พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความสำคัญ

การดำเนินงานภายในท่าอากาศยานและการขับเคลื่อนธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานจำเป็นต้องมีการใช้พลังงานและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลย้อนกลับหาธุรกิจของ ทอท. (Positive Feedback Loop) เช่น อุณหภูมิที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ ทอท. ใช้พลังงานในการปรับอากาศอาคารผู้โดยสารมากขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ผลกระทบจากการบริหารจัดการพลังงานและสภาพภูมิอากาศยังส่งผลเป็นวงกว้าง ต่อกลุ่มชุมชนและสังคม และกลุ่มลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มบริหารจัดการด้านการเงินและกลุ่มผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กลุ่มหน่วยงานกำกับดูแล และกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้ความสนใจและมีความคาดหวังต่อการบริหารจัดการพลังงานและการมีส่วนร่วมของ ทอท. ในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการดำเนินงานที่ดีในการลดการใช้พลังงานและปล่อยก๊าซเรือนกระจกนอกจากจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนส่งผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน และสังคมในวงกว้างในการบรรเทาความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม อุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็นต้น และยังเป็นการตอบสนองความคาดหวังของเกณฑ์การประเมินการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

นโยบายและแนวทางการจัดการ

นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยาน

ทอท. มุ่งมั่นบริหารจัดการท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบตามแนวทางการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อมุ่งสู่การเป็นท่าอากาศยานสากลคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Airport) ทั้ง 6 ท่าอากาศยาน โดยมีการดำเนินงานตามกรอบ Airport Carbon Accreditation (ACA) ของ Airports Council International (ACI) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ในปี 2566 ทอท. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ทอท. เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและแผนการดำเนินงานต่าง ๆ พร้อมทั้งติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานทุกหน่วยงานให้สอดคล้องกับนโยบายอย่างใกล้ชิด อีกทั้ง การดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. เป็นไปตามแผนวิสาหกิจของ ทอท. ปีงบประมาณ 2566 – 2570 ฉบับทบทวน (ประจำปีงบประมาณ 2566) การพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้ Airport Strategic Positioning และนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยาน เพื่อให้การจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด

แนวทางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญต่อท่าอากาศยาน

ทอท. มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อการเป็นท่าอากาศยานคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Airport) ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายขององค์กรและเป้าหมายสากล

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการพลังงานและก๊าซเรือนกระจก (Energy and Climate Change)

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นหนึ่งใน Standard Business Practice ที่องค์กรชั้นนําทั่วโลกให้ความสําคัญในการดําเนินธุรกิจ เพราะเป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจ และสามารถตัดสินใจในการลงทุนกับองค์กรที่เปิดเผยข้อมูลในเรื่องของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในการดําเนินธุรกิจได้ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง ได้เข้าร่วม Airport Carbon Accreditation: ACA ของ Airports Council International: ACI เพื่อแสดงเจตจํานง ของ ทอท. ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งและแสดงความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นระดับสากล โดยทําการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ที่ปล่อยจากแหล่งกําเนิดในขอบเขตของการปฏิบัติการท่าอากาศยานของ ทอท. ตาม Airport Carbon Accreditation Guidance Document และนําไปสู่แนวทางการบริหารจัดการและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ

Green airport

การขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่ Green Airport

เพื่อการรับรองตามโปรแกรม ACA 6 ระดับ ได้แก่

ระดับที่ 1 Mapping
ระดับที่ 2 Reduction
ระดับที่ 3 Optimization
ระดับที่ 3+ Neutrality
ระดับที่ 4 Transformation
ระดับที่ 4+Transition

ท่าอากาศยานจะต้องเพิ่มระดับของการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกโดยมีการจัดทำและดำเนินงานตาม แผนบริหารจัดการคาร์บอน (Carbon Management Plan) โดยมีแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานท่าอากาศยานแต่ละแห่งดังนี้

Low carbon

ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ได้รับการรับรองในระดับที่ 3 Optimization สําหรับท่าอากาศยานภูเก็ตได้รับการรับรองในระดับที่ 1 Mapping

LV3
ทสภ.feature

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

LV3
ทดม.feature

ท่าอากาศยานดอนเมือง

LV3
ทชม.feature

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

LV3
ทหญ

ท่าอากาศยานหาดใหญ่

LV3
ทภก

ท่าอากาศยานภูเก็ต

LV1
ทชร.feature

ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

หมายเหตุ
ระดับ 1: Mapping หมายถึง ท่าอากาศยานจะต้องจัดทำรายงาน Carbon Footprint (เฉพาะกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของท่าอากาศยาน) ให้ได้ตามมาตรฐาน รวมทั้งจะต้องผ่านการทวนสอบจากผู้ทวนสอบอิสระ
ระดับ 2: Reduction หมายถึง ท่าอากาศยานจะต้องผ่านข้อกำหนดของการรับรองในระดับที่ 1 และต้องจัดทำแผนบริหารจัดการคาร์บอนที่แสดงให้ เห็นถึงเป้าหมายและแนวทางในการลดการปล่อย Emission
ระดับ 3: Optimisation หมายถึง ท่าอากาศยานจะต้องผ่านข้อกำหนดของการรับรองในระดับที่ 2 และเพิ่มขอบเขตของรายงาน Carbon Footprint โดยจะต้องรวม Emissionที่เกิดจากกิจกรรมที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของท่าอากาศยานเข้ามารายงาน รวมถึงต้องสร้างการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อย Emission จากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอันเป็นแหล่งกำเนิดของ Emission ด้วย
ระดับ 4: Neutrality หมายถึง ท่าอากาศยานจะต้องผ่านข้อกำหนดของการรับรองในระดับที่ 3 และทำการซื้อหรือจัดหา Carbon Credit เพื่อชดเชยปริมาณ Emission ที่ปลดปล่อยออกมาจากกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การควบคุมของท่าอากาศยาน

ทอท. ได้มีการดำเนินธุรกิจโดยใช้พลังงานทางเลือกจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV) ในรูปแบบ Solar Rooftopและ Solar Floating รวมถึงการปรับใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในท่าอากาศยาน ซึ่งเป็นโอกาสในการปรับตัว เปลี่ยนผ่านและยกระดับการดำเนินธุรกิจท่าอาศยานของ ทอท. รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย

โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

green airport

ทอท. และบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP) ได้ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขนาด 4.4 เมกกะวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์มาพัฒนาใช้หมุนเวียนภายในท่าอากาศยาน ซึ่ง AOT มั่นใจว่าโซลาร์เซลล์จะทำให้ความร้อนภายในอาคารผู้โดยสารลดลงมากกว่า 7 องศา ลดการใช้พลังงานระบบความเย็นภายในอาคารได้ 2% คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 11 ล้านบาทต่อปี สามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 3,600 ตันต่อปี และยังคงมีแผนในการเพิ่มกำลังการผลิตในอนาคตอีกด้วย นอกจากนี้จะมีโครงการ Floating Solar บนพื้นน้ำในเขต ท่าอากาศยานภูเก็ต โดยมีเป้าหมายการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 50 MW ซึ่งเท่ากับปริมาณไฟฟ้า 20% ของการใช้พลังงานทั้งหมดของท่าอากาศยาน เพื่อมุ่งสู่การเป็นท่าอากาศยานชั้นนำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

ช่องทางรับข้อร้องเรียน / ข้อเสนอแนะ

ทอท. จัดให้มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมครอบคลุมประเด็นด้านเสียงและผลกระทบด้านอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน และจัดตั้งศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีภารกิจหลัก 2 ส่วน ดังนี้

งานมวลชนสัมพันธ์

ลงพื้นที่เพื่อพบปะชี้แจงทําความเข้าใจกับประชาชนในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการดําเนินงานและการแก้ไขปัญหาผลกระทบของ ทอท. ตลอดจนติดตามสถานการณ์ภายในชุมชนและพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน เพื่อรายงานประเด็นความคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนของประชาชนแก่ ทอท.

รับข้อร้องเรียนทางโทรศัพท์ (Call Center)

รับเรื่องร้องทุกข์และตอบข้อซักถามด้านขั้นตอนการในการดําเนินงานชดเชยผลกระทบด้านเสียงจากการดำเนินงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แผนงานขั้นตอนและผลการดําเนินงานการแก้ไขปัญหาและให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในกรณีมีการสอบถามข้อมูลเชิงลึกของ ทอท. ศูนย์ประสานงานฯ จะเป็นผู้ประสานงานด้านข้อมูลเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้กับผู้สอบถาม

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2567