ดิจิทัลและนวัตกรรม
ลูกค้า
พันธมิตรทางธุรกิจ
หน่วยงานกำกับดูแล
บุคลากรของ ทอท.
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
ชุมชนและสังคม
ความสำคัญ
การพัฒนาการดำเนินงานของ ทอท. ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยตรงให้กับองค์กร ทั้งในด้านการบริหารจัดการภายในองค์กร การยกระดับการให้บริการ สร้างประสบการณ์การใช้บริการท่าอากาศที่ดีให้แก่สายการบิน ผู้ประกอบการ และผู้โดยสาร ดึงดูดพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ ๆ และเพิ่มประทธิภาพในการดำเนินงานของหน่วยงาน ทอท. เช่น การประยุกต์ใช้ระบบตรวจเช็คหนังสือเดินทางอัตโนมัติ (Automated Passport Control) เพิ่มความรวดเร็วในการตรวจสอบหนังสือเดินทางและลดความแออัดในท่าอากาศยาน การยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ (Biometric Authentication) สร้างความเชื่อมั่นแก่พันธมิตรทางธุรกิจในด้านความปลอดภัย และการพัฒนา Digital Office เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานของพนักงาน ทอท. เป็นต้น นอกจากนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมยังมีส่วนช่วยในเสริมประสิทธิภาพการสื่อสารและการทำงานร่วมกันของหน่วยงานแต่ละภาคส่วน ด้วยการสนับสนุนข้อมูลมีความรวดเร็ว และแม่นยำที่มากยิ่งขึ้น รวมไปถึงประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของข้อมูลผ่านการบรูณาการเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
นโยบายและแนวทางการจัดการ
ทอท. ได้ผนวกรวมนวัตกรรมอยู่ในค่านิยม (Core Value) ที่ ทอท. ยึดมั่นปฏิบัติ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีความมุ่งมั่นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแรงขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่ท่าอากาศยานที่ทันสมัย พร้อมทั้งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่การเป็นท่าอากาศยานที่ดีระดับโลก สร้างโอกาสใหม่ให้เกิดรายได้อย่างสมดุล และส่งมอบคุณค่ากับเศษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน ทอท. ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและด้านนวัตกรรมควบคู่กัน เพิ่มเสริมสร้างประสิทธิภาพของหน่วยงานในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีการกำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ดังนี้
ด้วยกรอบการบริหารจัดการและการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมของ ทอท. ได้วางแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่องค์กรนวัตกรรม (Innovative Organization) และองค์กรดิจิทัล (Digital Organization) ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนข้อมูลผ่านระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในทุกหน่วยงานและระดับของการดำเนินธุรกิจ ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลนและนวัตกรรมเข้ากับการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานของ ทอท. ที่ช่วยเสริมคุณค่าผ่านการให้บริการที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ เช่น ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (Airport Safety and Security) ประสบการณ์ของผู้คนผ่านการใช้บริการท่าอากาศยาน (Customer-Experience) การยกระดับคุณภาพท่าอากาศยานของ ทอท. ต่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวโน้มสากล เป็นต้น อีกทั้ง การดำเนินการทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือที่สามารถปลดล็อคศักยภาพ (Enablers) ขององค์กรและทำให้องค์กรสามารถค้นหาโอกาสและโมเดลทางธุรกิจกิจใหม่ ๆ อย่างไรก็ดี ความท้าทายขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ความรู้ความเข้าใจและการปรับตัวของบุคลากรและแนวปฏิบัติดังเดิมขององค์กรถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีการปรับบุคลากรและกระบวนการต่าง ๆ ให้เท่าทันเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ หรือ การเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีความเหมาะสมกับบริบทของ ทอท. (Equalization) ในระยะแรกก่อน เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ ทอท. ได้มีการติดตามความคืบหน้าของการบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมของส่วนงานภายใน ผ่านตัวชี้วัดระดับยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทนวัตกรรมฯ และแผนปฏิบัติการดิจิทัลฯ อีกทั้ง ทอท. มีการรายงานผลต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อทบทวนและกำหนดมาตรการส่งเสริมความสำเร็จตามเป้าหมายเพิ่มเติมเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
ทอท. ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานขององค์กรเพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัล (Digital Transformation) ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของ ทอท. ที่สามารถช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านที่มีประสิทธิภาพรวมถึงคุณภาพที่สามารถตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในภาพรวมได้อย่างรอบด้าน นอกจากนี้ทิศทางการดำเนินงานยังรวมไปถึงการรองรับแนวโน้มในระดับประเทศและระดับสากล พร้อมกันกับการปรับใช้และการบูรณาการร่วมกับการดำเนินงานของ ทอท. มีการปรับเปลี่ยนองค์กรในองค์รวม เพื่อพัฒนาสมรรถภาพองค์กรให้มีความทันสมัย มีขีดความสามารถการแข่งขันโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จนี้ ดังนั้น ทอท. ต้องมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยน 3 ปัจจัยหลัก ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านองค์กร ได้แก่ บุคคล กระบวนการ และเทคโนโลยี
นอกจากนี้ กลยุทธ์ในการยกระดับองค์กรตามกรอบการดำเนินงานของ ทอท. ตามแผนปฏิบัติการดิจิทัล ปีงบประมาณ 2563 – 2567 ได้ระบุประเด็นที่มีความสอดคล้องในการช่วย ทอท. เปลี่ยนผ่านองค์กร โดยมีความครอบคลุมในประเด็น 4 ประเด็น ดังนี้
Smart Services
พัฒนาและยกระดับการให้บริการของ ทอท. โดยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้งาน (Smart Services)
Digital Organization
พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร และนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
Digital Governance & Digital Literacy
เสริมสร้างธรรมาภิบาลการบริหารจัดการ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ ทอท. ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร
Smart and Security Infrastructure
พัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสิ่งอำนวยความสะดวกระบบความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยขององค์กรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร
ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรไปสู่องคก์กรดิจิทัล ทอท. ได้วางแนวทางโดยอ้างอิงจากทั้ง 4 กลยุทธ์ข้างต้น เพื่อกำหนดกรอบแผนการดำเนินงานดิจิทัล โดยเป้าหมาย Smartest Airport Operation ตาม AOT Digital Roadmap 2024 – 2027 ที่มีการนำกลยุทธ์ทั้ง 4 ด้านมาเป็นรากฐานในการพัฒนาองค์กรตามประเด็นที่มีวางแผนในการบูรณาการร่วมระหว่างการดำเนินงานที่มีอยู่เดิมและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ของ ทอท. มีการดำเนินการผ่านความคาดหวังและความต้องการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ ทอท. เช่นการสนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (Safety & Security) ด้านการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการ (Corporate Governance/Corporate Affairs) ด้านสิ่งแวดล้อม (Green Airport) ด้านการบริหารและการพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กร (Human Resource Development/Human Resource Management) เป็นต้น ซึ่งจะอยู่ในกรอบ ตามกลยุทธ์และแผนทั้งนี้ ก็เพื่อให้เครื่องมือทางเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทอท. ได้แบ่งระดับแผนงานออกเป็น 4 ส่วนสำคัญ คือ
- Digital Application (M1)
- Digital Operation (M2)
- Digital Office (M3)
- Digital Cargo (M4)
ซึ่งทั้ง 4 องค์ประกอบถือเป็นองค์ประกอบหลักในการยกระดับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับทุก ๆ ส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
Digital Application (M1)
ทอท. พัฒนาแอปพลิเคชัน Sawasdee by AOT เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ใช้เชื่อมต่อกับบริการของ ทอท. ที่สะดวกและรวดเร็วให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางในประเทศไทยให้สามารถเข้าถึง เที่ยวบิน เก็ทขึ้นเครื่องบิน แผนที่สนามบินเพื่อความรวดเร็วในการเดินทาง จุดรับสัมภาระ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ร้านขายสินค้า ร้านอาหาร ที่พักและบริการต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีความเจาะจงกับผู้โดยสารมากขึ้น ผ่าน Information driven user experiences อีกทั้งยังเป็นการช่วยโปรโมทธุรกิจท้องถิ่นผ่านแอปพลิเคชันได้อีกด้วย
One App For
All Airports of Thailand
Check Flight
Get your real-time flight alerts
Airline Check-in
Mobile check-in for multiple airlines
Privilege
Enjoy airport exclusive deals
SAWASDEE Pass
Airport Meet & Greet, Buggy and Express lane
A Life Airport
AOT Digital Airport
ทอท.กําหนดทิศทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่ออํานวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารภายในท่าอากาศยานภายใต้แนวคิด “สนามบินมีชีวิต” โดยเปิดตัวแอปพลิเคชันท่าอากาศยาน ทอท. (AOT Airports Application) ซึ่งได้รับการปรับโฉมใหม่เป็นชื่อ SAWASDEE by AOT ในปี 2564 ที่มอบประสบการณ์การใช้ท่าอากาศยานที่น่าดึงดูดและสะดวกสบายแก่ลูกค้า พร้อมส่งเสริมธุรกิจของผู้ประกอบการภายในท่าอากาศยานให้ก้าวไปสู่ Digital Airport ภายในแอปพลิเคชันประกอบด้วยฟังก์ชันต่าง ๆ ดังนี้
Home to Gate
ระบบเตือนและแนะนำเส้นทางจากบ้านสู่ประตูเครื่องบิน เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้ทันเวลาระบบเตือนและแนะนำเส้นทางจากบ้านสู่ประตูเครื่องบิน เพื่อให้ผู้โดยสารเดินทางได้ทันเวลา
CUPPS
เปลี่ยนสมาร์ตโฟน
ให้เป็นเคาน์เตอร์เช็กอิน
โดยไม่ต้องต่อแถว
PBRS
ระบบติดตามกระเป๋าแบบเรียลไทม์
ตั้งแต่ท่าอากาศยาน
ต้นทางไปจนถึงปลายทาง
AOT PASS
กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อการใช้จ่ายแบบไร้สัมผัส
พร้อมได้รับ AOT COIN และ
โปรโมชันต่าง ๆ มากมาย
Explore Function
ศูนย์กลางข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
ร้านอาหาร และที่พักทั่วไทย
Itinerary
ผู้ช่วยอัจฉริยะในการท่องเที่ยว
ซึ่งจะช่วยบันทึก จัดระเบียบ แจ้งเตือน
พร้อมนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ เสมือนมีไกด์คนไทยช่วยดูแล
Virtual Thailand by AOT
เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง
สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยว
แปลกใหม่ในโลกดิจิทัล
Digital Operation (M2)
การให้บริการผู้โดยสารด้วยคุณภาพถือเป็นสิ่งที่ ทอท. ให้ความสำคัญอย่างมาก ทำให้การพัฒนาและยกระดับการให้บริการผู้โดยสาร (Enhance Passenger Experience) เป็นสิ่งที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มคุณค่าการให้บริการผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร ทอท. วางระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง (Common Use Passenger Processing System: CUPPS) เพื่อลดขั้นตอน เพื่มความสะดวกสบายและรวดเร็วให้กับผู้โดยสาร
Digital Office (M3)
เพื่อการทำดำเนินธุรกิจใน 6 ท่าอกาศยานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทอท. ได้ตระหนักถึงการปรับใช้เครื่องมือทางดิจิทัลที่สามารถช่วยให้พนักงานของ ทอท. ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งยังมีการกำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อการมุ่งสู่องค์กรดิจิทัลด้วยการนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลชั้นสูงมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์ของ ทอท. ให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย (Data Analytics)
ระบบบริหารทรัพยากรองค์กร
Enterprise Resource Planning:ERP
ในปี 2566 ทอท. ได้มีการวางรากฐานเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิทัลด้วยการนำระบบบริหารทรัพยากรองค์ (Enterprise Resource Planning: ERP) ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในองค์กรดิจิทัลที่ช่วยในการจัดการทรัพยากรขององค์กรที่มีรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการนำระบบ ERP มาใช้ในการบริหารงานในองค์กร เป็นการนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำงานภายใต้ระบบเดียวกัน ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดในเรื่องของการสื่อสาร การวางแผนงาน การทำงานที่มีความซ้ำซ้อน การเห็นภาพของขั้นตอนการทำงานในองค์กรที่มีความชัดเจนมากขึ้น ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวางแผนล่วงหน้า ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
Digital Cargo (M4)
ทอท. ได้ตระหนักถึงการขนส่งสินค้าที่มีความรวดเร็วและลดความแออัดของการจราจรในเขตพื้นที่สินค้า ดังนั้น ทอท. จึงได้ออกแบบระบบวางแผนการบริหารพื้นที่ให้บริการขนส่งสินค้า (Intelligent Cargo) ที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ด้าน Smart Services เพื่อลดขั้นตอนการผ่านเข้าออกพื้นที่ขนส่งสินค้าผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการควบคุมการเข้าออกพื้นที่ (Smart Access) การบูรณาการข้อมูลกับหน่วยปฏิบัติงาน (Smart Cargo) วางแผนตารางการเข้ารับส่งสินค้า และจัดสรรเวลาขนส่งสินค้าที่ที่มีความแม่นยำแล้วรวดเร็ว (Real-time management)
เทคโนโลยีดิจิทัล : แพลตฟอร์มบูรณาการของคลังสินค้าดิจิทัล
ตามแผนโครงการคลังสินค้าดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานการขนส่ง เป็นแพลตฟอร์มกลางของ ทอท.ที่เชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานระหว่างระบบต่างๆ ของ ทอท. และผู้มีส่วนได้เสีย โดย ทอท. ได้พัฒนาโมดูล (Module) ที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงานในระบบการขนส่งสินค้าทางอากาศของทาอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาความแออัด ลดระยะเวลาการดำเนินการ และเพิ่มความสามารถการบริหารจัดการสินค้าและรถรับส่งสินค้า รวมทั้ง เพิ่มความสามารถในการรองรับสินค้าในพื้นที่เขตปลอดอากร ซึ่ง ทอท. ได้ติดตามประสิทธิผลของการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 Smart Access และระยะที่ 2 Smart Cargo
ในปี 2566 ทอท. ได้ดำเนินการในส่วนของระยะที่ 1 Smart Access แล้วเสร็จในการปรับเปลี่ยนการเข้าถึงคลังสิ้นค้าจากระบบ Analog เป็นระบบ Digital มุ่งเน้นในการลดความแออัดในพื้นที่การออกบัตรอนุญาตเข้าพื้นที่เขตปลอดอากรด้วยการลดระยะเวลาที่เกิดขึ้นในกระบวนการ โดยผู้มาติดต่อคลังสินค้าสามารถลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ของ ทอท. และสามารถติดตามสถานะได้ผ่านจอแสดงสถานะ (Dashboard) ที่เชื่อมต่อกับคลังสินค้าของ ทอท. โดยพบว่าระยะเวลาของผู้ใช้งานในการทำบัตรอนุญาตเข้าพื้นที่เขตปลอดอากรลดลงจากการทำงานแบบเก่า ร้อยละ 59.4 หรือ รวดเร็วขึ้นกว่า 2 เท่าตัว
นวัตกรรม (Innovation)
การขับเคลื่อนองค์กรด้วยกลไกนวัตกรรมตามกรอบการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทด้านนวัตกรรม (Innovation Master Plan) ของ ทอท. 2564 – 2568 ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ด้านการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม (Strategic Innovation Roadmap) และยุทธศาสตร์ด้านนวัตกรรม (Innovation Strategy) ซึ่งการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเปลี่ยนผ่านนั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กรที่มีความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านองค์กรควบคู่ไปด้วยกัน ดังนั้นการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์จึงได้ให้ความสำคัญและมุ่งเน้นไปที่การวางรากฐานไปที่บุคคลากรของ ทอท. ด้วยการบ่มเพาะกระบวนการและกลไกนวัตกรรมซึ่งจะเป็นการพัฒนาทักษะของบุคคลากรที่เป็นทรัพยากรขององค์กร ที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ทอท. สามารถปฏิบัติงานตามยุทธ์ศาสตร์ด้านนวัตกกรรมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ องค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) นวัตกรรมบริการ (Service Innovation) นวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation) และการพัฒนานวัตกรรมด้วยข้อมูล (Data Driven Innovation) ได้สำเร็จตามเป้าหมาย รวมไปถึงการนำสิ่งที่ได้จากการพัฒนาและเปลี่ยนผ่านองค์กรด้านนวัตกรรมมาช่วยผลักดันการดำเนินธุรกิจเพื่อการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนด้วยแนวคิดการสร้างนวัตกรรม สู่ Net Zero ทอท. ไร้คาร์บอน อีกหนึ่งประการ
นอกจากนี้เพื่อให้การวางรากฐานการขับเคลื่อนองค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่อง ทอท. ได้จัดทำ
- คู่มือการบริหารจัดการนวัตกรรมของ ทอท. ที่ได้รวบรวมความรู้ล่าสุดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และการจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในแก่พนักงาน ทอท. ซึ่งเนื้อหาครอบคลุมเรื่องรูปแบบและระดับของนวัตกรรม กระบวนการรวบรวมความคิดสร้างสรรค์ และวัฒนธรรมนวัตกรรม (Innovation Culture)
- วางนโยบายที่ช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านองค์กรมุ่งสู่องค์กรนวัตกรรมด้วยนโยบายการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมที่ให้ความสำคัญกับการจัดการนวัตกรรมทั้งในการบริการ กระบวนการทำงาน รูปแบบธุรกิจ/ภารกิจใหม่ทุกระดับภายในองค์กร
ดังนั้น ทอท. จึงมุ่งมั่นส่งเสริมให้บุคลากรใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรมทั่วองค์กรผ่านการกำหนดนโยบายการส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการนวัตกรรม ซึ่งมี 7 องค์ประกอบ ดังนี้
กระบวนการนวัตกรรมของ ทอท. 6 ขั้นตอน
ในปี 2566 มีการดำเนินงานด้านนวัตกรรมของ ทอท. ภายใต้การบริหารนวัตกรรมในปี 2566 ทั้งหมด 46 โครงการ
โครงการส่งเสริมนวัตกรรมองค์กร
ทอท. ดำเนินโครงการส่งเสริมนวัตกรรมองค์กรหลัก 4 โครงการ ประกอบด้วย (1) Innovation Leadership (2) Creative Collaboration (3) โครงการจัดกิจกรรม วันนวัตกรรม (AOT Innovation Day) และ (4) โครงการชุมชนนักพัฒนา (Dev.Crew) ที่ร่วมมือกับองค์กรภายนอก อาทิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ผลักดันแนวคิดต่าง ๆ ของพนักงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 13,000 คน ในการรับรู้และเข้าใจการดำเนินงานด้านนวัตกรรมขององค์กร และมีแนวคิดในการร่วมผลักดันให้พนักงานให้มีแรงบันดาลใจในการดำเนินงานเพื่อพัฒนานวัตกรรมตามเป้าหมายการดำเนินงานของ ทอท.
นอกจากนี้ กิจกรรมของโครงการยังมีส่วนช่วยในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เข้าอบรมที่มาจากส่วนงานต่าง ๆ เพื่อผสานความร่วมมือกันในอนาคต เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและสร้างคุณค่าร่วมให้แก่ผู้ใช้บริการท่าอากาศยานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดย ทอท. และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดเชิงนวัตกรรมระหว่างการดำเนินงานตามกรอบการจัดการนวัตกรรมของ ทอท. กว่า 40 นวัตกรรม และมีแนวคิดเชิงนวัตกรรมที่อยู่ในขั้นตอนการนำไปใช้จริงและประเมินผล จำนวน 9 นวัตกรรม เช่น ระบบการติดตามสัมภาระของผู้โดยสารที่ป้องกันการศูนย์หายการส่งและบันทึกข้อมูลด้านพิธีการบินที่เพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงาน เป็นต้น
การจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
นอกจากนี้การดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานที่มีการปรับใช้การบูรณาการร่วมของเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ทอท. ได้ตระหนักถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงในประเด็นต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานร่วม เพื่อลดความเสี่ยง เพื่อผลลัพธ์จากการดำเนินงานด้วยประสิทธิภาพที่ดีได้มาตรฐาน ดังนั้น ทอท. ได้มีการประเมินความเสี่ยงจากการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม โดยมีประเด็นความเสี่ยง เช่น ความปลอดภัยของมูลในรูปแบบดิจิทัล การดำเนินงานที่สอดคล้องกับด้านกฎระเบียบและมาตรฐาน ประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยเครือข่าย ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของบุคคลากรที่ไม่ตอบรับกับการเปลี่ยนผ่าน ความเสี่ยงที่เกิดจากผู้รับบริการ/ผู้ใช้งานมีความต้องการและความคาดหวังที่เปลี่ยนไป ความเสี่ยงจากการที่นวัตกรรมอาจนำการดำเนินการไปสู่ความคลุมเคลือของการตีความกฎระเบียบและมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติ (Compliance) หรืออาจจะนำไปสู่กิจกรรมที่มาตรฐานและกฎระเบียบยังไม่พัฒนาไปถึงและอาจส่งผลกระทบต่อองค์กรได้ เป็นต้น ดังนั้น ทอท. จึงมีการจัดการความเสี่ยงในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม ตามขั้นตอนจัดการความเสี่ยง ได้แก่
- การระบุ (Risk Identification)
- การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการจัดลำดับความเสี่ยง (Risk Analysis/ Prioritization)
- การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)
- การจัดการความเสี่ยงด้วยการหาแนวทางในการลดความรุนแรงหรือแนวทางในการป้องกันความเสี่ยง (Risk Mitigation & Risk Prevention)
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2567