งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิต

ผู้มีส่วนได้เสีย

icon-ผู้บริหารและพนักงาน

ผู้บริหารและพนักงาน

ความสำคัญ

         ผู้บริหารและพนักงานเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนได้เสียหลักขององค์กรที่เป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ทอท. ในฐานะผู้นําด้านการให้บริการท่าอากาศยานตระหนักถึงบริบททางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จึงมุ่งพัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญของบุคลากรเพื่อคงความได้เปรียบทางการแข่งขัน รวมถึงมุ่งมั่นในการพัฒนาและดึงดูดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตลอดจนเปิดกว้างทางความคิดที่มีความหลากหลายของพนักงาน ช่วยให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทอท. ยังให้ความสําคัญในการดูแลเอาใจใส่พนักงานผ่านระบบสวัสดิการที่มุ่งเน้นความเป็นอยู่ที่ดีและสภาพการทํางานที่เป็นธรรม เพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร

         ทั้งนี้ งานที่มีคุณค่าและเติมเต็มชีวิตจึงถือเป็นประเด็นสำคัญต่อความยั่งยืนขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับพนักงานและลูกจ้างในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การดึงดูดผู้มีความสามารถและการสร้างแรงจูงใจพนักงาน ความเป็นอยู่ที่ดีและสภาพการทํางาน ตลอดจนการส่งเสริมความหลากหลายของพนักงาน

นโยบาย

การพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน (Foundation) ของแผนวิสาหกิจของ ทอท. (ปีงบประมาณ 2560 - 2565) ฉบับทบทวน โดยมีฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดําเนินงานตามแผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปีงบประมาณ 2560 - 2565 โดยแบ่งการดําเนินงานออกเป็น 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กร โครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ และโครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงาน

ผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ปีงบประมาณ 2560 - 2565
aot core value

โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กร (Core Values)

ทอท.ปลูกฝังจิตสำนึกต่อค่านิยมขององค์กรด้วยองค์ประกอบ 5 ใจ ได้แก่ ให้ใจ มั่นใจ ร่วมใจ เปิดใจ และภูมิใจ ซึ่งส่งเสริมให้พนักงานมีความสามารถและมีทัศนคติที่ดีในการทำงานไปพร้อม ๆ กัน ผ่านโครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรแก่พนักงาน ทอท. ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ โดยพนักงานแต่ละระดับต่างมีส่วนร่วมและบทบาทหน้าที่แตกต่างกันในการผลักดันค่านิยมของ ทอท.

โครงการเสริมสร้างค่านิยมองค์กรจัดขึ้นใน 2 รูปแบบ ได้แก่

กิจกรรมและการบรรยายให้ความรู้

โครงการสร้างความคุ้นเคยกับ ทอท.
ทบทวนคุณค่าของ ทอท. ให้กับพนักงาน และให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์แก่ลูกจ้างใหม่ ซึ่งจัดขึ้นเป้นประจำทุกปี ถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย ปี 2564 ทอท.ได้ดำเนินโครงการฯ ในรูปแบบออนไลน์

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ

การสัมมนา

จัดทำแผนเสริมสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ 2563 - 2567)
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เสนอแนะความคิดเห็น เพื่อร่างแผนเสริมสร้างค่านิยม ทอท.

Values Direction

ผู้บริหารระดับ 10 ร่วมกันวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่าน และทบทวนความเหมาะสมของค่านิยม 5 ใจของ ทอท. เพื่อให้มีความสอดคล้องกับทิศทางและยุทธศาสตร์องค์กร

Values in Action

สร้างความเชื่อมโยงค่านิยมองค์กรกับทิศทางธุรกิจและยุทธศาสตร์องค์กรให้แก่ผู้บริหาร ทอท. ระดับ 9 (Change Leader) ที่ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการท่าอากาศยานและผู้อำนวยการฝ่าย

เครือข่ายผู้ส่งเสริมค่านิยมองค์กร
สร้างความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของคณะทำงานภายใต้ค่านิยม 5 ใจของ ทอท. และกำหนดเครือข่ายผู้ส่งเสริมค่านิยมองค์กร

Values-Based Communication

ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการส่วนระดับ 8 ของ ทอท. อภิปรายถึงการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ 2564 เพื่อเสาะหาโอกาสการปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และรายงานผลการสัมมนาต่อผู้บริหารระดับสูง

โครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

ทอท. ดําเนินโครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ (KM) ตามกระบวนการจัดการความรู้และแนวทางส่งผ่านความรู้สู่กระบวนการจัดการนวัตกรรมของ ทอท. ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการพัฒนากระบวนงาน (Process Improvement) เข้ากับการสร้างนวัตกรรม (Innovation) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของพนักงานภายในองค์กรอย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

KM process

กระบวนการจัดการความรู้และแนวทางการส่งผ่านความรู้สู่กระบวนการจัดการนวัตกรรมของ ทอท.
(Knowledge Management Model)

ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทําระบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารจัดการความรู้และนวัตกรรม ทอท. คณะทํางานการจัดการความรู้ ทอท. ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล และส่วนพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรและการจัดการความรู้

โครงสร้างการบริหารจัดการความรู้

โครงสร้างการบริหารจัดการความรู้ ทอท.

โครงสร้างการบริหารจัดการความรู้

icon_Define

1. การกําหนดหัวข้อเรื่อง หรือประเภทองค์ความรู้ (Define)

การกําหนดชนิดของทุนทางปัญญา หรือองค์ความรู้ ที่ต้องการเพื่อตอบสนองกลยุทธ์ขององค์กร หรือ การปฏิบัติงาน การหาองค์ความรู้หลักขององค์กร (Core Competency) และเป็นองค์ความรู้ ที่สามารถสร้างความแตกต่าง ตลอดทั้งความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้อย่างเด่นชัด

icon_Create

2. การออกแบบ หรือสรรหาแหล่งองค์ความรู้ (Create)

การสร้างทุนทางปัญญา หรือการค้นหาใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วด้วยการส่งไปศึกษาเพิ่มเติม การสอนงานภายในองค์กร หรือหากเป็นองค์ความรู้ใหม่อาจจําเป็นต้องแสวงหาจากภายนอกองค์กร การเทียบเคียง (Benchmarking) และการเรียนรู้จากความสําเร็จของผู้อื่น

icon_Capture

3. การเก็บเกี่ยวรายละเอียด (Capture)

โดยสรุปและจับประเด็นให้กลายในองค์ความรู้ การเสาะหา และจัดเก็บองค์ความรู้ในองค์กรให้เป็นระบบ ทั้งองค์ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบสื่อต่าง ๆ (Explicit Knowledge) และในรูปแบบประสบการณ์ (Tacit Knowledge) ให้เป็นทุนความรู้ขององค์กร ที่พร้อมต่อการยกระดับความรู้และขยายความรู้ให้ทั่วทั้งองค์กร

icon_Share

4. การถ่ายทอดแบ่งปัน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share)

การแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เผยแพร่ กระจาย และถ่ายโอนความรู้ มีหลายรูปแบบหลายช่องทาง เช่น การจัดงานสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการสอนงาน ทั้งในแบบกายภาพ และแบบเสมือน (Virtual) ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบ E-Learning เป็นต้น

icon_Use

5. การนําองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน (Use)

การใช้ประโยชน์และการนําไปประยุกต์ใช้งาน ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และผลสัมฤทธิ์ เกิดเป็นปัญญาปฏิบัติ (Wisdom) ที่ส่งเสริมการขยายผลให้ระดับความรู้และขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรสูงขึ้น

ทอท. พัฒนาและดําเนินการตามระบบการจัดการความรู้ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ รวมทั้งการสร้างและพัฒนากลุ่มชุมชน นักปฏิบัติ (CoP) และนักจัดการความรู้ประจําส่วนงาน (KM Facilitator) เพื่อเชื่อมโยงและเผยแพร่ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกองค์กร พร้อมจัดเก็บองค์ความรู้ในระบบการจัดการความรู้ของ ทอท. (Knowledge Management System - KMS) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดําเนินงานภายในองค์กรต่อไป

โครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงาน

(Core Competency และ Functional Competency)

ทอท. พัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการท่าอากาศยาน ทั้งในด้านปฏิบัติการและการบริหารจัดการให้สอดคล้องตามมาตรฐานการขนส่งทางอากาศของหน่วยงานภายในและต่างประเทศ เช่น สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสํานักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (FAA) เป็นต้น โดย ทอท. จะดำเนินการประเมินสมรรถนะหลักของพนักงาน ทอท. (Core Competency) และสมรรถนะรายตำแหน่ง (Functional Competency) เพื่อระบุประเด็นสำคัญที่ควรได้รับการพัฒนาในระดับบุคคล และสามารถกำหนดแผนการพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการพัฒนาบุคลากรตามศักยภาพของพนักงาน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่

การฝึกอบรมด้านการบริหาร
จัดการท่าอากาศยาน
(Airport Management Training)

การฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการทั่วไป
(General Management Training)

การฝีกอบรมด้านวิชาชีพและการปฏิบัติการ
(Functional & Operation Training)

การฝีกอบรมด้านความรู้ทั่วไป
(Soft Skills Training)

โครงการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Training) แบ่งออกเป็น 4 ระดับตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

การปฏิบัติการท่าอากาศยาน
Airport Operations: AO

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 1 - 4

  • สร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมขนส่งทางอากาศ
  • มีทักษะในการปฏิบัติการภายในท่าอากาศยาน
  • มีทัศนคติเปิดรับต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง

การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับต้น Junior Airport
Management (JAM)

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 4 - 5

  • สร้างความรู้ความเข้าใจในความรับผิดชอบของผู้บริหารระดับต้น
  • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อการแก้ไขปัญหาจากการทำงานได้
  • พัฒนาความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม

การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับกลาง Intermediate
Airport Management (IAM)

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 5 - 6

  • บ่มเพาะแนวความคิดและวิสัยทัศน์การบริหารและปฏิบัติงานท่าอากาศยาน
  • เข้าใจเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่
  • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์
  • เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานด้านการตลาด

การจัดการท่าอากาศยาน
ระดับสูง Senior Airport
Management (SAM)

กลุ่มเป้าหมาย:
พนักงานระดับ 6 - 7

  • สร้างวิสัยทัศน์การบริหารงานท่าอากาศยาน
  • ฝึกฝนทักษะการวางแผนกลยุทธ์ และการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
  • แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาธุรกิจท่าอากาศยานสู่ความเป็นเลิศ
airport-officer

โครงการฝึกอบรมด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

ทอท. จัดให้มีหลักสูตรและโครงการพัฒนาบุคลากรที่จําเพาะตามสายงาน เช่น หลักสูตรด้านการปฏิบัติการท่าอากาศยาน หลักสูตรการบริหาร จัดการและความรู้ทั่วไป โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร หลักสูตรด้านการกํากับดูแลกิจการที่ดี หลักสูตรฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร และหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรด้านการบินร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยน หรือเพิ่มเติมในแต่ละปีตามความต้องการของแต่ละสายงาน เป็นต้น

การประเมินผลการจัดการ

ทอท. กําหนดให้ส่วนพัฒนากลุ่มพนักงานผู้มีศักยภาพฝ่ายพัฒนาการบริหาร ทําหน้าที่ติดตามผลการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อกําหนดทิศทางการจัดโครงการฝึกอบรมและโครงการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะสม และใช้ทบทวนและพัฒนาแผนแม่บทด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอนาคต โดย ทอท. ติดตามการลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ เงินลงทุนด้านการฝึกอบรม จํานวนหลักสูตร หรือโครงการ ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อคนต่อปี ค่าใช้จ่ายในการอบรมเฉลี่ยต่อคนต่อปี และติดตามผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการลงทุน โดยการคํานวณผลตอบแทนจากการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Return on Investment HCROI) และอัตราการโอนย้ายตําแหน่งภายในของพนักงาน ซึ่งมีการรายงานผลการดําเนินงานดังกล่าวต่อสาธารณะในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

การดึงดูดผู้มีความสามารถและการสร้างแรงจูงใจพนักงาน

ทอท. เล็งเห็นความสําคัญของการมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร จึงได้ร่วมมือกับสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีศักยภาพในสถานศึกษาพร้อมกําหนดให้มีระบบสวัสดิการและสภาพการทํางานที่ดี เพื่อดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพให้ร่วมทํางานกับองค์กรในระยะยาว โดย ทอท. ประเมินผลสําเร็จของการดึงดูดบุคลากรผ่านประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราการรับบุคลากรเข้าทํางาน อัตราการลาออกในภาพรวมและภาคสมัครใจ อัตราการกลับมาทํางานของบุคลากรที่ลาคลอดบุตร เป็นต้น พร้อมเปิดเผยรายละเอียดผลการดําเนินงานในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

นอกจากนี้ ทอท. ได้สร้างแรงจูงใจโดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้าในสายงานตามระดับความสามารถ โดยพนักงานทุกคนของ ทอท. จะได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลจากผู้บังคับบัญชาเป็นประจําทุกปี เพื่อพิจารณาปรับตําแหน่งของพนักงาน พร้อมกําหนดแนวทางการพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถในการทํางานเพิ่มมากขึ้น

การมอบรางวัลพนักงานดีเด่น

ในปี 2564 ทอท. มอบรางวัลพนักงานดีเด่น ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติให้กับพนักงานและลูกจ้างที่ได้ที่ปฏิบัติตนตามค่านิยม ทอท. สร้างคุณงาม ความดี ทําคุณประโยชน์ต่อ ทอท. และประเทศชาติ ดังนี้

ประจำปี 2564

กลุ่มพนักงาน

ประจำปี 2564

กลุ่มพนักงาน ลูกจ้างที่ได้รับการยกย่องเป็นกรณีพิเศษ

ประจำปี 2563

ความเป็นอยู่ที่ดีและสภาพการทํางาน

ทอท. ให้ความสําคัญกับความเป็นอยู่และสภาพการทํางานที่ดีของพนักงาน โดยฝ่ายสวัสดิการและแรงงานสัมพันธ์และฝ่ายการแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบการดําเนินงานตามนโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับพนักงานทุกคนและมอบสวัสดิการและบริการทางการแพทย์ ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี โดย ทอท.มีการทบทวนผลการดําเนินงานตามนโยบายดังกล่าวเป็นประจำ ผ่านการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อสวัสดิการที่ได้รับจากองค์กร และการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงโครงการสวัสดิการต่าง ๆ ให้ตรงตามความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

นโยบายด้านการแพทย์และสวัสดิการสําหรับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

ปฏิบัติตามกฎหมายด้านการแพทย์และสาธารณสุข ข้อกําหนดและมาตรฐานสากลอื่น ๆ ด้านการแพทย์

นโยบาย-ความเสี่ยง

มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านบรการทางการแพทย์ และกําหนดมาตรการต่าง ๆ และตัวช้วัด

นโยบาย-พัฒนาประสิทธิภาพ

พัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริการทางการแพทย์และการป้องกันโรคให้เป็นมาตรฐานแก่พนักงาน ลูกจ้าง ทอท. และครอบครัว

นโยบาย-สวัสดิการ

พัฒนาระบบบรหารจัดการด้านสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์แก่พนักงานและลูกจ่าง ทอท. อย่างเหมาะสม

นโยบาย-คุณภาพชีวิจ

มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสมดุลระหว่างชวตและการทํางานของพนักงาน ลูกจ้าง ทอท. และครอบครัวให้ดีขึ้น

นโยบาย-จัดการสวัสดิกา

ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ให้แด่พนักงานและลูกจ้าง ทอท.

นโยบาย-สร้างจิตสำนึก

พัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ให้มีความรู้ ทักษะและการทํางานเป็นทีม สร้างจิตสํานึก ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

  • สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
  • ตรวจสุขภาพประจําปีให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท.
  • คลินิกประจําท่าอากาศยาน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้กับพนักงานและลูกจ้าง ทอท. รวมทั้งครอบครัว
  • สวัสดิการทุนการศึกษาสําหรับบุตรพนักงานและลูกจ้าง
  • กิจกรรมทัศนศึกษาโครงการค่ายเยาวชนในช่วงปิดเทอม
  • ห้องให้นมบุตรสําหรับพนักงานภายในท่าอากาศยาน
  • โครงการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุให้กับพนักงาน

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ

โครงการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุสำหรับพนักงาน ทอท. เป็นการสัมมนาให้ความรู้ในหัวข้อต่างๆ ทั้งทางด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ และด้านการเงินที่ผู้เกษียณควรรู้และมีความสนใจ ตลอดจนมีการถาม - ตอบ จากวิทยากรผู้มีความรู้ และเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว
หัวข้อการบรรยาย อาทิ

  • สิทธิประโยชน์ทางการเงินของผู้เกษียณ
  • การวางแผนการเงินอุ่นใจในวัยเกษียณ
  • การดูแลสุขภาพในวัยเกษียณ
  • เตรียมความสุขใจในวัยเกษียณจากการใช้เทคโนโลยี

พนักงานและลูกจ้างของ ทอท.สามารถแสดงความเห็น ร้องเรียนถึงปัญหา ข้อขัดข้องในการทํางาน รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ผ่านผู้แทนสหภาพแรงงานของแต่ละท่าอากาศยาน โดยผู้แทนสหภาพฯ นําเสนอปัญหา และข้อขัดข้องต่าง ๆ ผ่านคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ทอท. ซึ่งประกอบด้วย ประธานซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 9 คน และผู้แทนฝ่ายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทอท. 9 คน เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหาตามกระบวนการแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และนําไปสู่การยกระดับความผูกพันของพนักงานและลูกจ้างที่มีต่อ ทอท.

โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมของพนักงานและลูกจ้าง ทอท.

ทอท. จัดทําโครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตด้วยสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมกับบุคลากรของ ทอท. โดยการสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบัน รวมทั้งความต้องการในสวัสดิการที่เหมาะสมกับพนักงานที่มีช่วงวัยแตกต่างกันผ่านการตอบแบบสอบถามรูปแบบระบบออนไลน์ เพื่อประเมินผลและนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและจัดสวัสดิการให้เหมาะสมต่อไป โดยผลการสํารวจในภาพรวมและประเด็นสําคัญที่พบหรือได้รับการแก้ไขจะมีการเปิดเผยในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี ทั้งนี้ สวัสดิการที่บุคลากรของ ทอท. ได้รับ ณ ปัจจุบันประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร ทุนการศึกษาบุตร ค่าช่วยเหลือบุตร เงินช่วยเหลือค่าทําศพ เครื่องแบบพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน กองทุน สํารองเลี้ยงชีพ รถรับ-ส่งพนักงาน บ้านพัก ทอท. สวัสดิการการกู้เงินจากสถาบันการเงินภายนอกในส่วนของการเพิ่มสวัสดิการทางเลือกให้กับพนักงานและลูกจ้าง การเพิ่มรูปแบบการแต่งกายวัน Freestyle Day การเพิ่มห้องสันทนาการ และสวัสดิการอื่น ๆ

การส่งเสริมความหลากหลายของพนักงาน

ทอท. เคารพในความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงานโดยไม่แบ่งแยกเพศ ความเชื่อ ศาสนา และความแตกต่างทางร่างกาย ทอท. จึงให้ความสําคัญกับประเด็นดังกล่าวและระบุไว้ในคู่มือการกํากับดูแลกิจการที่ดีของ ทอท. (ส่วนของจรรยาบรรณ ทอท.) ทั้งนี้ ทอท. กําหนดให้มีการประเมินความหลากหลายของพนักงานผ่านประเด็นต่าง ๆ อาทิ สัดส่วนเพศของพนักงานในแต่ละระดับและสายงาน ความแตกต่างของสัดส่วนค่าตอบแทนระหว่างเพศ อัตราการกลับมาทํางานและคงอยู่ของพนักงานที่ลาคลอด ตลอดจนจํานวนกรณีข้อร้องเรียนที่ได้รับการยืนยันด้านการเลือกปฏิบัติ เป็นต้น ซึ่ง ทอท.เปิดเผยรายละเอียดตัวชี้วัดที่สําคัญดังกล่าวในรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นประจําทุกปี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

กิจกรรม

ในปี 2564 ทอท. ได้จัดประกวดแข่งขันภายใต้โครงการ “นุ่งไทยไปทำงาน” พร้อมให้พนักงานและลูกจ้างร่วมลงคะแนนเพื่อหาผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ท่าน จากท่าอากาศยานในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

#AOTนุ่งไทยไปทำงาน

นุ่งไทยไปทำงานเจ้า1

เจ้า

นุ่งไทยไปทำงานจ้า1

จ้า

นุ่งไทยไปทำงานเนิ1

นิ

แก้ไขล่าสุด ณ วันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2565