ความพึงพอใจของลูกค้า
ความสำคัญ
การบริหารจัดการและการปฏิบัติการภายในท่าอากาศยานของ ทอท. ส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน ซึ่งประกอบด้วย สายการบิน ผู้โดยสาร และผู้ประกอบการเชิงพานิชย์ภายในอาคาร โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ เช่น การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที การจัดลำดับการบินที่ดีทำให้การจราจรทางอากาศยานดำเนินไปได้ด้วยความรวดเร็วและปราศจากอุปสรรคในการดำเนินงาน การจัดพื้นที่ใช้สอยของอาคารท่าอากาศยานให้มีความสะอาดและสะดวกสบาย ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการท่าอากาศยานของ ทอท. เป็นต้น คุณภาพการบริการก็คือปัจจัยหนึ่งที่กำหนดความสำเร็จขององค์กร ทอท. ตระหนักดีว่าความพึงพอใจของลูกค้าจะเกิดขึ้นจะนำมาซึ่งผลกำไรและชื่อเสียงที่ดีในระยะยาว ในทางตรงกันข้าม หาก ทอท. ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ อาจส่งผลเชิงลบต่อความพึงพอใจของลูกค้าและเชื่อมโยงถึงความเชื่อมั่น ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงของ ทอท. ผ่านการบอกต่อ (Words of Mouth) ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งอาจขยายเป็นผลกระทบในวงกว้างได้ ทอท. จึงมุ่งมั่นพัฒนาและรักษาคุณภาพการให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานการบินขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) และสภาสมาคม ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airport Council International : ACI) อย่างเคร่งครัด
นโยบายและแนวทางการจัดการ (Policy and Approach)
1.
ทอท. จัดทำแผนแม่บททางธุรกิจ (Master Business Plan) ประจำปีงบประมาณ 2566 - 2570 เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการพัฒนาธุรกิจและการตลาดของ ทอท. รวมถึงรวบรวมแผนงานและโครงการทางธุรกิจต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักตามแผนวิสาหกิจของ ทอท. ประจำปีงบประมาณ 2566 - 2570 ฉบับทบทวน (ประจำปีงบประมาณ 2566) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงปริมาณผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้น เพื่อให้ ทอท. สามารถวางแผนการดำเนินงานและโครงการต่าง ๆ ให้สามารถตอบสนองนโยบายในการเพิ่มรายได้ทั้งที่เกี่ยวกับกิจการการบิน (Aeronautical Business) และไม่เกี่ยวกับกิจการการบิน (Non-Aeronautical Business) และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจของ ทอท. ตามกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์หลักของแผนวิสาหกิจของ ทอท. รวมถึงเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดยปัจจุบัน ทอท. มีกลุ่มธุรกิจ (Business Units) ต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับ 3 ยุทธศาสตร์ตามแผนวิสาหกิจของ ทอท. ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : Aeronautical Business
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : Non - Aeronautical Business
ยุทธศาสตร์ที่ 7 : Business Development
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาธุรกิจของ ทอท. โดยตรง ซึ่งมีการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) เป็นหน่วยธุรกิจที่มีส่วนช่วยสนับสนุนหน่วยธุรกิจอื่น ๆ โดยจะกำหนดกลยุทธ์วางกระบวนการ การเก็บข้อมูล การเดินทางของข้อมูล และระบบที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งสนับสนุนทีมให้บริการหรือทีมขาย ในการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า แบบครบวงจร ดังแผนภาพต่อไปนี้
ในปีงบประมาณ 2566 ทอท. จะมุ่งเน้นการดำเนินการโครงการเข้าถึงความต้องการของลูกค้า ปีงบประมาณ 2566 – 2567 ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจให้สามารถต่อยอดสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระยะกลางถึงระยะยาว รวมถึงการก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ด้านรายได้จากการบริหารลูกค้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจ (B2B) (ผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์) ต่อกระบวนการให้บริการด้านพาณิชย์ของ ทอท. หรือกระบวนการสนับสนุนการประกอบกิจการจาก ทอท. อีกทั้งเป็นการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า โดยนำผลการดำเนินงาน (ผลการวิจัยตลาด) ที่ได้มาต่อยอดในการร่วมมือทำแผนการตลาด / แคมเปญ / โปรโมชันร่วมกันระหว่างลูกค้าผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ และ ทอท. รวมถึงจากการจัดทำโครงการดังกล่าว สามารถประเมิน คะแนนความพึงพอใจของลูกค้ากลุ่มธุรกิจ (B2B) ในระบบการประเมินกระบวนการปฏิบัติงานและการจัดการ. (Enablers) ของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงใช้เป็นตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ (4.3 พัฒนาประสิทธิภาพการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ) โดยยังคงไว้ ซึ่งการสำรวจความต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการท่าอากาศยานของ ทอท. และผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ของ ทอท.
2.
ทอท. กำหนดให้ค่าคะแนนความพึงพอใจด้านคุณภาพการให้บริการตามโครงการจัดอันดับคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยาน (Airport Service Quality: ASQ) ตามมาตรฐานสากล เป็นตัวชี้วัดในยุทธศาสตร์ที่ 4: Intelligent Services พัฒนาการให้บริการที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยการนำดิจิทัล (Digital) มาใช้ในการดำเนินงานและปฏิบัติการท่าอากาศยาน รวมถึงส่วนงานสนับสนุน (Back Office) สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านการวิเคราะห์จากจุดการให้บริการของท่าอากาศยาน (Airport Service Touch Point) ซึ่งบูรณาการข้อมูลจากเครื่องมือประเมินการให้บริการของท่าอากาศยาน 4 ส่วน ทั้งข้อมูลในเชิงปริมาณ ได้แก่ ระดับการให้บริการ (Level of Service : LOS) ข้อมูลในเชิงคุณภาพ ได้แก่ คุณภาพการให้บริการ (Airport Service Quality : ASQ) การรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า (Customer Feedback) และการสนทนาแบบกลุ่มกับผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์และสายการบิน (Focus Group)
การสำรวจความพึงพอใจ (Customer Satisfaction Survey)
ระดับการให้บริการ
(Level of Service: LoS)
เป็นเครื่องมือประเมินระดับการให้บริการแก่ผู้โดยสารทั้งขาเข้าและขาออก ในเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการรอคอยและความหนาแน่นของผู้โดยสารต่อพื้นที่ ตามจุดต่าง ๆ ของท่าอากาศยาน เช่น พื้นที่ห้องโถงรับรองผู้โดยสาร เคาน์เตอร์เช็กอิน จุดตรวจค้นร่างกาย จุดตรวจสัมภาระผู้โดยสารขาออก และพื้นที่ผู้โดยสารรอขึ้นเครื่อง โดยมีเกณฑ์การพิจารณาระดับการให้บริการออก 4 ระดับ ได้แก่ Under-Provided, Sub-Optimum, Optimum และ Over-Design
คุณภาพการให้บริการ
(Airport Service Quality: ASQ)
ทอท. เข้าร่วมโครงการประเมินคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยาน (ASQ) ของสภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (ACI) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มอุตสาหกรรมให้บริการท่าอากาศยาน โดยการประเมินดังกล่าวจะสํารวจคะแนนความพึงพอใจของผู้โดยสารที่มาใช้ท่าอากาศยานด้วยแบบสอบถามมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ตัวอย่างตัวชี้วัด ในการประเมินการบริการท่าอากาศยาน เช่น จุดออกบัตรโดยสาร (Check-In) การให้บริการรถขนส่งสาธารณะ (Public Transport) ความพึงพอใจต่อร้านค้า/ร้านอาหาร (สินค้า/บริการ) (Shop & Restaurant) จุดตรวจค้นผู้โดยสารและสัมภาระ (Security) การให้บริการของพนักงานท่าอากาศยาน (Airport Staff) เป็นต้น
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า
(Customer Feedback)

ทอท. จัดเก็บสถิติข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และคําชมเชยที่มีต่อ ทอท. (Feedback) เพื่อนํามาวิเคราะห์และพัฒนาการให้บริการ โดยคํานึงถึงทฤษฎี ผลงานวิจัย แนวทางการปฏิบัติที่ดี และการดําเนินการของท่าอากาศยานชั้นนําต่าง ๆ ของโลก ปัจจุบัน ทอท. มีการติดตามความคิดเห็นของลูกค้าตามเส้นทางการใช้งานของผู้โดยสารผ่านจุดการให้บริการ (Touch Point) จํานวน 17 จุด เพื่อนํามาประมวลผลและนําไปสู่การยกระดับการให้บริการเป็นประจําทุกเดือน
การสนทนาแบบกลุ่มกับผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์และสายการบิน
(Focus Group)
ทอท. ดำเนินการสอบถามความพึงพอใจกับตัวแทนสายการบินและผู้ประกอบการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการทั้งแบบ Face-to-Face และออนไลน์ โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้า (Net Promotor Score: NPS)

ทอท. แต่งตั้งฝ่ายบริการลูกค้า เป็นคณะทำงานที่ประกอบด้วยส่วนบริการลูกค้า บุคคลสำคัญ และลูกค้าสัมพันธ์ และส่วนจัดการข้อร้องเรียนของแต่ละท่าอากาศยาน เพื่อติดตามผลการสำรวจความพึงพอใจ การสนทนาแบบกลุ่มกับผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์และสายการบิน (Focus Group) และรายงานที่แจ้งผ่านทางช่องทางการร้องเรียน โดยในแต่ละปีงบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะประชุมเป็นประจำทุกเดือนใน 5 หัวข้อ ดังนี้
ช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
ทอท. กําหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะที่หลากหลายตามความเหมาะสมสําหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม โดยข้อร้องเรียนที่ผ่านการคัดกรองจะถูกส่งต่อไปยังส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการปรับปรุงแก้ไขตามกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนและจัดทํารายงานสถิติ สำหรับผลการดําเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนจะถูกรายงานต่อผู้บริหารระดับสูงของแต่ละท่าอากาศยานเป็นประจําทุกเดือนและทุกไตรมาส และสื่อสารให้กับฝ่ายสื่อสารองค์กร ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และฝ่ายพัฒนาวิทยาการและนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการแก่ลูกค้าและสร้างความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทบทวนแนวทางการจัดการข้อร้องเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ลูกค้าผู้โดยสาร
- แบบฟอร์มข้อร้องเรียน ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ภายในท่าอากาศยาน
- ☎ AOT Contact Center 1722
- Facebook: AOT Official
- Email: aotpr@airportthai.co.th
- www.airportthai.co.th > ติดต่อเรา > ติดต่อและรับเรื่องร้องเรียน
ผู้ประกอบการ
- AOT Contact Center 1722
- เบอร์ติดตอภายใน
- Line
- กล่องรับฟังความคิดเห็น
- รับตรงผ่านหนังสือแจ้งเรื่องร้องเรียน
สายการบิน
- แบบฟอร์มข้อร้องเรียน ณ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ในท่าอากาศยาน
- ☎ AOT Contact Center 1722
- Facebook: AOT Official
- Email:
- csd@airportthai.co.th (Customer Service Department)
- aotpr@airportthai.co.th
- การประชุมคณะกรรมการอำนวยความสะดวก (FAL) รายเดือน
- การประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน
- ธุรกิจการบินกรุงเทพ (AOC) รายเดือน
- การประชุมอนุกรรมการรักษาความปลอดภัย (SMS) รายไตรมาส
- การประชุม Baggage Committee รายเดือน
- การประชุม Working Group รายเดือน
- การนัดหมายเข้าพบ / การเยี่ยมเยียน / การสัมมนา
ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2567