ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยาน 

“ทอท. เป็นผู้ดำเนินการและจัดการท่าอากาศยานที่ดีระดับโลก มุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสร้างรายได้อย่างสมดุล”

ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยานเป็นประเด็นสำคัญที่ ทอท. มุ่งมั่นดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อกำหนดของรัฐ และสอดคล้องกับมาตรฐานและข้อพึงปฏิบัติทั้งในระดับประเทศและระดับสาก เช่น สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ที่ดำเนินงานภายในท่าอากาศยาน ตลอดจนชุมชนและสังคมโดยรอบทั้งในด้านความปลอดภัยจากการให้บริการของท่าอากาศยานและความมั่นคงจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ประพฤติปฏิบัติที่มิชอบด้วยกฎหมายหรือเสี่ยงต่อการเกิดภัยอันตราย ซึ่งถือเป็น การปกป้องสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิในการมีชีวิตและความปลอดภัย

การมีมาตรการความปลอดภัยที่ดีทำให้ลูกค้า บุคลากร และพันธมิตรทางธุรกิจรู้สึกมั่นใจในการใช้บริการ ส่งผลให้ ทอท.
ได้รับความเชื่อมั่น และไว้วางใจในการใช้บริการขนส่งทางอากาศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การมีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวด ส่งผลให้ ทอท. ต้องมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และพัฒนาศักยภาพของพนักงานเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการจัดการเพื่อให้เข้ากับมาตรการที่เข้มงวดขึ้น

นโยบาย

ทอท. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่า การดำเนินงานของ ทอท. บรรลุประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย เป็นไปตามยุทธศาสตร์และค่านิยมของ ทอท. ภายใต้กรอบแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทอท.จึงดำเนินการตามนโยบายความปลอดภัยของ ทอท. (AOT Safety Policy) และวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยของ ทอท. ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยของรัฐ นโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

โครงสร้างการกํากับดูแลและบริหารความปลอดภัยท่าอากาศยาน

โครงสร้าง คณะกรรมการด้านความปลอดภัย

คณะกรรมการบริหารความปลอดภัยของสนามบิน (AOT Safety Management Committee)

แต่งตั้งโดย คณะกรรมการ ทอท.
มีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เป็นประธาน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดด้านความปลอดภัยตามระบบการจัดการด้านนิรภัยขององค์กร (SMS)
ผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัยท่าอากาศยานเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัยในระดับองค์กร (AOT Safety Manager) และเป็นเลขานุการ

อำนาจหน้าที่

  • กำหนดนโยบายความปลอดภัยตาม SMS กำหนดแผนงาน วิธีปฏิบัติ รวมทั้งระดับความปลอดภัยที่ยอมรับได้ (Acceptable Level of Safety Performance : ALoSPs) สอดคล้องกับแผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ รวมทั้งควบคุม กำกับดูแลและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงานและระดับความปลอดภัยที่ยอมรับได้ของ ทอท.ที่กำหนดไว้ รวมทั้งให้เป็นไปตามระเบียบ ทอท.กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่รัฐกำหนด และมาตรฐานสากล
  • ให้ข้อเสนอแนะและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่กระทบต่อความปลอดภัยในการดำเนินงานของสนามบิน
  • ติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานแก้ไขข้อบกพร่องของสนามบินเพื่อให้ได้รับและรักษาใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะ (Public Aerodrome Operating Certificate)
  • จัดประชุมเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3 เดือน หรือตามที่กรรมการผู้อำนวยการใหญ่เห็นสมควร
  • สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบินอย่างต่อเนื่อง
  • รายงานผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของ ทอท. ที่มีนัยสำคัญหรือกระทบต่อการดำเนินงานด้านความปลอดภัยสนามบินของ ทอท.ให้คณะกรรมการ ทอท. ทราบ
  • แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม

คณะกรรมการความปลอดภัยของสนามบิน (Aerodrome Safety Review Board)

ได้รับการแต่งตั้งโดย ผู้อำนวยการท่าอากาศยาน

หัวหน้าหน่วยงานมาตรฐานท่าอากาศยานและอาชีวอนามัยเป็นผู้จัดการด้านความปลอดภัยของสนามบิน (Aerodrome Safety Manager) และเป็นเลขานุการประจำท่าอากาศยานที่ตนสังกัด

อำนาจหน้าที่

  • จัดทำนโยบาย แผนงาน และโครงการความปลอดภัยของสนามบินเพื่อรองรับนโยบายความปลอดภัยของ ทอท. 
  • ดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งดำเนินกิจกรรมอื่นเพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยต่อกิจกรรมของสนามบินตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยของสนามบิน 
  • แก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยของสนามบินกรณีที่เป็นเรื่องนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย ให้เสนอกรรมการบริหารความปลอดภัยสนามบินของ ทอท.พิจารณา 
  • จัดประชุมเป็นประจำอย่างน้อยทุก 3 เดือน  
  • ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติ โดยการสำรวจความปลอดภัยด้านการบินเป็นปนะจำทุกเดือน และนำผลการสำรวจเข้าที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยสนามบินและคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยของสนามบินของ ทอท.ตามลำดับ 
  • แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้ตามความเหมาะสม 

และในปีงบประมาณ 2566 กอญ. ในฐานะประธานกรรมการบริหารความปลอดภัยของ ทอท.ได้แต่งตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมและติดตามการดำเนินการเพื่อรองรับการตรวจสอบ USOP-CMA จาก ICAO ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อกำกับ ติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย แผนเตรียมความพร้อมในการรองรับการตรวจติดตาม (Surveillance) จาก กพท. และแผนพัฒนาความปลอดภัยสนามบินของ ทอท. เพื่อเพิ่มค่า Effective Implementation (EI) Score ซึ่งถูกกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามแผนวิสาหกิจ ทอท. ฉบับปี 2566 - 2570

แนวทางการจัดการ

การจัดการด้านความปลอดภัย

ทอท. มุ่งเน้นดำเนินการจัดการด้านความปลอดภัยของท่าอากาศยานที่เข้มแข็งตาม กฎ ระเบียบและข้อบังคับของ ทอท. และสอดคล้องกับมาตรฐานและข้อแนะนำพึงปฏิบัติของ ICAO เช่น ระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน (Safety Management System: SMS), แผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ (State Safety Programme : SSP) เพื่อปรับปรุงระดับความปลอดภัยให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีตัวอย่างการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ดังนี้

  • ดำเนินงานตามนโยบายความปลอดภัยของ ทอท. และวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยของ ทอท. ที่สอดคล้องกับนโยบายการบินพลเรือนแห่งชาติและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยของรัฐ 
  • กับกำ ดูแล ตรวจสอบ และให้คำแนะนำด้านมาตรฐานทางกายภาพสนามบิน เครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภทเครื่องช่วยเดินอากาศด้วยวิสัยทัศน์ ใบรับรองการดำเนินงานสนามยินสาธารณะ (Public Aerodrome Manager Certificate) และคู่มือการดำเนินงานสนามบิน (Aerodrome Manual) ของ 6 ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท 
  • ดำเนินงานตามแผนงานด้านความปลอดภัยของฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัยท่าอากาศยาน 
  • ดำเนินการประกันโดยการตรวจสอบด้านความปลอดภัยในระดับองค์กร 
  • พัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย เพื่อให้เป็นไปตามระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน

ระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน (Safety Management System: SMS)

ทอท. ดําเนินการตามกฎหมายของรัฐ ภายใต้การกํากับดูแลของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ให้ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. ดำเนินการตามระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน ให้สอดคล้องตามข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 82 ว่าด้วยระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน แผนนิรภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ ระเบียบกรมการบินพลเรือน (State Safety Programme : SSP) ว่าด้วยมาตรฐานของระเบียนเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานสนามบิน พ.ศ.2557 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการด้านนิรภัยของสนามบิน โดยให้มีการดำเนินงาน ดังนี้

  • กำหนดคู่มือระบบการจัดการด้านนิรภัยสนามบิน และคู่มือตรวจสอบภายในด้านมาตรฐานและความปลอดภัยสนามบิน 
  • กำหนดนโยบายและวัตถปุระสงค์ในการจัดการด้านความปลอดภัย (Safety Policy and Safety Objective) 
  • กำหนดโครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบ (Organization Structure and Responsibilities) 
  • จัดการระบบเอกสาร โดยให้มีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data and Safety Information Collection) โดยต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเสมอ และให้มีการใช้และพิทักษ์ข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sharing and Protection)  
  • ระบุชี้สภาวะอันตรายและการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Hazard Indentification and Risk Management) โดยให้มีการระบุชี้สภาวะอันตราย รายงานข้อมูลด้านความปลอดภัยในรูปแบบต่างๆ ตามกรบระยะเวลาที่กำหนด ให้มีการวิเคราะห์เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยและการติดตามผล และมีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย 
  • จัดให้มีการประกันความปลอกภัย (Safety Assurance) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินการด้านความปลอดภัยมีประสิทธิภาพตามที่ได้กำหนดไว้ 
  • จัดให้มีการส่งเสริมความปลอดภัย (Safety Promotion) 
  • จัดให้มีแผนฉุกเฉินของสนามบิน (Aerodrome Emergency Plan) และฝึกซ้อมตามแผนฯ 

การฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินของสนามบิน

ทอท. มีการเตรียมความพร้อมของสนามบินในการเผชิญเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในสนามบินหรือบริเวณใกล้เคียง โดยมีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินของสนามบินแบบเต็มรูปแบบ (Full-scale exercise) และแบบบางส่วน (Partial emergency exercise) เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการช่วยชีวิตและรักษษการปฏิบัติการของท่าอากาศยาน และมีกระบวนการประสานการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภายในและภายนอกเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินและการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน ตามข้อกำหนดของ กพท. ฉบับที่ 37 ว่าด้วยมาตรฐานสนามบิน โดยในปี 2566 ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท.ได้ฝึกซ้อมแผนแุกเฉินในหัวข้ออากาศยานอุบัติเหตุ (Aircraft Accident) และฝึกซ้อมแผนการเคลื่อนย้ายอากาศยานที่ขัดข้องร่วมกับหน่วยงานภายในและภายนอก ทอท. ตามข้อกำหนดของรัฐและมาตรฐานของ ICAO

การจัดการด้านการรักษาความปลอดภัย

ทอท.มุ่งมั่นในการลดข้อบกพร่องจากการตรวจสอบและทดสอบด้านการรักษาความปลอดภัยของ ทอท.เป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ณ สนามบินของ ทอท.และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการของรัฐว่ามีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัยสนามบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการตรวจประเมินของ International Civil Aviation Organization: ICAO ในโครงการ Universal Security Audit Programme – Continuous Monitoring Approach (USAP-CMA) โดย ทอท.มีการดำเนินงาน ดังนี้

  • กำหนดหรือทบทวน นโยบาย แนวปฏิบัติ กระบวนการจัดการเพิ่มเติมในการรักษาความปลอดภัยภายในท่าอากาศยาน  
  • จัดกิจกรรมด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการรักษาความปลอดภัย  
  • จัดกิจกรรมด้านการควบคุมคุณภาพการักษาความปลอดภัย ได้แก่ รับการตรวจสอบจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอ และดำเนินการตรวจสอบภายในด้านการรักษาความปลอดภัย 
  • จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉิน โดยได้จัดทำ “คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยและแนวทางปฏิบัติตามระดับภัยคุกคามต่อการบินพลเรือน ทอท.” และจัดทำแผนเผชิญเหตุของสนามบินตามข้อกำหนดของรัฐและสอดคล้องกับมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) และฝึกซ้อมตามแผนฯ ในระยะเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกซ้อมในแต่ละครั้งจะนำข้อมูลภัยคุกคาม ณ ห้วงเวลานั้นๆ มาพิจารณากำหนดสถานการณ์สมมุติด้วย โดยได้ทำการฝึกซ้อมด้านการรักษาความปลอดภัยการบิน พลเรือน ประจำปี 2566 ดังนี้ 

คู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยและแนวทางปฏิบัติตามระดับภัยคุกคามต่อการบินพลเรือน ทอท. 

ทอท. ได้จัดทำคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยและแนวทางปฏิบัติตามระดับภัยคุกคามต่อการบินพลเรือน ทอท.ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับคู่มือการประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยการบิน พลเรือนประเทศไทย ที่จัดทำโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ใช้เป็นแนวทางการระบุภัยคุกคาม และประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความปลอดภัยระดับสนามบิน (Airport Level) ตลอดจนเป็นแนวทางการกำหนดมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงและลดผลกระทบจากความเสี่ยงให้สอดคล้องเหมาะสมตามระดับภัยคุกคามของแต่ละสนามบินให้เป็นไปตามที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยแนะนำ โดย ทอท.ได้ทบทวน แก้ไขปรับปรุงคู่มือฯ ให้มีความทันสมัย ต่อสถานการณ์และภัยคุกคามต่อการบินพลเรือนอย่างต่อเนื่อง

มาตรการด้านความปลอดภัยและมาตรการการรักษาความปลอดภัย (Safety and Security Measures)

แผนรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน

(Airport Security Plan: ASP) 

ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. จัดทําแผนรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานที่สอดคล้องกับแผนรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ (National Civil Aviation Security Programme: NCASP) ที่จัดทำโดยสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยและมาตรฐานสากลขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) เพื่อเป็นมาตรฐานและแนวทางในการปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัย ณ ท่าอากาศยานนั้น ๆ ซึ่งมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่กําหนดอยู่ในแผนรักษาความปลอดภัยสนามบินของแต่ละท่าอากาศยานเป็นมาตรการเชิงป้องกันและมาตรการเชิงรุก โดยมีการทบทวนและปรับเปลี่ยนมาตรการให้สอดคล้องต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเท่าทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

แผนเผชิญเหตุท่าอากาศยาน

(Airport Contingency Plan: ACP)

ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งของ ทอท. จัดทําแผนเผชิญเหตุท่าอากาศยานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน้าที่รับผิดชอบและขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน ตลอดจนวิธีการประสานงานระหว่างผู้ดําเนินงานสนามบิน ผู้ดําเนินการเดินอากาศ ผู้ให้บริการจราจรทางอากาศ ผู้มีอํานาจในการรักษาความสงบภายในท้องที่ สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในการตอบสนองต่อการกระทําอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อการบินพลเรือน (Response to Acts of Unlawful Interference) ทั้งนี้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับแผนรักษาความปลอดภัยในการบินพลเรือนแห่งชาติ (National Civil Aviation Security Programme : NCASP) มาตรฐาน กฏระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นแนวทางในการตอบสนองต่อการกระทําอันเป็นการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน
(e-Security)

ทอท. ได้พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยาน (e-Security) ในการจัดเก็บข้อมูลประวัติบุคคล การปฏิบัติการด้านการรักษาความปลอดภัยเชิงป้องกัน การออกบัตรอนุญาตบุคคล การจัดเก็บสถิติ การควบคุมคุณภาพการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยและหลักสูตรฝึกอบรมด้านการรักษาความปลอดภัยมีขั้นตอนการดำเนินงานที่รัดกุมและปลอดภัย สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่พนักงาน ทอท. และมุ่งเน้นในการรักษาความปลอดภัยสูงสุดของผู้ใช้บริการ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ภายในท่าอากาศยาน

ระบบได้พัฒนาต่อยอดและแก้ไขปัญหาจากกระบวนการทำงานของระบบเดิม และพัฒนา/ปรับปรุงให้ทันกับยุคสมัยปัจจุบัน ผู้ใช้งานสามารถบันทึกข้อมูลทางผ่านเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) หรือโมบายแอปพลิเคชัน (Native Mobile Application) อีกทั้ง มีการปรับปรุงข้อมูลประวัติบุคคลข้อมูลผู้กระทำความผิด ทั้งเรื่องประวัติบุคคลและประวัติยานพาหนะที่เข้ามาในพื้นที่ของ ทอท. รองรับการใช้งานทั้งแบบรวมศูนย์ (สามารถเข้าถึงข้อมูลของทุกท่าอากาศยาน) และแยกแต่ละท่าอากาศยาน ซึ่งจะมีระบบพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งาน (Authentication) เป็นรายบุคคล โดยผู้ใช้งานแต่ละคนมีชื่อผู้ใช้งาน (User name) และรหัสผ่านส่วนบุคคล (Password) ที่สามารถเข้าใช้งานระบบฯ ได้ตามสิทธิที่ได้รับเท่านั้น ทำให้สามารถตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทั้งภายในระบบและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก ส่งผลให้ท่าอากาศยานของ ทอท. มีความปลอดภัยและได่รับความไว้วางใจจากผู้โดยสารหรือสายการบินที่มาใช้บริการมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบัน ทอท. อยู่ระหว่างการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบการระบุเอกลักษณ์บุคคล Biometric ผ่านลายนิ้วมือ ระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่หวงห้าม (Access Control System - ACS) เป็นต้น มาใช้ในการคัดกรองและตรวจสอบบุคคล เพื่อสร้างความปลอดภัยและช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารและผู้ประกอบการที่เข้ามาใช้บริการในท่าอากาศยาน โดยมีแผนจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในทุกท่าอากาศยาน รวมทั้งสำนักงานใหญ่ ภายในปี 2566

การทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย (Management Review)

ทอท. การทบทวนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและมาตรการการรักษาความปลอดภัย กำหนดหรือทบทวน นโยบาย แนวปฏิบัติกระบวนการจัดการเพิ่มเติมในด้านการรักษาความปลอดภัยภายในท่าอากาศยานทุก ๆ 3 เดือน เพื่อพูดคุยหารือถึงประเด็นการบริหารจัดการต่าง ๆ ที่เป็นวาระในการประชุมด้านความปลอดภัยและมาตรการการรักษาความปลอดภัย

การประเมินผลการจัดการ (Audit)

กลไกที่ ทอท. และรัฐใช้ในการกํากับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของท่าอากาศยานให้เป็นไปตามข้อกําหนดของรัฐและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลเพื่อประกันความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการคือการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยทั้งในด้านกายภาพและการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้

  • ระดับสนามบิน (Self-Audit) ส่วนงานมาตรฐานท่าอากาศยานของแต่ละท่าอากาศยานดําเนินการตรวจสอบด้านมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสนามบิน
  • ระดับองค์กร (Internal Audit) ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัยท่าอากาศยาน ทอท. จะตรวจสอบภายในด้านมาตรฐานควาปลอดภัยของทุกสนามบินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และกํากับดูแลด้านความปลอดภัยของสนามบิน ทอท. ในภาพรวม รวมทั้งดําเนินการติดตามรายงานสถิติความไม่ปลอดภัย กําหนดระดับของความเสี่ยง (Level of Risk) และหาแนวทางในการลด / ควบคุมระดับความเสี่ยงดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทางปฏิบัติ (As Low As Reasonable Practicable – ALARP) โดยผ่านคณะกรรมการบริหารความปลอดภัยท่าอากาศยานของ ทอท. ซึ่งทําให้เชื่อมั่นได้ว่าข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยจะได้รับการแก้ไข อีกทั้งการดําเนินงานด้านความปลอดภัย (Safety Performance) จะเป็นไปตามตัวชี้วัด (Safety Indicator) และเป้าหมายด้านความปลอดภัย (Safety Target) ที่ ทอท. กําหนดไว้
  • ระดับรัฐ (State Audit) สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) สังกัดกระทรวงคมนาคมทําหน้าที่ในการตรวจสอบและกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของสนามบินในความรับผิดชอบของ ทอท. เป็นประจําทุกปี รวมถึงพิจารณาให้ความเห็นและข้อแนะนําแก่ ทอท. ในด้านความปลอดภัยอีกด้วย ทั้งนี้รัฐเองก็ได้รับการตรวจสอบจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) ในการตรวจสอบติดตามการดําเนินการภายใต้โครงการตรวจสอบการกํากับดูแลด้านความปลอดภัยสากล (Universal Safety Oversight Audit Program: USOAP)

แผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน ทอท. (Aviation Security Quality Control Programme)

ทอท. จัดทำแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยด้านการบินขึ้น เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัย ณ ท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ทอท. โดยกำหนดให้มีกิจกรรมควบคุมคุณภาพ ประกอบด้วยการตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยทั้งระบบ (Security Audit) การตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยเฉพาะด้าน (Security Inspection) การทดสอบการรักษาความปลอดภัย (Security Test) การสำรวจการรักษาความปลอดภัย (Security Survey) โดยได้นำหลักการและแนวทางการตรวจสอบมาจากแผนควบคุมคุณภาพการรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบด้านการรักษาความปลอดภัยภายใน (Internal Auditor) ของ ทอท. เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรตามมาตรฐานสากล

วัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย

(Safety and Security Culture)

ทอท. ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ความสามารถของบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ระบบการจัดการที่ทันสมัย โดยการจัดหลักสูตรการอบรมทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติด้านความปลอดภัย รวมทั้งดำเนินการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินของสนามบิน และสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย (Safety and Security Culture) อย่างสม่ำเสมอ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • การสร้างความรู้ความเข้าใจขั้นตอนด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย รวมถึงกรอบการดำเนินงาน คู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างความตระหนักแก่บุคลากรเพื่อการป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในท่าอากาศยาน รวมถึงการรายงานความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ
  • พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านความปลอดภัยของสนามบิน (e-Safety) และด้านการรักษาความปลอดภัยของสนามบิน (e-Security) เพื่อนำมาปรับใช้ร่วมกับการปฏิบัติการและการจัดการด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย
  • การใช้ข้อมูลต่างๆที่รวบรวมผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการ วิเคราะห์และบริหารจัดการข้อมูล เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของ ทอท. อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆของ ทอท. รวมถึงการนำบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมามาปรับใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงในการดำเนินงาน

การส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย

ทอท. มีโครงสร้างการดําเนินงานด้านความปลอดภัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น คณะกรรมการด้านความปลอดภัยระดับองค์กรและระดับท่าอากาศยานที่ประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกท่าอากาศยาน โดยจัดให้มีการประชุมหารือตามวงรอบที่กําหนด เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบุความเสี่ยง ประเมินและจัดทำมาตราการลดความเสี่ยงทีทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยร่วมกัน รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยร่วมกันโดยการถ่ายทอด สื่อสาร ให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย เช่น โครงการวันความปลอดภัย (Safety Day) เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย ในปี 2566

Airport Contingency Plan

การฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุ

ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบทุกแห่งของ ทอท. ได้จัดทำแผนเผชิญเหตุของสนามบิน (Airport Contingency Plan) ตามข้อกำหนดของภาครัฐและสอดคล้องกับมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) รวมทั้งจัดให้มีการฝึกซ้อมแผนฯ ในระยะเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกซ้อมในแต่ละครั้งจะนำข้อมูลภัยคุกคาม ณ ช่วงเวลานั้น ๆ มาพิจารณากำหนดสถานการณ์สมมุติ เพื่อเลือกภัยคุกคามที่มีความเสี่ยงสูงในการฝึกซ้อม เพื่อทำให้มั่นใจว่าจะสามารถรับมือ ควบคุม สั่งการ และคืนสภาพการปฏิบัติงานให้กลับคืนสู่ปกติได้อย่างรวดเร็ว และคงความต่อเนื่องทางธุรกิจได้

CISG1

โครงการความร่วมมือในการฝึกอบรมระหว่าง ทอท. และ Cyber and Infrastructure Security Group (CISG)

CISG ส่งมอบ Laptop ที่ติดตั้ง CARSA X-ray Tutor Software ให้กับ ทอท. จำนวน 10 เครื่อง ภายใต้โครงการ Enhancing AOT Security Screener Capability โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นำไปใช้ในการฝึกอบรมให้กับพนักงานใหม่และการฝึกอบรมทบทวน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจจับวัตถุต้องห้ามให้กับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์ภาพ
และเพิ่มโอกาสให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่วิเคราะห์ภาพได้ฝึกปฏิบัติเพื่อเพิ่มทักษะการวิเคราะห์ภาพ ทั้งในการตรวจค้นสัมภาระลงทะเบียน (Hold Baggage) และสัมภาระไม่ลงทะเบียน (Cabin Baggage)

โครงการสัมนาเชิงปฏิบัติการ Operational Cyber Security in Aviation มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศของ ทอท. มีความรู้เชิงลึกและพัฒนาทักษะในการประเมินและลดความเสี่ยงรวมถึงป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบ (Systems) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และข้อมูล (Information)

โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Aviation Cyber Security มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ ด้านการรักษาความปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) และอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) รวมถึงวิธีการโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ และจุดอ่อนที่อาจทำให้องค์กรตกเป็นเป้าหมายในการโจมตี และมุ่งเน้นการประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงานและหาวิธีในการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2567