กระบวนการกำหนดเนื้อหารายงาน

กระบวนการกำหนดเนื้อหาการรายงานด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องตามหลักการพื้นฐานของ GRI Standards ฉบับปี 2021 และ หลักการทวิสารัตถภาพ (Double Materiality) มี 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1

การทำความเข้าใจบริบทของ ทอท.

ทอท. รวบรวมข้อมูลทางกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด (การให้บริการและการขยายศักยภาพท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง) และผู้มีส่วนได้เสียกับ ทอท. ทั้ง 7 กลุ่ม (กลุ่มลูกค้า กลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแล กลุ่มบุคลากรของ ทอท. กลุ่มชุมชนและสังคม กลุ่มสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ และกลุ่มบริหารจัดการด้านการเงินและกลุ่มผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่มีความเกี่ยวข้องกับ ทอท. เพื่อทำความเข้าใจบริบทของ ทอท. และเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดเนื้อหารายงานในลำดับถัดไป

ขั้นตอนที่ 2

การระบุผลกระทบ

ทอท. ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนระบุผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของ ทอท. โดยครอบคลุมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงและที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งทางบวกและทางลบ ระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบที่เกิดโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ และผลกระทบที่สามารถเยียวยาได้และไม่ได้

ขั้นตอนที่ 3

การประเมินผลกระทบ

ทอท. ร่วมกับผู้เขี่ยวชาญด้านความยั่งยืนจัดทำการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอกเพื่อประเมินผลกระทบที่เกิดจากองค์กรสู่ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดจากภายนอกสู่องค์กรจากเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Double Materiality) โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลกระทบ ประกอบด้วยความรุนแรงของผลกระทบ (Scale) ขอบเขตของผลกระทบ (Scope) ความสามารถในการเยียวยาผลกระทบ (Irremediability) โอกาสในการเกิด (Likelihood) เพื่อพิจารณาระดับของผลกระทบ ที่ครอบคลุมผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน

ขั้นตอนที่ 4

การจัดลำดับความสำคัญเพื่อรายงาน

ทอท. ดำเนินการจัดลำดับความสำคัญผลกระทบผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบและผู้เขี่ยวชาญด้านความยั่งยืน เพื่อรวบรวมผลกระทบที่อยู่ในระดับสำคัญ (สำคัญมากที่สุด สำคัญมาก และสำคัญ) ไปนำเสนอและขออนุมัติจาก คณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนและคณะกรรมการธรรมาภิบาล มารายงานเป็นประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนของ ทอท.

* หมายเหตุ  ทอท. มีแผนดำเนินการตรวจรับรองความถูกต้องของข้อมูลในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยองค์กรอิสระในอนาคต ข้อมูลที่เปิดเผยในปัจจุบันเป็นข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องภายในโดยผู้บริหารของแต่ละสายงาน

ประเด็นสาระสําคัญด้านความยั่งยืนของ ทอท.

ประเด็นสาระสําคัญด้านความยั่งยืนของ ทอท. ที่ได้รับการระบุและประเมินโดยผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอกองค์กร มีจํานวนทั้งสิ้น 16 ประเด็น ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

สำคัญที่สุด

สำคัญมาก

สำคัญ

  • ความพึงพอใจของลูกค้า
  • พันธมิตรทางธุรกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
  • ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
  • ดิจิทัลและนวัตกรรม
  • พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เศรษฐกิจหมุนเวียน (การจัดการขยะ)
  • ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยาน
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
  • ขีดความสามารถในการรองรับ
    และการเข้าถึงท่าอากาศยาน
  • ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว
  • การจัดการน้ำและน้ำเสีย
  • ผลกระทบทางเสียง
  • การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
  • สิทธิมนุษยชน
  • งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต

มิติเศรษฐกิจ

มิติสิ่งแวดล้อม

มิติสังคม

ขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

ทอท. ระบุขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละประเด็นสาระสําคัญด้านความยั่งยืน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

ประเด็นสาระสำคัญ
ด้านความยั่งยืน
ขอบเขตผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ภายในองค์กร ภายนอกองค์กร
บุคลากรของ ทอท. ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ หน่วยงานกำกับดูแล ชุมชนและสังคม สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่น ๆ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน
และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
มิติเศรษฐกิจ
การกำกับดูแลกิจการ การบริหารความเสี่ยง และการกำกับดูแลการปฏิบัติ

โครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถในการรองรับและโอกาสทางธุรกิจถึงท่า

ความพึงพอใจของลูกค้า

ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

พันธมิตรทางธุรกิจ

ดิจิทัลและนวัตกรรม

ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว

มิติสังคม
ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของท่าอากาศยาน

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมชน

สิทธิมนุษยชน

งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต

มิติสิ่งแวดล้อม
พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมากาศ

ผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท.

ทอท. ระบุและคัดเลือกผู้มีส่วนได้เสียที่สําคัญผ่านการพิจารณาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจได้รับผลกระทบหรือมีอิทธิพลต่อการดําเนินธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. ยังใช้เกณฑ์ในการกําหนดชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานที่มีความสําคัญตามการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment: EIA) การกําหนดพื้นที่ตามแผนฉุกเฉินของท่าอากาศยาน (Airport Emergency Plan) และการประเมินผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยาน (Noise Contour) อีกด้วย
ทอท. เข้าถึงผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่มโดยใช้เครื่องมือในการสานสัมพันธ์ 4 ประการ นั่นคือ การเข้าถึงและสานสัมพันธ์ การเรียนรู้และจัดทํากรณีศึกษา การกําหนดแนวทางการดําเนินงานและดูผลกระทบต่อธุรกิจ และการประยุกต์เป็นแนวทางและปรับกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

graf-stakeholder
ผู้มีส่วนได้เสีย วิธีการ ความคาดหวัง การตอบสนองความคาดหวัง
ลูกค้า
  • สายการบิน
  • ผู้โดยสาร
  • ผู้ประกอบการ
  • การสํารวจความพึงพอใจลูกค้าประจําปี
  • การประชุมร่วมกับสายการบิน
  • กิจกรรมบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
  • Contact Center และ ช่องทางในการร้องเรียน และแสดงความคิดเห็นต่าง
  • จุดประชาสัมพันธ์ภายในท่าอากาศย
  • เว็บไซต์และสื่อสังคมขององค
  • การประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอก
  • การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้บริหาร
  • จัดสรรพื้นที่สิ่งอํานวยความสะดวกและการเชื่อมต่อที่ทั่วถึงและเพียงพอ่อความต้องการในการดําเนินธุรกิจของท่าอากาศยาน เพื่อดึงดูดและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า โดยครอบคลุมผู้ใช้ท่าอากาศยานทุกกลุ่ม (Universal Design)
  • ให้บริการและตอบสนองต่อความคาดหวังของลูกค้า
  • ด้วยความรวดเร็วโดยใช้นวัตกรรมและคํานึงถึงความต้องการที่หลากหลาย
  • เป็นท่าอากาศยานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • มีกลยุทธ์ด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเป็นสายการบินคา์บอนต่e
  • มีการดําเนินงานด้านการใช้ทรัพยากรและของเสียเชิงรุกเกินกว่าข้อบังคับตามกฎหมาย
  • ดําเนินงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
  • >โดยรวมถึงการจัดการสัตว์อันตรายในท่าอากาศยานและวัตถุแปลกปลอมที่อยู่บนพื้นที่เขตการบิน (FOD)
  • สนับสนุนและให้ข้อมูลการจราจรและสิ่งอํานวยความสะดวกภายในท่าอากาศยานอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  • การสื่อสารผ่านสื่อสังคมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่รวดเร็วและทั่วถึง
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อการวางแผนการพัฒนาการดําเนินงานร่วมกัน
  • ติดตามตรวจสอบและพัฒนาการให้บริการและสิ่งอํานวยความสะดวกของท่าอากาศยานเป็นประจํา
  • ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการให้บริการและการประยุกต์ใช้
  • พัฒนาผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและรักษามาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป็นท่าอากาศยานคาร์บอนต่ำ
  • ดําเนินมาตรการจัดการทรัพยากรและการแยกและกําจัดของเสีย
  • รับการรับรองมาตรฐานด้านการบิน ด้านการรักษา ความปลอดภัย และด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยตามมาตรฐานสากล
  • เตรียมพร้อมและฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินในสถานการณ์ต่างๆ
  • เพิ่มช่องทางการสื่อสารแก่ผู้ที่มีส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอ และครอบคลุม
  • จัดโครงการเพื่อสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าสายการบินและผู้ประกอบการ
พันธมิตรทางธุรกิจ
  • ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ
  • ผู้รับเหมาแรงงานและบริการ
  • หน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายในท่าอากาศยาน
  • คู่ความร่วมมือ
  • การจัดประชุมพันธมิตรทางธุรกิจ
  • Contact center และ ช่องทางในการร้องเรียนและแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ
  • การประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกของ ทอท.
  • การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนผู้บริหาร
  • ความเพียงพอของบุคลากรในการให้บริการผู้โดยสาร
  • ส่งเสริมการใช้และร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่ทันสมัยเพื่อบริหารจัดการ ผู้โดยสารและสร้าง ประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้บริการ
  • การขยายธุรกิจหรือดำเนินโครงการบรรลุตามแผนที่ตั้งไว้และผลประกอบการที่ดีขึ้น
  • การสนับสนุนข้อมูลการฝึกอบรมสิ่งอํานวยความสะดวกหรือพื้นที่ในการดําเนินงานของพันธมิตรทางธุรกิจ
  • คุ้มครองด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยรวมถึงสภาพการจ้างงานของแรงงานภายในท่าอากาศยานโดยเฉพาะแรงงานก่อสร้างต่างด้าว
  • สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและได้มาตรฐานพร้อมดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและรองรับภัยธรรมชาติต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
  • สนับสนุนคู่ค้าและพันธมิตรในการลดก๊าซเรือนกระจกในท่าอากาศยาน
  • รับฟังปัญหา แลกเปลี่ยน ความเห็นและพัฒนากระบวนการทำงานตามที่ได้ประชุมหารือกันอย่างสม่ำเสมอ
  • กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการที่เอื้อต่อการดำเนินงานของคู่ค้า
  • ปฏิบัติตามข้อตกลง สัญญา กฎหมาย
  • พัฒนาผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและรักษามาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป็นท่าอากาศยานคาร์บอนต่ำ
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักหลักทรัพย์
  • ผู้ถือหุ้นภาครัฐ
  • ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
  • การประชุมนักวิเคราะห์
  • การให้ข้อมูลกับผู้ถือหุ้น ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • Call center
  • เว็บไซต์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสังคม
  • กิจกรรมพาผู้ถือหุ้นเยี่ยมชมกิจการ
  • การประชุม/พูดคุยทางโทรศัพท์ (Conference Call)
  • การจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ ในระดับที่น่าพอใจ และมีการจ่ายอย่างสมํ่าเสมอ
  • ผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Capital Gain)
  • ผลประกอบการที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โปร่งใส และมั่นคง
  • ดำเนินธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันที่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับท่าอากาศยานอื่นในต่างประเทศ
  • แสดงเป้าหมายและทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตขององค์กร
  • การเตรียมพร้อมรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านนวัตกรรมและสังคมผู้สูงอายุ
  • สื่อสารการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใสในเชิงรุก ผ่านช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย รวมถึงการมีการจัดการการสื่อสารที่ดีในสภาวะวิกฤต
  • ห้ความช่วยเหลือพันธมิตรและผู้ประกอบการภายในท่าอากาศยานโดยคำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจขององค์กร
  • สนับสนุนการฟื้นฟูการท่องเที่ยว
  • เพิ่มช่องทางการติดต่อที่หลากหลาย สะดวก และเข้าถึงง่าย
  • จัดทําข้อมูลการดําเนินงานขององค์กรเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ตลอดจนผู้ที่สนใจ ให้ทราบถึงธุรกิจขององค์กร ทิศทางการดําเนินธุรกิจ หรือผลประกอบการรายไตรมาส เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้
  • จ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับผลประกอบการขององค์กร
  • นําผู้ถือหุ้นเยี่ยมชมกิจการและติดตามผลการดําเนินงานขององค์กร
หน่วยงานกำกับดูแล
  • สำนักงานกำกับดูแลคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • กระทรวงคมนาคม
  • กระทรวงการคลัง
  • สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
  • านักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • การประชุมร่วมกับหน่วยงานกํากับดูแล
  • การดําเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและการประเมินผลจากหน่วยงานกํากับดูแล
  • การประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกของ ทอท.
  • ดําเนินธุรกิจที่สอดคล้องตามกฎหมายหรือเหนือกว่ากฎหมาย
  • ดูแลความปลอดภัยของระบบ ขอมูลสารสนเทศอย่างมีมาตรฐานและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
  • พัฒนาผลการดําเนินงานในเรื่องที่เป็นประเด็นสาระสําคัญสําหรับองค์กรอย่างต่อเนื่อง
  • ดําเนินธุรกิจโดยคํานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • ระบบการจัดการองค์กรที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยยกระดับความรวดเร็วในการทำงาน
  • ดําเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
  • รายงานข้อมูลด้านความยั่งยืนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และโปร่งใส
  • ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจอย่างถูกต้องโปร่งใส
  • ลดหรือดูแลผลกระทบเชิงลบ ด้านสิ่งแวดล้อมให้มีมาตรฐานที่สูงกว่ากฎหมายกําหนดและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชนโดยรอบท่าอากาศยาน
  • เข้าร่วมการประเมินและเข้าชี้แจงข้อมูลกับหน่วยงานที่กํากับดูแลอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  • ร่วมมือกับหน่วยงานกํากับดูแลเพื่อส่งเสริมการดําเนินโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ศึกษาและพัฒนากระบวนการดําเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง
  • ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ ทอท. ซึ่งมีองค์ประกอบในเรื่องการเป็นองค์กรดิจิทัล
ชุมชนและสังคม
  • ชุมชนและสังคมโดยรอบ
  • ชุมชนและสังคมในระดับประเทศ
  • ลงพื้นที่เพื่อสอบถามและตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงสอบถามความต้องการของชุมชน
  • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ และสื่อสังคม
  • การประชุมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกของ ทอท.
  • ดําเนินงานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการคัดกรองผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เดินทางเข้ามาในประเทศ
  • ดูแลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมต่อชุมชน
  • ดูแลผลกระทบจากแรงงาน ก่อสร้างท่าอากาศยานที่มาพักอาศัยบริเวณชุมชน
  • การช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • การสื่อสารและการสนับสนุนชุมชนอย่างรวดเร็วในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • จัดโครงการหรือกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนโดยเฉพาะด้านการศึกษาและการท่องเที่ยว
  • สื่อสารการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนในเชิงรุก เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคม
  • ความโปร่งใสในกระบวนการกํากับดูแลของ ทอท.
  • ห้การสนับสนุนพื้นที่ภายในท่าอากาศยานเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจท้องถิ่น
  • ดำเนินการอย่างมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย โดยเข้าร่วมโครงการ ACI Airport Health Accreditation เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยจากโรคระบาดสำหรับท่าอากาศยาน
  • ศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนากระบวนการจัดการผลกระทบ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมในชุมชน
  • ดําเนินกิจกรรมเพื่อสังคมที่ส่งเสริมทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาชุมชนในระยะยาวอย่างยั่งยืน เช่น โครงการ AOT Selected โครงการ AOT พี่อาสา และโครงการในระดับท่าอากาศยานอื่น ๆ พร้อมเพิ่มการสนับสนุนในสภาวะฉุกเฉินในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19
  • สื่อสารการดําเนินงานทาง ช่องทางออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก และสื่อสาธารณะต่าง ๆ
บุคลากรของ ทอท.
  • พนักงานประจำ
  • ลูกจ้างชั่วคราว
  • พนักงานจัดจ้าง
  • กรรมการผู้อํานวยการใหญ่พบพนักงานและสื่อสารผ่านเสียงตามสายในองค์กร
  • การสํารวจความผูกพันและความพึงพอใจของพนักงานต่อองค์กรประจําปี
  • ช่องทางการติดต่อผ่านทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น สื่อสังคมต่าง ๆ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร อีเมล
  • ความปลอดภัยในการทํางาน
  • ความมั่นคงและสวัสดิการที่ดีเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • การให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลตามสภาวะเศรษฐกิจ
  • ความก้าวหน้าในอาชีพตามความรู้ความสามารถโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
  • รับการรับรองระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • จัดทําแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลเพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากรและรักษาบุคลากร
  • ทบทวนค่าตอบแทนของพนักงานให้สอดคล้องกับผลการดําเนินงานขององค์กร และสภาวะทางเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบิน
  • จัดสวัสดิการในระยะยาวให้แก่พนักงานและครอบครัว
  • กําหนดกิจกรรมเพื่อสร้างความผูกพันและกําลังใจให้กับพนักงาน
สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์อื่น ๆ
  • สื่อมวลชน
  • ผู้มีอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ (Influencers)
  • ให้ข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กรให้กับกลุ่มสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ เช่น สถานะทางการเงินของ ทอท. โครงการที่ ทอท. ริเริ่มขึ้นใหม่ หรือโครงการเดิมที่มีการต่อยอด ความสำเร็จที่ได้รับ
  • การแถลงข่าวเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ
  • กิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ร่วมกับสื่อมวลชนท้องถิ่นในแต่ละท่าอากาศยาน
  • ข้อมูลด้านสถานการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ของ ทอท.
  • การตอบสนองในการให้ข้อมูลที่รวดเร็ว
  • การสื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมเพื่อสังคมในระดับชุมชนรายท่าอากาศยานและการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับองค์กรที่มากขึ้น
  • จัดทำแผนการการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ เพื่อการตอบสนองด้านข้อมูลที่รวดเร็ว
  • เผยแพร่ข้อมูลด้านความยั่งยืนในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน รายงานประจำปี และบนเว็บไซต์หลัก รวมถึงสื่อออนไลน์อื่น ๆ ของ ทอท.

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2566