จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

ลูกค้า

พันธมิตรทางธุรกิจ

หน่วยงานกำกับดูแลกิจการ

บุคลากรของ ทอท.

ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์

ชุมชนและสังคม

สื่อมวลชน และสื่อออนไลน์
ทอท. ได้ดําเนินงานโดยยึดมั่นบนหลักจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปราศจากการกระทําที่ส่อไปในทางทุจริตทุกรูปแบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มและตอบสนองต่อเจตนารมณ์ของมาตรฐานทางจริยธรรมของรัฐวิสาหกิจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
นโยบาย
ทอท. กําหนดให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดําเนินงาน และได้กําหนดนโยบายธรรมาภิบาล นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน และจรรยาบรรณ ทอท. ซึ่งระบุอยู่ใน “คู่มือการกํากับดูแลกิจการที่ดี พ.ศ.2565” นอกจากนี้ ทอท. มีความมุ่งมั่นต่อการดําเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในทุกกระบวนการ โดยกําหนด “แนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า ทอท.” เพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าของ ทอท. ดําเนินงานอย่างโปร่งใส มีจริยธรรม เคารพสิทธิ มนุษยชน ดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของลูกจ้าง และคํานึงถึงผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมจากการดําเนินงาน ผ่านการกํากับดูแลกิจการและแนวทางการปฏิบัติที่ดี
ประเด็น | นโยบายที่เกี่ยวข้อง |
---|---|
การทุจริตคอร์รัปชันและสินบน |
|
การเลือกปฏิบัติ | คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี พ.ศ.2567
|
การรักษาความลับของข้อมูล |
|
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ |
|
การแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม และการกัดกันทางการค้า |
|
การฟอกเงิน และการใช้ข้อมูลภายใน โดยมิชอบ |
|
การจัดการสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปอลดภัย |
|
การแจ้งเบาะแส / ข้อร้องเรียน | ขั้นตอนการปฏิบัติ การรับข้อร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแสของ ทอท.* |
* ทอท. กําหนดขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสด้านจริยธรรมในการดําเนินงานอย่างเป็นทางการ เพื่อติดตามและดําเนินการ แก้ไขทุกข้อร้องเรียนที่ได้รับแจ้ง
รายละเอียดเพิ่มเติม
แนวทางการจัดการ
แนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
ทอท. ได้กําหนดแนวปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อให้บุคลากรของ ทอท. ยึดถือโดยมีเนื้อหาสําคัญ ดังนี้
ไม่ข้องเกี่ยวกับคอร์รัปชัน
ทั้งทางตรงและทางอ้อม
งดรับของขวัญที่อาจกระทบต่อการตัดสินใจ
ในการปฏิบัติหน้าที่หรือการดําเนินงานของบริษัท
มีกระบวนการสรรหา พัฒนา
และประเมินความสามารถบุคลากรที่สะท้อน
ความมุ่งมั่นในการต่อต้านคอร์รัปชัน
ปฐมนิเทศพนักงานใหม่
รวมถึงสื่อสารและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง
จัดช่องทางการรายงานและคุ้มครองพนักงานที่รายงานการทุจริต
มีการสื่อสารนโยบายแก่ผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ ตลอดจนสาธารณชน
มีระบบการควบคุมภายในและการเก็บหลักฐานเพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้
มีการรายงานผลสอบทานและทบทวนนโยบายและแนวทางปฏิบัติเป็นประจำทุกปี
การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตของ ทอท.
AOT adheres to fraud risk management guidelines according to AOT Fraud Risk Management Handbook as follows:
1
กระบวนการป้องกันการทุจริต
2
กระบวนการตรวจพบการทุจริต
3
กระบวนการตอบสนองต่อการทุจริตที่เกิดขึ้น
- กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจและนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต
- สื่อสารและอบรมให้ความรู้แก่พนักงาน
- การสอบทานประวัติบุคลากรและบุคคลที่สามเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและสื่อสารข้อกังวล
- มีกระบวนการตรวจสอบและควบคุมภายในที่เข้มแข็ง
- กลไกการแจ้งเหตุหรือเบาะแสการทุจริต
- การตรวจสอบและการติดตามความเสี่ยงด้านการทุจริต
- กำหนดกระบวนการสอบสวนภายในองค์กร
- มีมาตรการแก้ไขเพื่อจัดการกับเหตุการณ์ทุจริตที่เกิดขึ้น
- กำหนดบทลงโทษและความรับผิดชอบ
- มีแนวปฏิบัติด้านการเปิดเผยข้อมูลด้านการทุจริต
ช่องทางในการสื่อสารจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจและการกำกับดูแลที่ดีของ ทอท.

ช่องทางรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนด้านจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจและการทุจริต
-
-
- จดหมายจ่าหน้าซองถึง
คณะกรรมการ ทอท. กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ หรือผู้อํานวยการ สํานักตรวจสอบ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ตู้ปณ.3 ปณฝ. ดอนเมือง กทม. 10211 - anti-corruption_center@airportthai.co.th
- แจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียนด้านการทุจริต
- จดหมายจ่าหน้าซองถึง
-
ทั้งนี้ ทอท. คุ้มครองข้อมูลการร้องเรียนเป็นความลับและไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของแหล่งข้อมูลของผู้ร้องเรียนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นในกระบวนการทางกฎหมาย
อัพเดตล่าสุด วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2567