นําเสนอปัญหา และข้อขัดข้องต่าง ๆ ผ่านคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ทอท. ซึ่งประกอบด้วย ประธานซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 9 คน และผู้แทนฝ่ายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทอท. 9 คน เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหาตามกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และนําไปสู่การยกระดับความผูกพันของพนักงานและลูกจ้างที่มีต่อ ทอท.
โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมของพนักงานและลูกจ้าง ทอท.
ทอท.จัดทําโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับบุคลากรของ ทอท. โดยการสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบัน รวมทั้งความต้องการในสวัสดิการที่เหมาะสมกับพนักงานที่มีช่วงวัยแตกต่างกันผ่านการตอบแบบสอบถามรูปแบบระบบออนไลน์ เพื่อประเมินผลและนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและจัดสวัสดิการให้เหมาะสมต่อไป โดยผลการสํารวจในภาพรวมและประเด็นสําคัญที่พบหรือได้รับการแก้ไขจะมีการเปิดเผยในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี ทั้งนี้ สวัสดิการที่บุคลากรของ ทอท. ได้รับ ณ ปัจจุบันประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ทุนการศึกษาบุตร ค่าช่วยเหลือบุตร เงินช่วยเหลือค่าทําศพ เครื่องแบบพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน กองทุน สํารองเลี้ยงชีพ รถรับ-ส่งพนักงาน บ้านพัก ทอท. สวัสดิการการกู้เงินจากสถาบันการเงินภายนอกในส่วนของการเพิ่มสวัสดิการทางเลือกให้กับพนักงานและลูกจ้าง การเพิ่มรูปแบบการแต่งกายวัน Freestyle Day การเพิ่มห้องสันทนาการ และสวัสดิการอื่น ๆ
การส่งเสริมความหลากหลายของพนักงาน
ทอท. เคารพในความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงานโดยไม่แบ่งแยกเพศ ความเชื่อ ศาสนา และความแตกต่างทางร่างกาย ทอท. จึงให้ความสําคัญกับประเด็นดังกล่าวและระบุไว้ในคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ทอท. (ส่วนของจรรยาบรรณ ทอท.) รวม ถึงปฏิบัติตามพ ระราชบััญญัติิคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตราที่ 8 ของประเทศไทย และได้กำหนดบทลงโทษตามข้อกำหนดว่าด้วยการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษผู้กระทำผิดวินัย สำหรับกรณีการเลือกปฏิบัติและการคุมคามในทุกรูปแบบ รวมถึงการคุกคามทางเพศ นอกจากนี้ ทอท. ได้กำหนดช่องทางการร้องเรียนของการการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม พร้อมก ระบวนการจัดการข้อร้องเรียนที่เป็นระบบ ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ภายในองค์กรให้เป็นที่รับทราบอย่างต่อเนื่อง
ทอท. กําหนดให้มีการประเมินความหลากหลายของพนักงานผ่านประเด็นต่าง ๆ อาทิ สัดส่วนเพศของพนักงานในแต่ละระดับและสายงาน ความแตกต่างของสัดส่วนค่าตอบแทนระหว่างเพศ อัตราการกลับมาทำงานและคงอยู่ของพนักงานที่ลาคลอด ตลอดจนจำนวนกรณีข้อร้องเรียนที่ได้รับการยืนยันด้านการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่ง ทอท.เปิดเผยรายละเอียดตัวชี้วัดที่สำคัญดังกล่าวในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจำทุกปี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2567