โครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถในการรองรับและโอกาสทางธุรกิจ
ลูกค้า
พันธมิตรทางธุรกิจ
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน
และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
ชุมชน และสังคม
สื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อื่น ๆ
การบริหารขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศโดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน โดยมุ่งเน้นการนำ Digital Technology มาใช้ในระบบ บำรุงรักษาท่าอากาศยาน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้โดยสาร สายการบิน และผู้้ใช้บริการได้อย่างประสิทธิภาพ
นโยบายและแนวทางการจัดการ
ทอท. ดำเนินงานตามนโยบาย แผนการดำเนินงาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ในการขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้ใช้บริการท่าอากาศยานและการพัฒนาธุรกิจ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีความต่อเนื่องในทุกมิติและสามารถตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียอย่างครอบคลุม โดยมีเป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถทั้งภายนอกและภายในเพื่อให้เป็น “สนามบินระดับโลก” ตามวิสัยทัศน์องค์กร “ทอท.เป็นผู้ดำเนินการและจัดการท่าอากาศยานที่ดีระดับโลก: การมุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัย และสร้างรายได้อย่างสมดุล” (AOT Operates the World’s Smartest Airports) ดำเนินงานภายใต้พันธกิจ “ประกอบและส่งเสริมกิจการท่าอากาศยาน รวมทั้งการดำเนินกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับการประกอบกิจการท่าอากาศยานโดยคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน”ทอท. มีการวางแผนการดำเนินงานในการขยายขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศตามแผน “แม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง” อย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการขยายขีดความสามารถทางธุรกิจที่สอดคล้องกับ “แผนแม่บทด้านกิจการระหว่างประเทศของ ทอท. ปีงบประมาณ 2561 - 2567 (AOT International Business Development Master Plan)” ที่ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนในหลากหลายประเด็น ตัวอย่างเช่น การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับท่าอากาศยานนานาชาติผ่านกิจกรรมต่างๆ การเข้าร่วมและสนับสนุนเชิงนโยบายแก่สมาคมการค้าที่มีแนวทางการดำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำเนินงานของ ทอท. เป็นต้น
ด้วยการผสมผสานการผลักดันขีดความสามารถทางธุรกิจของตามกลยุทธ์ข้างต้น ทอท. สามารถเพิ่มระดับการเข้าถึงการบริการของผู้โดยสารที่มากขึ้นที่มาพร้อมกับคุณภาพในการบริหารจัดการธุรกิจท่าอากาศยานตามมาตราฐานสากลที่มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพของการดำเนินงานในด้าน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งนี้ การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของ ทอท. มีการดำเนินงานผ่านการพัฒนาจากทั้งภายในและภายนอก ดังนี้
ขีดความสามารถและโอกาสทางธุรกิจจากภายใน
(Airport Accessibility and Business Opportunity from Internal Development)
การขยายขีดความสามารถในการรองรับของท่าอากาศยานตามแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานของ ทอท. เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการผู้โดยสาร
ทอท. กำหนดแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานที่สอดคล้องตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ทอท. กระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี โดยมีฝ่ายแผนพัฒนาท่าอากาศยาน ภายใต้สายงานยุทธศาสตร์ และทุกฝ่ายภายใต้สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินงานพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารตามแผนแม่บทฯ ซึ่งประกอบไปด้วย 6 แผน สำหรับท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. แผนแม่บทฯ ดังกล่าวได้รับการทบทวนเป็นประจำเพื่อควบคุมให้การดําเนินงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายและสอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการบิน โดยปัจจุบัน ทอท. มีการวางเป้าหมายระยะยาวของแผนพัฒนาท่าอากาศยานของ ทอท. ไว้ถึงปี พ.ศ.2583 ดังนี้
ขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ของ ทอท.
หน่วย: ล้านคนต่อปี
หมายเหตุ: ข้อมูลที่แสดงเป็นการวางแผนในอนาคตอาจมีการทบทวนและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ความสามารถในการรองรับ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานดอนเมือง
ท่าอากาศยานเชียงใหม่
ท่าอากาศยานหาดใหญ่
ท่าอากาศยานหาดใหญ่
ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
อาคารผู้โดยสารใหม่ หรือ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 Satellite 1: SAT 1
ทอท. ได้ก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร SAT1 โดยเป็นโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่มีวงเงินการลงทุนประมาณ 39,760 ล้านบาท เพื่อต้องการรองรับปริมาณนักเดินทางจากทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น และลดการแออัดของผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี โดยอาคารผู้โดยสาร SAT1 เป็นอาคารขนาด 4 ชั้นที่มีขนาดพื้นที่กว่า 216,000 ตารางเมตร พร้อมกับหลุมจอด 28 หลุมและการออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable Design) โดยมีระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ การใช้แสงธรรมชาติส่องสว่างพื้นที่ วัสดุกันความร้อน และแผง Solar Cell เพื่อลดการใช้พลังงาน
การยกระดับและส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะในการเดินทาง เข้า - ออก ท่าอากาศยานที่สะดวกสบาย ประหยัด
และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ทอท. ตระหนักถึงความสำคัญในการเชื่อมต่อระบบการคมนาคมภาคพื้นดินจึงพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมอย่างต่อเนื่องตามแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานโดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐรัฐวิสาหกิจและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะเข้าสู่ใจกลางเมืองโดยรถโดยสารสาธารณะ รถโดยสารรับจ้าง และการเชื่อมโยงกับรถไฟฟ้า ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง
ท่าอากาศยาน | การขนส่งทางบก | การขนส่งทางราง |
---|---|---|
ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ (BKK) |
ทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) สายกรุงเทพ - พัทยา - มาบตาพุดฒ ทางยกระดับบางนา - ตราด Airport Shuttle Bus BKK - DMK |
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ทลิงก์ |
ท่าอากาศยาน ดอนเมือง (DMK) |
ดอนเมืองโทลล์เวย์และทางหลวงวิภาวดี - พหลโยธิน Airpot Shuttle Bus DMK - BKK รถโดยสาร Public bus จาก DMK ไป → A1 สวนจตุจักร (สถานีรถไฟฟ้า BTS) - สถานีขนส่งหมอชิต → A2 สวนจตุจักร - อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิฒ → A3 ประตูน้ำ - สวนลุมพินี → A4 ถนนข้าวสาร - สนามหลวง |
เส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือและสายเหนือ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) |
ท่าอากาศยาน ภูเก็ต (HKT) |
ทางหลวงหมายเลข 402 Phuket Smart Bus |
- |
ท่าอากาศยาน เชียงใหม่ (CNX) |
เส้นทางหลวงหมายเลข 11 Airport Shuttle Bus |
- |
ท่าอากาศยาน หาดใหญ่ (HDY) |
เส้นทางหลวงหมายเลข 4135 Airport Shuttle Bus |
- |
ท่าอากาศยาน แม่ฟ้าหลวง เชียงราย (CEI) |
เส้นทางหลวงหมายเลข 1209 | - |
จุดเรียกแท็กซี่อัตโนมัติ (Kiosk)
ที่รองรับการใช้งานของผู้พิการในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
การอํานวยความสะดวกในการเดินทางของผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางเข้า - ออกท่าอากาศยานและการเชื่อมต่อกับระบบคมนาคมภาคพื้นดินแบบบูรณาการ เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้โครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทอท. ได้ติดตั้งระบบหน้าจออัจฉริยะสำหรับการบอกตำแหน่งรถโดยสารประจำทางแบบ Real-Time และรองรับการใช้งานของผู้พิการในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
โครงการ Freezone Smart Access
ทอท. ดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Face recognition) ระบบกล้องอ่านป้ายทะเบียน (License plate recognition) ติดตั้ง ณ จุดตรวจค้นช่องทางผ่านบุคคล (Access control : AC) และสถานีตรวจสอบสินค้า (Checking Post : CP) รวมถึงตู้จำหน่ายบัตรอนุญาตบุคคลและยานพาหนะอัตโนมัติ (ID Card Self-Services Kiosk) เฉพาะประเภทบัตรอนุญาตบุคคลและยานพาหนะสำหรับเข้า-ออกพื้นที่กำกับดูแล เขตปลอดอากร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชนิดชั่วคราวไม่เกิน 24 ชั่วโมง ในพื้นที่เขตปลอดอากรของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อตรวจสอบการเข้า-ออกพื้นที่กำกับดูแลเขตปลอดอากร ทสภ. และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานระหว่าง ทอท. และหน่วยงานภายนอก
ระบบตรวจบัตรโดยสารขึ้นเครื่องด้วยตัวเอง
ทอท. ได้นำเทคโนโลยีระบบบริการผู้โดยสารมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในชั่วโมงเร่งด่วน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการภาคพื้น (Ground Handing) ด้วยระบบ CUPPS (Common Use Passenger Processing System) ซึ่งประกอบด้วย
CUSS (Common Use Self Service): ระบบเช็คอินด้วยตนเอง
CUBD (Common Use Bag Drop): ระบบโหลดสัมภาระด้วยตนเอง
PVS (Passenger Validation System): ระบบตรวจสอบยืนยันตัวตนผู้โดยสาร
SBG (Self-Boarding Gate): ระบบประตูทางออกขึ้นเครื่องอัตโนมัติ
ขีดความสามารถและโอกาสทางธุรกิจจากภายนอก
(Airport Accessibility and Business Opportunity from External Development)
การสร้างเครือข่ายผ่านบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน
(Sister Airport Agreement: SAA)
ทอท. ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน (Sister Airport Agreement : SAA) กับองค์กรที่บริหารท่าอากาศยานระหว่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2552 โดยปัจจุบันมีองค์กรที่ได้จัดทำ SAA ร่วมกับ ทอท. รวมทั้งสิ้น 13 องค์กร ครอบคลุม 17 ท่าอากาศยาน จาก 10 ประเทศในการติดตามการดำเนินงาน ทอท. กำหนดให้มีการประชุมของผู้บริหารระดับสูงเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในแต่ละปี และเพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการบริหารงานท่าอากาศยาน นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง ทอท. และพันธมิตรทางธุรกิจ ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในเรื่องต่าง ๆ เพื่อเป็นการรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำไปส่งเสริมการตลาดและการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มปริมาณเที่ยวบินและการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างท่าอากาศยานของ ทอท. และท่าอากาศยานภายใต้ SAA
การสรรหาโอกาสในการลงทุนหรือการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนที่ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจในกับ ทอท.
ในด้านของโอกาสทางธุรกิจที่ไม่ใช่การบิน (Non-Aeronautical Business)
เพื่อการสร้างเสริมโอกาสในการลงทุนทางธุรกิจของ ทอท. ได้ทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนผ่านโครงการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยานเพื่อการ จัดการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา เพื่อการร่วมทุนและการลงทุนที่มีโอกาสพัฒนาในอนาคต โดยสามารถนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างท่าอากาศยานในรูปแบบของ ประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจท่าอากาศยาน ความสามารถทางด้านการเงิน การสร้างความสัมพันธ์และการพัฒนาบทบาทผู้นำ ซึ่งในขั้นต้นสามารถดำเนินการผ่านการให้การอบรมในประเด็นที่เป็นจุดแข็งของ ทอท. เช่น ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย การพัฒนาขีดความสามารถในการรองรับการเติบโตทางธุรกิจ การบริหารจัดการวิกฤติ และความต่อเนื่องทางธุรกิจ การเพิ่มรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน การจัดการผู้มีส่วนได้เสีย เป็นต้น สำหรับการจัดอบรมถือเป็นการวางรากฐานด้านการสรรหาโอกาสทางการลงทุน ตัวอย่างเช่น ทอท. สามารถใช้จุดแข็งในด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยานในการสนับสนุนผ่านโครงการความร่วมมือด้วยโครงการการอบรมเพื่อให้ได้การรับรองซึ่งมีความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจท่าอากาศายานสำหรับการเติบโตของธุรกิจที่ต้องรองรับผู้โดยสารที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องสามรถตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
การมีส่วนร่วมในเชิงรุกกับสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ACI) เพื่อหารือและผลักดันมาตรฐานท่าอากาศยาน ทั้งในด้านการให้บริการ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ เป็นสมาคมการค้าของท่าอากาศยานทั่วโลกเพื่อ สนับสนุนความร่วมมือและดูแลผลประโยชน์ของท่าอากาศยาน สมาชิก รวมถึงพันธมิตรการบินทั่วโลก ผ่านมาตรฐานและนโยบายที่ พัฒนาขึ้นในด้านที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้บริการ ระบบสารสนเทศ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงจัดการจัดฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้แนวทางปฏิบัติที่ดีเป็นประจำ
ทอท. เป็นสมาชิก ACI ตั้งแต่ปี 2534 และได้รับเกียรติให้เป็นตัวแทนท่าอากาศยานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านความปลอดภัยท่าอากาศยาน การรักษาความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ทรัพยากรมนุษย์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศท่าอากาศยาน และการจัดสรรตารางการใช้ท่าอากาศยาน (Slot) รวมถึงได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นคณะทํางานฉพาะกิจด้าน COVID-19 ซึ่งการได้รับบทบาทเหล่านี้ใน ACI นับเป็นการเพิ่มโอกาสในการกำหนด ทิศทางการดําเนินงาน ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อโอกาสทางธุรกิจ การตลาด และการเป็นผู้นําด้าน การให้บริการท่าอากาศยานให้กับ ทอท. ทั้งนี้ ทอท. เปิดเผยตัวเลขค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนองค์กรภายนอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างโปร่งใสเป็นประจำทุกปีในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อแสดงความโปร่งใสในการดําเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ดี นอกจากนี้การสนับสนุนสมาคมการค้าของ ทอท. ยังได้พิจารณาถึงกิจกรรมที่แต่ละสมาคมการค้าได้กำหนดถึงกิจกรรม จุดประสงค์ และจุดยืนภายในสมาคมที่มีความสอดคล้องเกี่ยวกับการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ภายใต้ข้อตกลง Paris Agreement ด้วยความมุ่งหวังถึงการผลักดันวาระการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2567