ยั่งยืนด้วยสังคม

สิทธิมนุษยชน

ทอท.ตระหนักถึงการดำเนินกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าการให้บริการท่าอากาศยาน ตั้งแต่การก่อสร้างท่าอากาศยานจนถึงการให้บริการ ว่าอาจมีความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า ผู้ใช้บริการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมโดยรอบท่าอากาศยาน ทอท.จึงมุ่งดำเนินงานอย่างเคารพเละปกป้องสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียจากความเสี่ยงดังกล่าว เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมั่นใจว่า ทอท.ดำเนินงานตามแนวความคิด “การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน” อย่างแท้จริง และเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อความต่อเนื่องของธุรกิจและภาพลักษณ์องค์กรอีกด้วย

นโยบาย

ทอท.ดำเนินงานตามนโยบายสิทธิมนุษยชนที่ ประกาศใช้ในปี 2561 ซึ่งสอดคล้องตามองค์ประกอบพื้นฐานของแผนวิสาหกิจ (Foundation) แนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า และจรรยาบรรณทางธุรกิจของ ทอท. ซึ่งบังคับใช้ทั่วองค์กร โดยมีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่และฝ่ายบริหารความเสี่ยงเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว

นโยบายสิทธิมนุษยชนของ ทอท.จัดทำขึ้นตามหลักการสากล ได้แก่ หลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อนุสัญญาหลักด้านสิทธิแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และหลักการว่าด้วยการปกป้องสิทธิ การเคารพสิทธิ และการเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น หรือ Ruggie’s Framework

นโยบายสิทธิมนุษยชนฉบับนี้ครอบคลุมสิทธิของพนักงาน คู่ค้าธุรกิจ ลูกค้า และชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียดครอบคลุมการเคารพกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดกระบวนการรับฟังและช่องทางรับข้อร้องเรียนพร้อมระบบบริหารจัดการข้อร้องเรียน และมีมาตรการเยียวยาในกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

SR 18 p.143

แนวทางการจัดการ

ทอท.ตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เพื่อประเมินประเด็นความเสี่ยงและกำหนดมาตรการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นสาระสำคัญขององค์กร พร้อมกำหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะด้านสิทธิมนุษยชนที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ ตามรายละเอียดดังนี้

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Du

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท.

การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท.ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนหลักดังนี้

  1. การระบุประเด็นสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน

ทบทวนประเด็นที่มีสาระสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนในการก่อสร้างและให้บริการท่าอากาศยาน ในผู้มีส่วนได้เสียใน จากแหล่งข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนที่น่าเชื่อถือ แหล่งข้อมูลในกลุ่มอุตสาหกรรม และแหล่งข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญภายใน

  1. การประเมินความเสี่ยงของประเด็นสำคัญด้านสิทธิมนุษยชน

ประเมินความเสี่ยงของประเด็นต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ความรุนแรง และโอกาสในการเกิดผลกระทบ

พร้อมพิจารณาทั้งความเสี่ยงที่มีอยู่ตามธรรมชาติและความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่หลังมีมาตรการลดผลกระทบในปัจจุบัน

  1. จัดทำทะเบียนความเสี่ยง

ระบุมาตรการลดผลกระทบเพิ่มเติมในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่พบว่ายังมีความเสี่ยงสูงหลังมีมาตรการลดผลกระทบ และติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานเป็นประจำ

  1. เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าในการดำเนินงาน

เปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าในการดำเนินงานและสัดส่วนความครอบคลุมในการบังคับใช้มาตรการลดผลกระทบในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ

ผลการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ในปี 2562 ทอท.ดำเนินการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้ขอบเขต ดังนี้

  • สถานที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของ ทอท. : 6 ท่าอากาศยาน และ สำนักงานใหญ่ (คิดเป็น ร้อยละ 100)
  • คู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Tier 1) : ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ สำนักงานใหญ่
Picture2

ขอบเขตของมาตรการการจัดการ

  • สถานที่ปฏิบัติงานภายใต้ความควบคุมของ ทอท. : 6 ท่าอากาศยาน และ สำนักงานใหญ่ คิดเป็น ร้อยละ 100
  • คู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Tier 1) : ปัจจุบัน ทอท.มีมาตรการจัดการความเสี่ยงครอบคลุม ร้อยละ 50 ของกลุ่มคู่ค้าผู้รับเหมาทางตรง (Tier 1) ที่ได้รับการระบุว่ามีความเสี่ยง โดยจะขยายขอบเขตการกำหนดมาตรการให้ครอบคลุมคู่ค้าและผู้รับเหมา ร้อยละ 100 ในอนาคต

การจำแนกผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลกระทบในแต่ละประเด็น

การจำแนกผู้มีส่วนได้เสียที่อาจได้รับผลก

ช่องทางรับข้อร้องเรียน

ทอท.กำหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อคิดเห็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ โดยมีกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนและข้อคิดเห็นอย่างเป็นระบบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกประเด็นที่ ทอท.ได้รับ จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้ดีขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนในวงกว้างต่อไป

Picture3