ความพึงพอใจของลูกค้า

icon stakeholder

ลูกค้า

icon stakeholder

พันธมิตรทางธุรกิจ

06 icon สื่อมวลชน

สื่อมวลชน
และสื่อออนไลน์อื่น ๆ

ความสำคัญ

การปฏิบัติการของท่าอากาศยานให้เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการระดับสากล ประกอบกับมีการรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของลูกค้า ทอท. โดยตรง ซึ่งครอบคลุมทั้งผู้โดยสาร สายการบิน และผู้ประกอบการ นอกจากนี้ การให้บริการที่น่าประทับใจเหนือความคาดหมายยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทยอีกด้วย

แนวทางการจัดการ

ทอท. ให้ความสําคัญกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท. โดยกําหนดให้การยกระดับคุณภาพการให้บริการเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ตามแผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2566 - 2570) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวก เพื่อรักษาระดับคุณภาพการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ทอท. สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านการวิเคราะห์จากจุดการให้บริการของท่าอากาศยาน (Airport Service Touchpoint) โดยมีเครื่องมือประเมินการให้บริการของท่าอากาศยาน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ระดับการให้บริการ (Level of Service : LOS) คุณภาพการให้บริการ (Airport Service Quality : ASQ) และการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า (Customer Feedback)

จุดให้บริการของท่าอากาศยาน

(Airport Service Touch Point)

LoS
ASQ
feedback

ระดับการให้บริการ
(Level of Service: LoS)

      เป็นเครื่องมือประเมินระดับการให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออก ในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการรอคอยและความหนาแน่นของผู้โดยสารต่อพื้นที่ ตามจุดต่าง ๆ ของท่าอากาศยาน เช่น พื้นที่ห้องโถงรับรองผู้โดยสาร เคาน์เตอร์เช็กอิน จุดตรวจค้นร่างกาย จุดตรวจสัมภาระผู้โดยสารขาออก และพื้นที่ผู้โดยสารรอขึ้นเครื่อง โดยมีเกณฑ์การพิจารณาระดับการให้บริการออก 4 ระดับ ได้แก่ Under-Provided, Sub-Optimum, Optimum และ Over-Design

คุณภาพการให้บริการ
(Airport Service Quality : ASQ)

      ทอท. เข้าร่วมโครงการประเมินคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยาน (ASQ) ของสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ACI) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มอุตสาหกรรมให้บริการท่าอากาศยาน โดยการประเมินดังกล่าวจะสํารวจคะแนนความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มาใช้ท่าอากาศยานด้วยแบบสอบถามมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ตัวอย่างหัวข้อการประเมินการบริการท่าอากาศยาน เช่น ระบบขนส่ง ภาคพื้นดิน การตรวจบัตรโดยสาร (Check-In) สิ่งอํานวยความสะดวก ร้านอาหาร สุขา ความสะอาด บรรยากาศภายในอาคารผู้โดยสาร เป็นต้น

      ในปีงบประมาณ 2565 ทอท. ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ASQ เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่อาจส่งผลให้การประเมินไม่สะท้อนภาพการดำเนินงานที่แท้จริง ดังนั้น ทอท. จึงได้นำรายงาน Airport Service Touch Point Report (ASTP) มาใช้ในการประเมินและพัฒนาคุณภาพการให้บริการเป็นการทดแทนการเข้าร่วมโครงการฯ และนำผลการดำเนินงานที่ได้มาประกอบการจัดทำกลยุทธ์เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการกลับเข้าร่วมโครงการ ASQ ในปี 2566

การรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า (Customer Feedback)

      ทอท. จัดเก็บสถิติข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และคําชมเชยที่มีต่อ ทอท. (Feedback) เพื่อนํามาวิเคราะห์และพัฒนาการให้บริการ โดยคํานึงถึงทฤษฎี ผลงานวิจัย แนวทางการปฏิบัติที่ดี และการดําเนินการของท่าอากาศยานชั้นนําต่าง ๆ ของโลก ปัจจุบัน ทอท. มีการติดตามความคิดเห็นของลูกค้าตามเส้นทางการใช้งานของผู้โดยสารผ่านจุดการให้บริการ (Touch Point) จํานวน 17 จุด เพื่อนํามาประมวลผลและนําไปสู่การยกระดับการให้บริการเป็นประจําทุกเดือน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

จุดการให้บริการการของท่าอากาศยาน (Airport Service Touch Point)

airport-service-touch-point

การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า

       ทอท. ใส่ใจและเข้าถึงความต้องการของลูกค้า โดยดําเนินการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าทุกกลุ่ม (Customer Satisfaction Survey) ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าผู้โดยสาร กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการภายในท่าอากาศยาน และกลุ่มลูกค้าสายการ ด้วยการสุ่มตัวอย่างกลุ่มลูกค้าและใช้เทคนิควิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบ Face-to-Face ที่มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการประเมินความภักดีของลูกค้าหรือ Net Promotor Score (NPS) แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทอท. จึงได้ปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบ Face-to-Face มาเป็นการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ตามความเหมาะสม ซึ่งผลการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าจะถูกรวบรวมไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนกลยุทธ์และโครงการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทํางาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ

       ทอท. กําหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะที่หลากหลายตามความเหมาะสมสําหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยข้อร้องเรียนที่ผ่านการคัดกรองจะถูกส่งต่อไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไขตามกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนและจัดทํารายงานสถิติ สำหรับผลการดําเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนจะถูกรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงของแต่ละท่าอากาศยานเป็นประจําทุกเดือนและทุกไตรมาส และสื่อสารให้กับฝ่ายสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และฝ่ายพัฒนาวิทยาการและนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าและสร้างความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทบทวนแนวทางการจัดการข้อร้องเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลูกค้าผู้โดยสาร

ผู้ประกอบการ

แบบฟอร์มข้อร้องเรียน ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ภายในท่าอากาศยาน

  • AOT Contact Center 1722
  • Facebook AOT Official
  • aotpr@airportthai.co.th
  • Online Chat ผ่าน www.airportthai.co.th
  • AOT Contact Center 1722
  • เบอร์ติดตอภายใน
  • Line
  • กล่องรับฟังความคิดเห็น
  • รับตรงผ่านหนังสือแจ้งเรื่องร้องเรียน

สายการบิน

  • AOT Contact Center 1722
  • อีเมล csd@airportthai.co.th (Customer Service Department)
  • แบบฟอร์มข้อร้องเรียน ณ เคาน์เตอร์
  • ประชาสัมพันธ์ในท่าอากาศยาน
  • Facebook AOT Official
  • อีเมล aotpr@airportthai.co.th
  • การประชุมคณะกรรมการอำนวยความสะดวก (FAL) รายเดือน
  • การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
  • ธุรกิจการบินกรุงเทพ (AOC) รายเดือน
  • การประชุมอนุกรรมการรักษาความปลอดภัย (SMS) รายไตรมาส
  • การประชุม Baggage Committee รายเดือน
  • การประชุม Working Group รายเดือน
  • การนัดหมายเข้าพบ / การเยี่ยมเยียน / การสัมมนา

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2566